svasdssvasds

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนพฤษภาคม เกิดอะไรขึ้นบ้าง?

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนพฤษภาคม เกิดอะไรขึ้นบ้าง?

อัพเดตสภานการณ์สิ่งแวดล้อมจากทุกมุมโลก Springnews ชวนตระหนักรู้ภัยด้านสิ่งแวดล้อมที่ไม่ใช่เรื่องเล็ก และจำเป็นต้องอยู่ในสารการรับรู้ของมนุษย์ตลอดเพื่อช่วยให้โลกดีขึ้น

Springnews ชวนอัพเดตสถานการณ์และข่าวสารด้านสิ่งแวดล้อมทุกเดือน เพื่อให้ได้ทราบและเกิดการตระหนักรู้ว่าโลกของเราเกิดอะไรขึ้นบ้างในแต่ละมุมของโลก และเราจะแก้ไขอย่างไร เพราะว่าโลกของเรามีใบเดียว เราต้องช่วยกันรักษ์โลกให้มากขึ้น

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนพฤษภาคม เกิดอะไรขึ้นบ้าง?

คลื่นความร้อนแรง ทำอินเดียร้อนจัดคร่าชีวิตไปแล้ว 30 คนขึ้นไป

อินเดียได้บันทึกสถิติมีผู้เสียชีวิตจากอากาศร้อนจัดมากที่สุดในรอบ 5 ปีและมีแนวโน้มว่าจะมีผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นในประเทศที่อุณหภูมิสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส โดยในรัฐมหาราษฏระทางตะวันตกของอินเดีย แค่เมืองเดียวก็มีรายงานผู้เสียชีวิตจากโรคลมแดดแล้ว 25 ราย ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่รุนแรงขึ้น

นอกจากนี้ ด้วยความที่อุณหภูมิสูงและอินเดียมีจำนวนภูเขาขยะที่สูงที่สุด การอัดแน่นของภูเขาขยะทำให้เกิดความร้อนภายใน จนทำให้กองขยะเกิดการเผาไหม้ตัวเองตามธรรมชาติ ส่งผลกระทบต่อการเกิดมลพิษในเมืองที่อยู่ในบริเวณ และส่งผลโดยตรงกับสุขภาพของประชาชน

อีกทั้งยังส่งผลต่อพืชผลทางการเกษตร จากความร้อนที่เกิดขึ้นทำให้พืชผลเสียหาย เหี่ยวแห้งคาสวนหลายพื้นที่ น้ำสำหรับการเกษตรแห้ง ทำให้เกษตรกรไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตามฤดูกาลหรือตามต้องการได้ เพราะพืชผลไม่สมบูรณ์

สามารถอ่านข่าวเต็มได้ที่ >>>

https://www.springnews.co.th/news/824035

https://www.springnews.co.th/news/823906

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนพฤษภาคม เกิดอะไรขึ้นบ้าง?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิทย์ประดิษฐ์เอนไซม์ที่สามารถย่อยสลายพลาสติกภายใน 24 ชั่วโมงได้สำเร็จ

ขอบคุณนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานอย่างหนักเพื่อค้นหาวิธีการใช้พลาสติกโดยไม่สร้างความเสียหายระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา และพวกเขาทำสำเร็จแล้ว การศึกษาใหม่สรุปการใช้ตัวแปรเอนไซม์ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ ช่วยลดเวลาที่ใช้ในการทำลายส่วนประกอบต่าง ๆ ของพลาสติกได้อย่างมาก เราอาจใช้ตัวแปรของเอนไซม์เพื่อทำความสะอาดบริเวณที่ปนเปื้อนด้วยมลภาวะพลาสติกได้แล้ว การศึกษาใหม่นี้ถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature

พวกเขาได้เรียกเอนไซม์ที่ค้นพบนี้ว่า FAST-PETase (PETase มีคุณสมบัติที่ แอคทีฟ เสถียร และคงทน) พวกเขาพัฒนาเอ็นไซม์จาก PETase ธรรมชาติที่ช่วยให้แบคทีเรียสามารถย่อยสลายพลาสติก PET และดัดแปลงโดยใช้การเรียนรู้ของเครื่องเพื่อระบุการกลายพันธุ์ห้าครั้งซึ่งจะทำให้ย่อยสลายพลาสติกได้เร็วขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

อ่านเนื้อหาเต็มได้ที่ >>> https://www.springnews.co.th/spring-life/823917

รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนพฤษภาคม เกิดอะไรขึ้นบ้าง?

ไฟป่านิวเม็กซิโก ยกธงแดง เร่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่

สหรัฐฯยังคงขึ้นธงแดงเตือนประชาชนในรัฐนิวเม็กซิโกให้ออกห่างจากพื้นที่ไฟป่า ไฟป่าครั้งนี้ถือเป็นไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา เพลิงไหม้ได้คุกคามเมืองประวัติศาสตร์ทั้งหมด 14,000 แห่งและหมู่บ้านต่างๆที่อยู่ห่างออกไปทางเหนือ 30 ไมล์

ไฟป่าในช่วงต้นของฤดูกาลยังคงโหมกระหน่ำในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม ทางตอนเหนือของรัฐนิวเม็กซิโก เปลวเพลิงเหล่านี้เกิดจากลมแรง ความชื้นต่ำ และมีเชื้อจุดไฟที่แห้งเป็นพิเศษ เช่น หญ้า พุ่มไม้เตี้ยและไม้ซุง เพลิงไหม้ได้ทำลายบ้านประชาชนไปหลายร้อยหลัง ทำให้มีการอพยพออกจาพื้นที่หลายพันครัวเรือน เมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา และไฟขนาดใหญ่นี้ยังคงลุกไหม้ 7 แห่งทั่วทั้งรัฐ

ในช่วงต้นของสัปดาห์ สภาพอากาศที่เย็นกว่าและชื้นขึ้นเล็กน้อยทำให้มีเวลาได้พักผ่อนเล็กน้อย ก่อนที่จู่อากาศจะแห้งฉับพลันและเกิดลมแรง จนสหรัฐฯได้ยกธงแดงเตือนภัย ความรุนแรงของไฟป่านี้ทำให้รัฐต้องเกณฑ์นักผจญเพลิงมามากกว่า 1,000 คนเพื่อต่อสู้กับไฟ แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้ สิริรวมพื้นที่ความเสียหายตอนนี้คือ 160,104 เอเคอร์

อ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://www.springnews.co.th/news/824088 รวมข่าวสิ่งแวดล้อมประจำเดือนพฤษภาคม เกิดอะไรขึ้นบ้าง? งานวิจัยชี้ โลกกำลังขาดแคลนทราย

โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในเคนยา ได้ออกรายงานฉบับใหม่พร้อมคำแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงวิกฤตการขาดแคลนทราย ข้อมูลสรุปนี้เป็นไปตามรายงานการรับรู้ของ UNEP ปี 2019 ซึ่งองค์กรกล่าวว่า วิกฤตทรายนั้นได้ถูกมองข้ามไปแล้ว และทรายกำลังจะหมดโลก

ในขณะที่โลกกำลังพัฒนาเติบโตขึ้น ธุรกิจทรายก็เช่นกัน สถานที่ต่าง ๆ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย จีน และประเทศอื่น ๆ มีปัญหามากที่สุด Beiser กล่าว แม้ว่าจีนจะใช้ทรายมากกว่าประเทศอื่นๆโดยประมาณครึ่งหนึ่งของการใช้ทรายทั้งหมดของโลก มีการขุดเกาะเล็ก ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงเพื่อหาทราย

ปัญหานี้คือปัญหาที่ค่อนข้างใหม่ ที่มนุษย์เราเพิ่งรู้ตัว แม้ว่าทรายจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มหาศาลพอๆกับน้ำทะเล แต่อุปสงค์การใช้ทรายและการขยายตัวของเมืองก็เพิ่มมากขึ้นเท่าตัวในทุกปีจึงมีความเป็นไปได้ที่ทรายอาจจะหมดโลกเข้าสักวันหากเราไม่ทำอะไรเลย

ศึกษาเรื่องทรายต่อได้ที่ >>> https://www.springnews.co.th/spring-life/824179

เพนกวินจักรพรรดิกำลังเสี่ยงสูญพันธุ์เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

เพนกวินจักรพรรดิตัวใหญ่อ้วนกลมที่เดินเตาะแตะ เตร็ดเตร่ยู่บนแผ่นน้ำแข็งอันเยือกเย็นของทวีปแอนตาร์กติกาและว่ายไปมาในทะเลอันเย็นยะเยือก พวกมันถูกผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันแอนตาร์กติกแห่งอาร์เจนตินา (IAA) ประเมินว่ามีโอกาสเสี่ยงสูญพันธุ์ในอนาคต อย่างมากในอีก 30-40 ปีข้างหน้า อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

แม้ว่าการหายตัวไปของเพนกวินปีละหลายๆตัวอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของพวกเรามากนัก แต่พวกมันก็มีหน้าที่ทางอ้อมในการรักษาสมดุลของระบบนิเวศทางทะเล และถือว่าเป็นผู้พิทักษ์แผ่นน้ำแข็งที่มนุษย์น้อยคนนักจะย่างกรายเข้าไปหาหรือไปอยู่อาศัยด้วย แต่ทว่าในปัจจุบันมนุษย์ได้เริ่มย่างกรายเข้าไปแล้ว และก่อกำเนิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายอย่างบนพื้นที่ของพวกมัน

นักชีววิทยา มาร์เซลา ลิเบอร์เตลลี (Marcela Libertelli) ผู้ศึกษาเพนกวิน 15,000 ตัวใน 2 อาณานิคมในแอนตาร์กติกาที่ IAA กล่าวว่า หากน้ำไปถึงนกเพนกวินแรกเกิดซึ่งไม่พร้อมที่จะว่ายน้ำและไม่มีขนนกกันน้ำ พวกมันก็จะตายจากความหนาวเย็นและจมน้ำตาย

สิ่งนี้เกิดขึ้นที่อาณานิคม Halley Bay ในทะเล Weddell ซึ่งเป็นอาณานิคมของเพนกวินจักรพรรดิที่ใหญ่เป็นอันดับสอง สถานที่ซึ่งลูกเพนกวินทั้งหมดเสียชีวิตเป็นระยะเวลาสามปี

อ่านเพิ่มเติม >>> https://www.springnews.co.th/news/824198

สถิติการตัดไม้ในป่าแอมะซอนทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์

การตัดไม้ทำลายป่าในแอมะซอนของบราซิลพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในเดือนเมษายน ทำให้พื้นที่ป่าหายวับไปเกือบ 2 เท่าในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งสถิติเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาสูงมากที่สุด ข้อมูลที่เผยแพร่นี้เป็นข้อมูลเบื้องต้นของรัฐบาลที่เผยแพร่ออกมาเมื่อวันศุกร์ สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม จนแทบนั่งไม่ติดกันแล้ว

ใน 29 วันของเดือนเมษายน การตัดไม้ในภูมิภาคนี้รวมได้ทั้งสิ้น 1,012.5 ตารางกิโลเมตร ตามข้อมูลจากหน่วยงานวิจัยอวกาศแห่งชาติ Inpe หน่วยงานที่ทำหน้าที่รวบรวมชุดข้อมูล DETER-B รายเดือนตั้งแต่ปี 2015/2016 ซึ่งจะรายงานผลอย่างเป็นทางการสำหรับสถิติทั้งหมดของเดือนเมษายนในสัปดาห์หน้า

เดือนเมษายนนี้ถือเป็นเดือนที่ 3 ที่มีสถิติสูงสุดของปีนี้ หลังจากพบจุดสูงสุดใหม่ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ การทำลายล้างของแอมะซอนในบราซิลช่วง 4 เดือนแรกของปียังทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1,954 ตารางกิโลเมตร เพิ่มขึ้น 69% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2021 ได้กวาดล้างพื้นที่มากกว่า 2 เท่า ของขนาดพื้นที่มหานครนิวยอร์ก

อ่านเพิ่มเติม >>> https://www.springnews.co.th/news/824228

ค่าสถิติการตัดไม้ทำลายป่า คลื่นความร้อนทำให้วิกฤตความมั่นคงอาหารเสี่ยง

ประเทศอินเดียมีการส่งออกข้าว ติด 10 อันดับของโลก ซึ่งอากาศที่ร้อนสูงขึ้นออกอินเดีย ทำให้ข้าวสาลีที่ไม่สามารถทนต่ออากาศร้อนได้ไหม้เกรียม และผลผลิตลดลงได้ถึง 10-50% จากที่เคยผลิตส่งออกได้

ประเทศอินเดียยังได้ผลกระทบจากเงินเฟ้อและสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาเชื้อเพลิง ราคาปุ๋ย ส่งผลกระทบต่อการเกษตรของอินเดียให้ซบเซาลงและไม่สามารถมีผลผลิตอย่างที่เคย

ซึ่งข้าวสาลีนั้นสามารถนำไปแปรรูปเป็นอาหารต่างๆได้ ทั่วโลกมีความต้องการข้าวสาลีและในประเทศไทยก็เช่นกัน เพราะในไทยผลิตข้าวสาลีได้น้อยและจำเป็นต้องนำเข้าอยู่ เดิมทีชาวไทยก็บริโภคผลิตภัณฑ์จากแป้งสาลีในปริมาณสูง ทั้งในรูปขนมอบ เส้นพาสตา เส้นบะหมี่ และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

หากสภาพอากาศแปรปรวนของอินเดียยังคงไม่คลี่คลาย ก็จะทำให้ราคาข้าวสาลี แป้งข้าวสาลีหรือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของข้าวสาลี ราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างแน่นอน เนื่องจากผลผลิตขาดตลาดและไม่เพียงพอต่อการบริโภค

อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/news/824399

พายุทรายถล่มอิรัก 8 ลูกในรอบ 2 เดือน ทำผู้คนป่วยมากกว่า 5,000 คน

ท้องฟ้าประเทศอิรักต้องเปลี่ยนเป็นสีส้ม ทั่วกรุงแบกแดด เมืองหลวงของประเทศ ทั้งนี้เป็นผลพวงมาจาก ประเทศอิรัก โดนพายุทรายกระหน่ำเข้าใส่มาแล้ว 8 ลูก นับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา และผลกระทบของพายุทราย ทำให้ คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของ ผู้คนในอิรัก ย่ำแย่ลงมากๆ โดยในช่วงเดือนที่ผ่านมา มีคนต้องเข้าโรงพยาบาลไปแล้ว มากกว่า 5,000 คน

ทั้งนี้ สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานว่า ในช่วง วันที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมา พายุทรายครั้งล่าสุดเพิ่งกระหน่ำใส่เมืองแบกแดด อิรัก  ส่งผลให้ต้องมีการปิดโรงเรียนและสำนักงานต่างๆ และสนามบินนานาชาติกรุงแบบแดดต้องสั่งระงับเที่ยวบินทั้งหมด เนื่องจากทัศนวิสัยต่ำ มองเห็นได้เพียงแค่ 300 เมตร

ชาวอิรักบอกว่า พายุทรายที่สาดซัดอิรักในช่วงเวลานี้ นับได้ว่า รุนแรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน  เพราะ ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา จะมีพายุทรายเกิดขึ้นในอิรักอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งชาวอิรักบอกว่า มันเป็นจำนวนครั้งความถี่ที่เลวร้ายที่สุดเท่าที่จะจำได้

อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/news/824633

นักวิทย์ชี้ ปีนี้ระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดในประวัติศาสตร์โลกแล้ว

บันทึกรายวัน รายสัปดาห์และรายเดือนกำลังบอกกับเราว่า ระดับคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมกำลังขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นสำคัญ

ข้อมลใหม่จาก National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) แสดงให้เห็นว่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยรายสัปดาห์ที่หอดูดาว Mauna Loa ในฮาวาย เพิ่มสูงขึ้นถึง 421.13 ส่วนต่อล้าน (ppm/Part Per Million หน่วยวัดค่ามลพิษทางอากาศ) ตั้งแต่วันที่ 8-14 พฤษภาคม 2022 ซึ่งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ที่เคยบันทึกไว้ นอกจากนี้ยังเพิ่มขึ้นจากเดิม 418.34 ppm ภายในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา และจากเดิม 397.38 เมื่อหนึ่งศตวรรษที่แล้ว (100ปี)

จากข้อมูลของ NOAA ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยต่อวันที่ Mauna Loa พุ่งถึง 422.04 ppm ในวันที่ 14 พฤษภาคม ซึ่งต่ำกว่าสถิติตลอดกาลที่วัดได้สูงสุดในหมวดของรายวันที่ 422.06 ppm เมื่อวันที่ 26 เมษายน ห่างกันเพียง 0.02 ppm เท่านั้น

นอกจากนี้ นักวิจัยจาก  Scripps Institution of Oceanography ที่มหาวิทยาลัยซานดิอาโก วัดคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 421.68 ppm ที่ Mauna Loa เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ซึ่งก็ถือว่าเป็นปริมาณที่สูงมากสำหรับหมวดบันทึกประจำวัน

อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/spring-life/824679

แผนภูมิกราฟค่าคาร์บอนไดออกไซด์จาก NOAA

อุณหภูมิมหาสมุทรทั่วโลกสูงขึ้นและมีค่าความเป็นกรดสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organisation) เปิดเผยว่ามหาสมุทรมาถึงระดับที่ร้อนที่สุดและเป็นกรดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีที่แล้ว ซึ่งถือเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มนุษย์สร้างขึ้น

การค้นพบนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายงานประจำปีในวงกว้างซึ่งมีรายละเอียดว่ามาตรการหลัก 4 ประการของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก , ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น , อุณหภูมิของมหาสมุทร และการทำให้เป็นกรดของมหาสมุทร ซึ่งทั้งหมดนี้ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2564

ความร้อนที่รุนแรงดังกล่าวทำให้ระบบนิเวศทางทะเลที่สำคัญ เช่น แนวปะการัง ทุ่งหญ้าทะเล และป่าสาหร่ายเคลป์มีความเสี่ยงที่จะพังทลาย ภาวะโลกร้อนอย่างรวดเร็วทำให้จำนวนปลาทั่วโลกลดลงด้วย

อ่านต่อ >>> https://www.springnews.co.th/news/824827

related