svasdssvasds

ส่องสถิติ การถ่ายภาพยนตร์ในอุทยานแห่งชาติ Soft Power ดึงดูดนักท่องเที่ยว

ส่องสถิติ การถ่ายภาพยนตร์ในอุทยานแห่งชาติ Soft Power ดึงดูดนักท่องเที่ยว

การถ่ายภาพยนตร์ในอุทยานแห่งชาติ เป็นอีกหนึ่ง Soft Power ของไทยที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านหน้าจอ เผยแพร่ภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่สมบูรณ์สวยงาม ดึงดูดนักเดินทางให้เข้ามาสัมผัสด้วยตัวเอง กลยุทธ์ที่ภาครัฐควรส่งเสริมและเปิดรับกองถ่ายจากทั่วโลกให้ยกกองมาเยือนไทย

การถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย แหล่งรายได้ที่สำคัญ ทั้งช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย และได้ยังเผยแพร่ศิลปะ วัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวที่สวยงามสู่สายตานานาประเทศ 

หลังจากที่มีการผ่อนคลายมาตราการโควิด-19 เปิดรับนักท่องเที่ยวให้เข้าประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัวและไม่ต้องตรวจหาเชื้อโควิดผ่านระบบ Thai Pass ก็ดูมีแนวโน้มว่านักท่องเที่ยวจะเริ่มกลับเข้ามาให้เห็นมากขึ้น จากตัวเลขล่าสุดที่เปิดเผย มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าประเทศ ในช่วงเวลา ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-15 มิ.ย.65 พบจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยสะสม 1.6 ล้านคน คิดเป็นการฟื้นตัว 3,895% จึงเป็นโอกาสให้ธุรกิจท่องเที่ยวที่ซบเซากลับมาฟื้นตัว ลืมตาได้อีกครั้ง หลังจากเป็นกลุ่มธุรกิจที่เป็นแหล่งรายได้หลักเข้าประเทศต้องหยุดชะงักไปกว่า 2 ปีที่ผ่านมา 

ทั้งนี้นอกจากธุรกิจท่องเที่ยวจะสดใส อีกหนึ่งโอกาสที่จะสามารถดึงดูดแหล่งรายได้เข้าประเทศได้อีกทางก็คือ กองถ่ายทำภาพยนตร์ ที่ต้องขนทีมงานหลายสิบ หลายร้อยชีวิตและอุปกรณ์การถ่ายทำต่างๆ เข้ามาเก็บภาพความสวยงามหรือสถานที่ที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยที่สร้างความประทับใจ ซึ่งทีมงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทยต่างได้รับการยอมรับถึงฝีไม้ลายมือที่เชื่อใจได้ จนเป็นที่ยอมรับและทำให้มีกองถ่ายทำหลั่งไหลเข้ามาก่อนที่จะเกิดวิกฤติโรคระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จากข้อมูล  กรมการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า สถิติกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศเข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 122 เรื่อง สร้างรายได้กว่า 5,007 ล้านบาท ถือเป็นสถิติสูงสุดนับตั้งแต่มีการเข้ามาลงทุนของกองถ่ายต่างประเทศในประเทศไทย 

ซึ่งนอกจากเป็นแหล่งรายได้ให้กับประเทศในการใช้พื้นที่ยังเป็นการพีอาร์การท่องเที่ยวทางอ้อม ผ่านช่องทางส่วนตัวของดาราดัง ที่ประทับใจและผ่านเผยแพร่ภาพลงบนสื่อโซเชียลของตัวเอง เช่น รัสเซล โครว์ นักแสดงฮอลลีวูดชื่อดัง
ที่เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ซึ่งดัดแปลงมาจากเรื่อง “The Greatest Beer Run Ever” เมื่อปลายปี 2564 และล่าสุด ยามะพี นักแสดงหนุ่มชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาถ่ายทำซีรี่ส์ที่สร้างมาจากการ์ตูนมังงะเรื่อง Kami no Shizuku (Drops of God) 
เมื่อวันที่ 24 เม.ย. 2565 

เป็นอีกหนึ่ง soft power ที่แข็งแกร่งของไทยตีคู่มากับสตรีทฟู้ดอาหารไทยที่เลื่องชื่อ ที่เป็นการเผยแพร่ภาพลักษณ์ของประเทศไทยผ่านหน้าจอไปสู่สายตาคนทั่วโลก 

โดยเฉพาะความสวยงามของอุทยานแห่งชาติของไทย ที่มีทั้งหมด 155 แห่งทั่วประเทศ เป็นหมุดหมายที่สำคัญที่กองถ่ายทำภาพยนตร์ให้ความสนใจยกกองขนทีมงานข้ามน้ำ ข้ามทะเลเข้ามาถ่ายทำกัน 

ข้อมูลที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดเผยผ่านเว็บไซต์ สถิติจำนวนผู้ได้รับอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในอุทยานแห่งชาติ ปี 2564 พบว่า งานอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ในอุทยานแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2564 ทั้งภาพยนตร์ไทย (274) และภาพยนตร์ต่างประเทศ (26) มีทั้งหมดรวม 300 เรื่อง เก็บค่าธรรมเนียมการเข้าใช้พื้นที่ได้ 1,028,500 บาท 

โดย 10 อุทยานแห่งชาติที่มีการถ่ายทำภาพยนตร์ในอุทยานแห่งชาติมากที่สุดมีดังนี้ 

ส่องสถิติ การถ่ายภาพยนตร์ในอุทยานแห่งชาติ Soft Power ดึงดูดนักท่องเที่ยว


สำหรับรายชื่อจำนวนการถ่ายทำภาพยนตร์ในอุทยานแห่งชาติ แห่งอื่นๆ สามารถตรวจสอบได้ที่ เว็บไซต์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช คลิก https://catalog.dnp.go.th/km/dataset/statallowedfilminnp/resource/bae1cc06-e8ed-40e3-856a-2181616ef63c

 
ที่มา
1

related