svasdssvasds

เยียวยาเกษตรกร เว็บฯ ธ.ก.ส. เปิด 8 มาตรการช่วยเหลือกว่าแสนล้าน

เยียวยาเกษตรกร เว็บฯ ธ.ก.ส. เปิด 8 มาตรการช่วยเหลือกว่าแสนล้าน

“ธ.ก.ส.” เตรียมแผนอัดฉีดแสนล้าน เดินหน้า “เยียวยาเกษตรกร” สู้โควิด-19 พร้อมวางมาตรการช่วยเหลือภัยแล้ง และกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นหลังจบโควิด-19

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ได้ดำเนินมาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รายละ 15,000 บาท โดยจ่ายเดือนละ 5,000 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (พ.ค. – ก.ค. 2563) 10 ล้านราย โดยมีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน และลงทะเบียนผ่าน www.เยียวยาเกษตรกร.com อย่างต่อเนื่อง ผ่าน ธ.ก.ส. กว่า 1,200 สาขาทั่วประเทศ

สำหรับความช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรหลังจากนี้นั้น นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงรายละเอียดโครงการฟื้นฟูภาคเกษตรจากผลกระทบแล้งและโรคโควิด-19 ในวงเงินงบประมาณ 9.5 หมื่นล้าน ส่วนโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และธุรกิจชุมชนสร้างไทย เป็นแผนรับผิดชอบของ ธ.ก.ส. ขอใช้งบฯ 5.5 หมื่นล้านบาท รองรับแรงงานที่เดินทางกลับภูมิลำเนา ช่วงโควิดแพร่ระบาด

[caption id="attachment_670184" align="aligncenter" width="300"] เยียวยาเกษตรกร เว็บฯ ธ.ก.ส. เปิด 8 มาตรการช่วยเหลือกว่าแสนล้าน มาตรการเยียวยาเกษตรกร[/caption]

โครงการเยียวยาเกษตรกร 95,543.11 ล้านบาท ประกอบด้วยการจัดสรรงบประมาณ 2 ส่วนหลัก คือ

  • งบแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจภาคการเกษตร จากวิกฤตโควิด-19 วงเงิน 61,531.53 ล้านบาท
  • งบป้องกันและแก้ปัญหาผลกระทบจากภัยแล้ง วงเงิน 34,011.57 ล้านบาท

สำหรับวงเงิน 61,531.53 ล้านบาท ที่จะใช้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจภาคการเกษตร จากวิกฤตโควิด-19 จะแบ่งออกเป็น

  • การประกันรายได้ชาวสวนยาง ระยะ 2 จำนวน 35,196.65 ล้านบาท
  • สนับสนุนค่าครองชีพให้ครัวเรือน เกษตรกร 15,362.3 ล้านบาท ด้วยการชะลอการขายยางของเกษตรกร
  • โครงการพัฒนาอาชีพแรงงานคืนถิ่นสร้างความเข้มแข็งสถาบันเกษตรกรอีก 2,763.72 ล้านบาท
  • โครงการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรจำนวน 392.45 ล้านบาท
  • การบริหารจัดการสินค้าเกษตรและสร้างมูลค่าเพิ่ม 1,326 ล้านบาท ด้วยการสนับสนุน อุปกรณ์และสิ่งก่อสร้าง เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกร 

เยียวยาเกษตรกร เว็บฯ ธ.ก.ส. เปิด 8 มาตรการช่วยเหลือกว่าแสนล้าน

ส่วนโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากซึ่ง ธ.ก.ส. ขอใช้งบ 5.5 หมื่นล้านบาทนั้น  ธ.ก.ส. มีโครงการที่จะดำเนินการจะประกอบด้วย โครงการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและชุมชนโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านธุรกิจชุมชน เพิ่มประสิทธิภาพวิสาหกิจชุมชน และโครงการสร้างความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจฐานราก

  • โครงการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารและชุมชน โดยสร้างศูนย์การเรียนรู้ โครงการ 459 มีกินมีใช้ 1,200 แห่งจัดสินเชื่อพิเศษสนับสนุน กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบกว่า 3 แสนราย และสร้างเกษตรคนรุ่นใหม่อีก 5 แสนราย
  • โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านธุรกิจชุมชน เพิ่ประสิทธิภาพวิสาหกิจชุมชน 1.6 หมื่นกลุ่ม กลุ่มละไม่เกิน 1 ล้านบาท เพื่อพัฒนาด้านเทคโนโลยี ขับเคลื่อนธุรกิจชุมชนระดับหมู่บ้าน
  • โครงการสร้างความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจฐานราก สร้างหัวขบวนด้านการตลาด บริการทางการเกษตรและท่องเที่ยวชุมชน กลุ่มเป้าหมายสถาบันเกษตรกรกว่า 7,200 แห่ง ได้แก่ สหกรณ์การเกษตร 1,000 แห่ง วิสาหกิจชุมชนที่พร้อมเป็นหัวขบวน 6,000 แห่ง และลูกค้าเอสเอ็มอี. โดยใช้งบสนับสนุนสถาบันละไม่เกิน 3 ล้านบาท รวม 2.1 หมื่นล้านบาท

เกษตรกรที่มีข้อสงสัย หรือคำถามเกี่ยวกับมาตรการเยียวยาเกษตรกรต่างๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.moac.go.th หรือสอบถามโทร 022815884

 

related