05 ก.ค. 2562 เวลา 4:21 น.
รศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยพูดถึงเจ้าแมลงม๊อธดังกล่าวว่า แมลงพันธุ์นี้ อาศัยอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ไทย จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ) และออสเตรเลียตอนเหนือ มันมีจุดเด่นที่มีสีสันสวยงาม เป็นลายขาวดำแดงเหลือง และชอบอยู่ตามต้นทับทิม ทำความเสียหายให้กับสวนทับทิมอย่างมาก
แต่จุดเด่นยิ่งกว่านั้นคือ การที่ม๊อธตัวผู้มีอวัยวะหน้าตาประหลาด พร้อมขนยาวๆ ยื่นออกมาจากช่วงท้อง ซึ่งเรียกว่า coremata โคเรมาต้า (แปลว่า ดินสอมีขน) เอาไว้ปล่อยสารกลิ่นพวกฟีโรโมน กลุ่มไฮดรอกซีดาไนด้อล hydroxydanaidal เพื่อดึงดูดคู่มาผสมพันธุ์
ตัวหนอนบุ้งของม๊อธชนิดนี้จะกินพืชที่สร้างสารเคมีกลุ่มไพร์โรไลซิดีน อัลคาลอยด์ pyrrolizidine alkaloids (ย่อว่า พีเอ PAs) ซึ่งเป็นสารพิษที่พืชมีไว้กันแมลงและศัตรูอื่นมากิน แต่หนอนของเจ้าม๊อธนี้กลับกินได้ และทำให้มันไม่ค่อยจะต้องแย่งอาหารกับใคร
ถ้าตัวหนอนมันได้กินสาร PAs มากเพียงพอ ม๊อธมันจะสร้างอวัยวะโคเรมาต้าได้ยืดยาว ทำให้มันปล่อยฟีโรโมนได้มาก และมีโอกาสผสมพันธุ์มากกว่าเพื่อนที่ไม่ค่อยได้กินสาร PAs ซึ่งจะมีโคเรมาต้าสั้นหรือไม่มีเลย