svasdssvasds

แกล้งโง่?? กลุ่มการเมืองบิดเบือน “ฝนเทียม” คือสิ่งลวงโลก!!

แกล้งโง่?? กลุ่มการเมืองบิดเบือน “ฝนเทียม” คือสิ่งลวงโลก!!

ประเด็น “วิกฤตภัยแล้ง” ในที่สุดก็ถูกหยิบมาตีกิน เป็นประเด็นการเมือง เมื่อมีสมาชิกกลุ่มการเมืองหนึ่ง โพสต์ว่า “ฝนเทียม” คือสิ่ง “ลวงโลก” ไม่สามารถทำได้จริง... ถ้าทำได้ คงทำไปละ “แล้งหนักมาก” ตอนนี้.... จนทำให้โลกออนไลน์วิพากษ์วิจารณ์ว่า สมาชิกกลุ่มการเมืองนี้ อาการหนัก

งานนี้ เรื่องนี้ ได้ ดร.กิตติธัช ชัยประสิทธิ์ อาจารย์ด้านสถาปัตยกรรม สอนพิเศษด้านปรัชญาการเมือง โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก Kittitouch Chaiprasith แจกแจงข้อเท็จจริงว่า

- พอดีไปเห็นหลายเพจแคปภาพการสนทนาของสมาชิกในห้องกลุ่มการเมืองแห่งหนึ่งมา อันนี้น่าจะเป็นอันหนึ่งที่อาการหนักมาก

- คือ พวกเขาประกาศว่า "ฝนเทียม/ฝนหลวง" เป็นเรื่องลวงโลก ไม่มีจริง ทำไม่ได้ พิสูจน์ไม่ได้ ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเพียงการสร้างภาพ

- แถมยังบอกด้วยว่าพวกเขาแค่ #คิดต่าง เหมือนสมัยที่คนเชื่อว่าโลกแบน ใครบอกโลกกลมจะโดนหาว่าเป็นคนเลว แถมบอกให้สังคมอย่าบังคับให้เชื่อ และต้องรู้จักเคารพ #เสรีภาพในความคิด ของพวกเขา...

อย่างไรก็ตาม ในเพจกลุ่มการเมืองนี้ มีการหยิบลิงก์ข่าวของ สปริงนิวส์ออนไลน์ https://www.springnews.co.th/news/news-election-62/444089 ถูกนำไปอ้างอิง ขอให้ผู้อ่านทำความเข้าใจในเนื้อหาที่ “ถูกนำไปบิดเบือน” ด้วย

แกล้งโง่?? กลุ่มการเมืองบิดเบือน “ฝนเทียม” คือสิ่งลวงโลก!!

แกล้งโง่?? กลุ่มการเมืองบิดเบือน “ฝนเทียม” คือสิ่งลวงโลก!!

ด้านรศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมด้วยช่วยอธิบายความเป็นวิทยาศาสตร์ที่พิสูจน์ฝนหลวงได้ว่า มันทำได้จริง! ไม่ใช่เรื่องลวงโลก และเขาก็พยายามทำกันอยู่ด้วย แต่มันมีข้อจำกัดมากในการทำ โดยเฉพาะในพื้นที่แล้ง ที่มีความชื้นอากาศต่ำ และไม่สามารถทำให้เกิดการก่อตัวของเมฆฝนได้ง่าย ทั้งนี้ การทำฝนเทียม เป็นกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ ที่เลียนแบบการเกิดฝนในธรรมชาติ โดยต้องหาก้อนเมฆที่พอจะเกิดฝนได้ แล้วเร่งให้เกิดการควบแน่นของเมฆขึ้นด้วย 3 ขั้นตอน คือ ก่อกวน, เลี้ยงให้อ้วน, และโจมตี

กรรทำฝนเทียมมักทำใน 2 สภาวะ คือ "การทำฝนเมฆเย็น" เมื่อเมฆมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส และ "การทำฝนเมฆอุ่น" เมื่อเมฆมีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส (ทั้งสองสภาวะนี้ จะใช้สารเคมีต่างกัน)  สารเคมีที่ใช้ทำฝนเทียมนั้นมีหลายอย่าง ถ้าเป็นสารเคมีประเภททำให้อุณหภูมิสูงขึ้น ก็ได้แก่ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมออกไซด์ ส่วนสารเคมีประเภททำให้อุณหภูมิต่ำลง จะได้แก่ ยูเรีย แอมโมเนียไนเตรด น้ำแข็งแห้ง ส่วนสารเคมีที่ทำหน้าที่ดูดซับความชื้น ได้แก่ เกลือ เป็นต้น

การทำฝนเทียมนั้น ได้รับการคิดค้น พัฒนา และนำมาใช้กันในต่างประเทศ มาตั้งแต่่ปี ค.ศ. 1946 แล้ว และมีการนำไปใช้ประโยชน์อย่างหลากหลาย เช่น การเกษตร ดับไฟป่า หรือกระทั่งเพื่อป้องกันการตกของฝนในวันที่กำหนด เช่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศจีน

สำหรับประเทศไทยเรานั้นมีหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในหลายจังหวัดทั่วประเทศ และได้พยายามขึ้นบินทำฝนเทียมเป็นประจำอยู่แล้ว ทุกปี แต่อุปสรรคที่สำคัญก็คือเรื่องของสภาพอากาศ ที่อาจจะทำให้การสร้างฝนเทียมไม่ได้ผลหรือไม่เต็มประสิทธิภาพ ถ้าแห้งแล้งมากเกินไป ความชื้นต่ำเกินไป ลมแรงเกินไป ก็จะไม่สามารถทำให้เมฆก่อตัวได้

สรุปได้ว่า การที่ปีนี้แล้งจัดนั้น จะไปโทษแต่ว่าฝนเทียมเป็นเรื่องลวงโลกไม่ได้ เขาพยายามกันแล้ว มันอาจจะไม่สำเร็จเพียงพอต่อการเติมน้ำลงไปในแหล่งน้ำต่างๆ

ขอต่อด้วยเรื่อง "ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม" ที่มีหลายคนเป็นห่วงว่า ฝนเทียมนั้นอาจมีการใช้สารซิลเวอร์ไอโอไดด์หรือเกลือไอโอดีนของโลหะเงิน แล้วพอตกลงมาสู่พื้นดินจะเป็นอันตรายหรือเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตด้านล่างนั้น .. ผลการวิจัยในปัจจุบันจากหลายๆองค์กร และโดยเฉพาะของ The Weather Modification Association (WMA) ยืนยันว่า ไม่เคยมีรายงานพบผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการทำฝนเทียมด้วยการใช้สารซิลเวอร์ไอโอไดด์นี้แต่อย่างไร

 

ทั้งนี้ โครงการฝนหลวง เป็นโครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เพื่อสร้างฝนเทียมสำหรับบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งขาดแคลนน้ำในการเกษตร  จนคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2545 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชให้ทรงเป็น "พระบิดาแห่งฝนหลวง" พร้อมกันนี้ได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็น "วันพระบิดาแห่งฝนหลวง"

related