svasdssvasds

ย้อนรอย! คิงพาเวอร์ กับสัมปทานใหญ่ ดิวตี้ฟรีสุวรรณภูมิ

ย้อนรอย! คิงพาเวอร์ กับสัมปทานใหญ่ ดิวตี้ฟรีสุวรรณภูมิ

ในปี 2563 นี้ สัญญาสัมปทานให้เช่าพื้นที่ของทอท. และกลุ่มคิงพาวเวอร์จะหมดลง เส้นทางจากการเปิดสัมปทานนี้มีอะไรเกิดอะไรขึ้นบ้าง ติดตามจากรายงาน

คิงพาเวอร์ กับสัมปทานใหญ่ ดิวตี้ฟรีสุวรรณภูมิ

ในปีที่ผ่านมา บริษัทท่าอากาศยานไทยมีรายได้กว่า 56,000 ล้านบาท ร้อยละ 60 จากค่าธรรมเนียมทางการบิน ร้อยละ 40 เป็นรายได้เชิงพาณิชย์ มาจากการให้เช่าพื้นที่ในสนามบิน แหล่งรายได้ ที่สำคัญมาจากการให้สัมปทาน กลุ่มคิงส์พาวเวอร์ ใช้พื้นที่ภายในสนามบินสุวรรณภูมิ

สัญญาของกลุ่มคิงพาเวอร์ในสนามบินสุวรรณภูมิมี 2 สัญญาหลัก สัญญาร้านปลอดภาษี หรือดิวตี้ฟรี พื้นที่ 5 ,000 ตารางเมตร และสัญญาบริหารจัดการเชิงพาณิชย์ พื้นที่ 20,000 ตารางเมตร โดยจ่ายผลตอบแทนให้ทอท.สูงสุดในอัตราร้อยละ 20 ของยอดขาย ทั้งสองสัญญาเริ่มวันที่ 28 กันยายน 2549 ในสมัยของนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีสัญญา 10 ปี สิ้นสุดปี 2559

แต่การได้มาของสัญญาสัมปทานในสนามบินสุวรรณภูมิเป็นเรื่องที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดคุยอย่างต่อเนื่อง ประเด็นสำคัญคือแต่ละโครงการลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาทหรือไม่ ถ้าเกินจะต้องผ่านพระราชบัญญญัติ ร่วมทุนหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พศ 2535 เพราะจะมีผู้แทนจาก 12 หน่วยงาน เข้าร่วมเป็นกรรมการเพื่อให้กระบวนการคัดเลือกเป็นไปอย่างโปร่งใส่ เพื่อป้องกันการทุจริต

ที่ผ่านมา ทอท. ยืนยันว่า ทั้งสองโครงการลงทุนไม่ถึง 1,000 ล้านบาท โดยยึดผลการวิเคราะห์ของที่ปรึกษาในขณะนั้น คือสถาบันทรัพย์สินทางปัญญาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ระบุว่า โครงการร้านค้าปลอดภาษีลงทุน 813 ล้านบาท และโครงการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ลงทุน 846 ล้านบาท

จากนั้นต้นปี 2550 เข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองสู่ สมัยพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี นำมาสู่การตรวจสอบสัญญา โดยสำนักงานกฤษฏีกา ระบุว่าการคำนวณมูลค่าการลงทุน ทั้งสองโครงการ ยังไม่ครบถ้วน และแต่ละโครงการ ลงทุนเกิน 1 ,000 ล้านบาท สัญญาคิงพาวเวอร์ เป็นสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฏหมาย และไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา ทอท. จึงได้บอกเลิกสัญญา คิงพาวเวอร์ จึงตัดสินใจยื่นฟ้องศาลเพ่งต้นปี 2551

และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอีกครั้ง ในสมัยนายสมัคร สุนทรเวชเป็นรัฐบาล ทอท. จึงว่าจ้าง ที่ปรึกษาประเมินมูลค่า การลงทุนทั้ง 2 โครงการอีกครั้ง และได้ข้อสรุปว่า แต่ละโครงการ ลงทุนไม่เกิน 1,000 ล้านบาท จึงไม่ต้องปฎิบัติตาม พรบ. ร่วมทุน และคิงพาวเวอร์ ถอนฟ้อง ทอท. ในช่วงปลายปี 2551

สัญญาสัมปทานครั้งแรก คิงพาวเวอร์ ได้รับการอนุมัติ เป็นระยะเวลา 10 ปี สิ้นสุดในปี 2559 และได้รับการต่อสัญญา 2 ครั้ง ทำให้อายุสัญญาเพิ่มเป็น 14 ปี และจะสิ้นสุดในวันที่ 27 กันยายน 2563 ซึ่ง ที่ผ่านมา ตัวเลขรายได้จากการทำธุรกิจ ในสนามบินสุวรรณภูมิ ของคิงพาวเวอร์ มากถึงปีละ 80,000 ล้านบาท และจะครบกำหนดสัญญาในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งทอท.จะคลอดกติกาใหม่ เพื่อให้เอกชนเข้ามาบริหารพื้นที่ในสุวรรณภูมิ

related