svasdssvasds

นักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบวิธีเก็บภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำในดีเอ็นเอ

นักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบวิธีเก็บภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำในดีเอ็นเอ

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ของจีนแปลงภาพดิจิทัลของจิตรกรรมฝาผนังภายในถ้ำของเมืองตุนหวง จำนวน 10 ภาพ ให้เป็นรหัสเข้าสู่ดีเอ็นเอจำนวน 210,000 สาย ผ่านการจัดลำดับนิวคลีโอไทด์ในไฟล์บีอัดขนาด 6.8 เมกะไบต์ และสามารถถูกกู้คืนได้อย่างแม่นยำ

นักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบวิธีเก็บภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำในดีเอ็นเอ "ดีเอ็นเอ" (DNA) โครงสร้างทางธรรมชาติที่วิวัฒนาการขึ้นเพื่อทำหน้าที่เข้ารหัสข้อมูลทางชีววิทยา สามารถถูกดัดแปลงให้กลายเป็น "พิพิธภัณฑ์ดิจิทัล" ที่คงทนและมีขนาดเล็กได้ ทีมนักวิทยาศาสตร์ของจีนแปลงภาพดิจิทัลของจิตรกรรม ฝาผนังภายในถ้ำของเมืองตุนหวงจำนวน 10 ภาพ ให้เป็นรหัสเข้าสู่ดีเอ็นเอ จำนวน 210,000 สาย ผ่านการจัดลำดับนิวคลีโอไทด์ในไฟล์บีอัดขนาด 6.8 เมกะไบต์ และสามารถถูกกู้คืนได้อย่างแม่นยำ จากตัวอย่างที่เสียหายรุนแรง ซึ่งได้รับการเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 70 วัน เมืองตุนหวง มณฑลกานซู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนเป็นที่ตั้งของหมู่ถ้ำหินแกะสลักโม่เกา ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก (UNESCO) ภายในถ้ำเก็บสะสมงานศิลปะทางพุทธศาสนาไว้มากมาย รวมถึงภาพจิตรกรรมฝาผนังขนาดราว 45,000 ตารางเมตร

การจัดเก็บข้อมูลในดีเอ็นเอเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีความหนาแน่นสูง ความทนทานในระยะยาว และค่าบำรุงรักษาต่ำ อย่างไรก็ดีข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นจากการเข้ารหัสในหลอดทดลอง ยังคงเป็นความท้าทายทางเทคนิคที่สำคัญสำหรับเทคโนโลยีนี้ทีมนักวิจัยซึ่งนำโดยหยวนอิงจิ้น จากมหาวิทยาลัยเทียนจิน ฝได้พัฒนาอัลกอริธึมประกอบสายดีเอ็นเอตั้งแต่เริ่มต้นที่เอื้อต่อการผิดพลาด ซึ่งช่วยให้ภัณฑารักษ์จิตรกรรมฝาผนังกู้คืนข้อมูลได้อย่างแม่นยำจากสารละลายดีเอ็นเอที่เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ 9.4 องศาเซลเซียสโดยไร้ซึ่งการป้องกันใดๆ เป็นเวลานานราว 20,000 ปี 

โดยทีมนักวิจัยตั้งค่าความซ้ำซ้อนของสายดีเอ็นเอไว้ที่ร้อยละ 7.8 ซึ่งรองรับการกู้คืนข้อมูลที่เชื่อถือได้เมื่อตัวถอดรหัสได้รับสายดีเอ็นเอมากกว่าร้อยละ 95 ก่อนหน้านี้ 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

นักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบวิธีเก็บภาพจิตรกรรมฝาผนังถ้ำในดีเอ็นเอ ทีมนักวิจัยของหยวนได้ออกแบบโครโมโซมเทียมของยีสต์ ซึ่งเข้ารหัสรูปภาพ 2 ภาพและคลิปวิดีโอโดยผลการศึกษานี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารเนชันแนลไซเอนซ์ รีวิว (National Science Review) เมื่อปี 2021

 

ทั้งนี้ ความก้าวหน้าครั้งล่าสุด ซึ่งได้รับการเผยแพร่ในวารสารเนเจอร์ คอมมูนิเคชันส์ (Nature Communications) ทำให้ดีเอ็นเอกลายเป็นหนึ่งในหน่วยความจำที่แข็งแกร่งที่สุดที่สามารถช่วยปกป้องและส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมสู่คนรุ่นถัดไป

 

Cr. www.xinhuathai.com