svasdssvasds

คาดการณ์ ’6 อาชีพแห่งอนาคต’ ที่เทคโนโลยี AI หรือหุ่นยนต์’ ยังมาทดแทนไม่ได้

คาดการณ์ ’6 อาชีพแห่งอนาคต’ ที่เทคโนโลยี AI หรือหุ่นยนต์’ ยังมาทดแทนไม่ได้

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI เข้ามาแทนที่การทำงานของมนุษย์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การจัดการและระบบต่างๆที่เรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี แต่ AI หรือหุ่นยนต์ ยังต้องพัฒนาอีกมากจึงจะมาทดแทนมนุษย์ได้ ทางผู้เขียนได้วิเคราะห์และรวบรวมการงานที่เป็น ‘อาชีพแห่งอนาคต’

อาชีพด้านการศึกษา (Education)

บางครั้งการเรียนการสอนอาจทำได้ด้วยระบบ AI ก็จริง เช่น การประเมินผลสอบ , การจัดการเนื้อหาความรู้ต่างๆ 

แต่คำพูดคำสอนและการแสดงถึงความเข้าใจไม่สามารถส่งต่อผ่านเทคโนโลยีได้ ปฎิสัมพันธ์ของมนุษย์ยังคงจำเป็นสำหรับเด็กที่กำลังเรียนรู้ หรือคนที่กำลังศึกษาหาความรู้

ซึ่งการสนทนาในรูปแบบต่างๆหลากหลายจนหุ่นยนต์ยังไม่สามารถทำได้ เช่น รายละเอียดต่างๆของสีหน้า การพูดคุย รวมถึงความเห็นอกเห็นใจ เป็นสิ่งที่เทคโนโลยียังต้องพัฒนาอีกหลายปี

 

อาชีพด้านกฎหมาย (Law)

กฎหมาย คดี ทนายความ เป็นสิ่งที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนในการตัดสิน ซึ่งในแต่ละคดีก็มีรายละเอียดต่างๆที่ไม่ซ้ำกัน บ่อยครั้งที่ทนายความจะต้องใช้การเจรจา อาชีพนักกฎหมาย และผู้พิพากษา จึงเป็นอาชีพที่ระบบ AI หรือหุ่นยนต์ยังมาทดแทนไม่ได้เต็มตัว

ปัจจุบันทนายความมีการใช้ระบบ AI ในการตรวจสอบสัญญาได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยให้การต่อสู้คดีใหญ่ๆนั้นง่ายขึ้น แต่ก็ยังจำเป็นต้องใช้มนุษย์ที่มีทักษะการพูดคุยเจรจาและรายงานในชั้นศาลอยู่ดี

 

อาชีพด้านสุขภาพ (Healthcare)

ระบบ AI หรือหุ่นยนต์ถึงแม้จะช่วยในการผ่าตัด หรือหุ่นยนต์ที่ช่วยดูแลสุขภาพด้วยการทำตามคำสั่งจากระบบอัตโนมัติต่างๆทางการแพทย์

แต่ถ้ามองกลับมาที่พยาบาลผู้ดูแลคนไข้ หุ่นยนต์ไม่สามารถเป็นผู้ช่วยด้านดูแลสุขภาพที่ดีได้เท่ามนุษย์ เนื่องจากพยาบาลที่เป็นมนุษย์สามารถพูดคุยและเอาใจใส่จากการฟังและดูแลในความต้องการ

ซึ่งมีรายละเอียดต่างๆ ที่ส่งผลต่อการรักษา ยิ่งในส่วนของจิตเวช และสามารถยกตัวอย่างสิ่งที่หุ่นยนต์ทำแทนไม่ได้คือ การดูแลเด็กเล็กหรือทารก ซึ่งต้องใช้ความเอาใจใส่และความอ่อนโยนในการเลี้ยงดูหรือดูแล สรุปได้ว่าในเร็ววันนี้ AI หรือหุ่นยนต์อาจถูกนำมาช่วยในด้านการดูแลสุขภาพแต่ยังคงต้องมีมนุษย์ดูแลอยู่ด้วย

อาชีพด้านสังคมสงเคราะห์ (Social Work)

งานด้านสังคมสงเคราะห์ เกิดจากความใส่ใจของมนุษย์ซึ่งกันและกัน ซึ่งงานด้านนี้มีความจำเป็นของมนุษย์อยู่มาก เช่น งานสังคมสงเคราะห์ต้องมีการพูดคุยกันเพื่อเข้าใจถึงปัญหาและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าทันที และระบบ AI หรือหุ่นยนต์ก็ไม่สามารถตัดสินใจเองและทำเองได้ทันที นอกจากจะรอให้มนุษย์จะสั่งการ ทำให้งานด้านสังคมสงเคราะห์ยากที่จะถูกเทคโนโลยีมาทดแทน และยังคงต้องมีการพัฒนาอีกมาก

 

อาชีพด้านการออกแบบ (Design)

ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ กราฟิก สถาปัตยกรรม หรืองานด้านอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้ศิลปะ แม้จะมีระบบ AI ที่ทำให้เห็นกันได้แล้วเช่น Dall-E แต่ศิลปะของมนุษย์นั้นซับซ้อนกว่ามาก เอกลักษณ์ของศิลปะแนวต่างๆ ซึ่งเทคโนโลยีไม่สามารถลอกเลียนแบบได้แบบ 100%

เพราะ AI ทำได้เพียงนำข้อมูลของมนุษย์มาลอกเลียนแบบหรือประกอบให้เกิดขึ้นเป็นภาพหรือการออกแบบใหม่ๆ ทำให้ถึงแม้ AI หรือหุ่นยนต์จะถูกนำมาช่วยให้งานออกแบบง่ายขึ้น แต่อย่างไรก็ต้องมีมนุษย์ควบคุมและช่วยเหลืออยู่ดี

 

อาชีพด้านงานเขียน (Writing)

ทั้งนี้ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆเช่น นิยาย , วรรณคดีหรือวรรณกรรม ที่มีการร้อยเรียงคำอันสวยงามของมนุษย์

ในปัจจุบันแม้มีระบบ AI ที่สามารถเขียนข่าวสารหรือบทความได้โดยการเรียนรู้ของปัญญาประดิษฐ์ แต่การเลือกใช้คำ , เรียบเรียงบทความ , คัดสรรเนื้อหา ยังไม่สามารถทำได้ดีเท่ามนุษย์ ยกตัวอย่าง การคิดแคปชั่นสเตตัสในโซเชียลมีเดีย , คำศัพท์ใหม่ๆแปลกๆของวัยรุ่น เป็นสิ่งที่ AI ไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้

 

ที่มา : firsthand ,techslang , businesslawtoday , thinkbusiness

related