svasdssvasds

ย้อนรอยล็อกดาวน์ประเทศ เจ็บแล้วจบ ? อย่าใช้แต่อำนาจ แต่ต้องมีแนวทางเยียวยา

ย้อนรอยล็อกดาวน์ประเทศ เจ็บแล้วจบ ? อย่าใช้แต่อำนาจ แต่ต้องมีแนวทางเยียวยา

ไทยเคยล็อกดาวน์มาแล้วหนึ่งครั้ง และมีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นอีกครั้งในเชิงการปฏิบัติ แต่ที่จริงแล้ว มันอาจจะเป็นความเชื่อที่ผิด คือการบังคับมนุษย์ให้อยู่กับที่ (ล็อกดาวน์) เพื่อเอาชนะไวรัส แต่ หนทางที่จะชนะจริงๆ คือประเทศต้องวัคซีนที่ดี ซึ่งรัฐบาลไทย ไม่ได้ทำ

ย้อนรอยล็อกดาวน์รอบแรก มีมาตรการอะไรบ้าง ?

วิกฤติโควิด 19 เคยส่งผลให้ประเทศไทย ต้อง "ประกาศเคอร์ฟิว" หรือ "ล็อกดาวน์" ทั่วประเทศ เป็นเวลา 67 วัน ตั้งแต่ 25 มีนาคม 2020 ถึง 31 พฤษภาคม 2020  โดยใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือ พระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนาม และตั้งศบค.ขึ้นมารับภารกิจ
จากนั้นมีการออก ข้อกำหนดฉบับที่ 1 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ "ล็อกดาวน์" หลายข้อ โดยสรุปดังนี้

  • การห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง

ห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่หรือสถานที่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดต่อเชื้อโรคโควิด 19

  • การปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดต่อโรค

 ได้แก่ สนามมวย สนามกีฬา สนามแข่งขัน สนามเด็กเล่น สนามม้า ในทุกจังหวัดทั่วราชอาณาจักร  ปิดผับ สถานบริการ สถานที่แสดงมหรสพ สถานที่มีการแสดงหรือการละเล่นสาธารณะ สถานประกอบการ อาบ อบ นวด และนวดแผนโบราณ สปา สถานที่ออกกำลังกย (ฟิตเนส) สถานบันเทิง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ปิดสถานที่อื่น เช่น แหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ พิพิธภัณฑสถาน ห้องสมุดสาธารณะ ศาสนสถาน สถานีขนส่งหรือโดยสาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า ให้พิจารณาโดยสั่งปิดเฉพาะส่วนหรือทั้งหมด

  • การปิดช่องทางเข้ามาในราชอาณาจักร

ทั้งหมดทั้งอากาศยาน เรือ รถยนต์ หรือพาหนะอื่นใด

  • การห้ามชุมนุม

ห้ามมิให้มีการชุมนุม การทำกิจกรรม หรือการมั่วสุมกัน ณ ที่ใด ๆ

Lockdown2

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

การเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด

ประชาชนพึงงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในระยะนี้โดยไม่จำเป็นและควรพักหรือทำงานอยู่ ณ ที่พำนักของตน กรณีจำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตพื้นที่ ต้องรับการตรวจคัดกรองและปฏิบัติตามมาตรการที่ทางราชการกำหนด
และถัดมาจากนั้นน 2 เม.ย. 63 มีการออกประกาศฉบับที่ 2 คือ การ "ประกาศเคอร์ฟิว" เพิ่มเติมโดยมีข้อกำหนดดังนี้

1. ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น เว้นแต่มีความจําเป็นหรือเป็นผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ การธนาคาร การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตการเกษตร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ หนังสือพิมพ์ การขนส่ง น้ำมันเชื้อเพลิง
    การขนส่งพัสดุภัณฑ์ การขนส่งสินค้าเพื่อการนําเข้าหรือส่งออก การขนย้ายประชาชน ไปสู่ที่เอกเทศเพื่อกักกันตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ

การเข้าออกเวรทํางานผลัดกลางคืนตามปกติ หรือการเดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยาน โดยมีเอกสารรับรองความจําเป็นหรือเอกสารเกี่ยวกับ สินค้าหรือการเดินทาง และมีมาตรการป้องกันโรคตามข้อกําหนด (ฉบับที่ 1) หรือเป็นเจ้าหน้าที่ ผู้ปฏิบัติงานตามข้อกําหนด ประกาศ หรือคําสั่งต่าง ๆ ของทางราชการ หรือมีเหตุจําเป็นอื่น ๆ โดยได้รับ อนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่

ผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจํา ทั้งปรับ ทั้งนี้ ตามมาตรา 18  แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548


Lockdown1

lockdown22

เลี่ยงคำ "ไม่ล็อกดาวน์" เพื่อหนีความรับผิดชอบ ?

ทั้งนี้ วันที่ 8 ก.ค พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. เปิดเผยว่า กำลัง เสนอปรับมาตรการทางสังคมและมาตรทางสาธารณสุขให้เข้มข้นขึ้น โดยจะจำกัดการเดินทาง เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด ระบุวันนี้ยัง "ไม่มีการล็อกดาวน์" รอผลการประชุมวันที่ 9 ก.ค.(วันนี้) ก่อน ขณะที่ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ยืนกรานชัดเจนว่า "ไม่ล็อกดาวน์"

แต่ กับการ ใช้คำว่า "ไม่มีการล็อกดาวน์"  แต่เป็นการปรับมาตรการทางสังคมนั้น ภาคประชาชนตั้งคำถามว่า ประเด็นนี้ ก็ไม่ต่างอะไรกับการล็อกดาวน์เลย เพราะในทางปฏิบัติ ทุกอย่าง และเมื่อไม่ใช้คำว่า ล็อกดาวน์ ก็เท่ากับว่า รัฐบาล ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเยียวยา ใช่หรือไม่ ?

ล็อกดาวน์ได้ แต่ต้องอธิบายให้เคลียร์

ทั้งนี้ การล็อกดาวน์ ในครั้งที่ 2 ที่ กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทยอีกครั้ง (ในทางปฏิบัติ) แม้รัฐบาลมีความพยายามจะเลี่ยงคำ เลี่ยงบาลี  แต่รัฐบาลจะต้องอธิบายกับประชาชนให้ชัดเจน

ต้องเอามาตการต่างๆออกมาอธิบาย จะมีแนวทางช่วยประชาชนอย่างไรให้ชัดเจน ต้องเอาเงินเยียวยาออกมา  ต้องทำให้คนเชื่อให้ได้ว่า เจ็บแล้วต้องจบ! ต้องจ้างให้ประชาชนอยู่บ้าน ไม่ใช่ให้ประชาชนเจ็บเอง...และตายไปเอง...

ขณะที่ คำตอบของการฟื้นจากวิกฤตครั้งนี้ คือ "วัคซีน" รัฐบาลจำเป็นต้องเอา วัคซีนที่สมเหตุสมผล และมีประสิทธิภาพ มากกว่านี้เข้ามา เพราะวัคซีนซิโนแวคซึ่งไทยใช้เป็นตัวหลัก อยู่ ณ เวลานี้  มีผลวิจัยจากต่างประเทศ ชัดเจนว่า ไม่ได้กันการระบาด แต่แค่กันตาย กันการเสียชีวิต รัฐบาลต้องนำ วัคซีน mRNA ที่ฝั่งแพทย์ออกมาเรียกร้องให้เอามาใช้ เรื่องนี้สะท้อนว่า ยุทธศาสตร์วัคซีนของประเทศไทย เป็นเรื่องล้มเหลว ในช่วงที่ผ่านมา
    
มันเป็นความเชื่อที่ผิด ความคิดที่ผิดคือการบังคับมนุษย์ให้อยู่กับที่ เพื่อเอาชนะไวรัส....แต่ทางที่จะชนะจริงๆ คือประเทศต้องวัคซีนที่ดี และปูพรมฉีดให้ได้ในช่วงเวลาก่อนหน้านี้ต่างหาก ...ซึ่งรัฐบาลไทย ภายใต้พลเอก ประยุทธ จันทร์โอชาไม่ได้ทำ...

related