svasdssvasds

พัทยาจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ใช้ศาสตร์รุกขกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม

พัทยาจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ใช้ศาสตร์รุกขกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม

ยุคนี้เป็นยุคของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พื้นที่เขตเมืองจึงถูกปรับภูมิทัศน์ให้เป็นพื้นที่สีเขียวมากขึ้น เมืองพัทยา เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ปรับโฉมภูมิทัศน์ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนด้วยสิ่งแวดล้อม

ด้วยการใช้ศาสตร์รุกขกรรมและภูมิสภาปัตยกรรมมาสร้างมาตราฐานการจัดการต้นไม้ใหญ่ในเมืองและพื้นที่สีเขียวสาธารณะ โดยร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนและสมาคมวิชาชีพ ประกอบด้วยเครือข่ายต้นไม้ในเมือง สมาคมภูมิ สถาปนิกประเทศไทย สมาคมรุกขกรรมไทย และมูลนิธิรักษ์ไม้ใหญ่ (กลุ่มบิ๊กทรี) 

แนวความคิดเบื้องต้นของการปรับโฉมเมืองพัทยา การปรับโฉมเมืองพัทยา เริ่มจากการจัดอบรมเชิงปฏิบัติให้ความรู้ด้านรุกขกรรมเพื่อการจัดการต้นไม้ใหญ่และภูมิทัศน์ และทำการสำรวจต้นไม้ริมชายหาดและต้นไม้ในเมืองพัทยาตามหลักวิชาการ โดยมีความคิดเห็นจากภูมิสถาปนิกและการระดมความคิดเห็นจากประชาชน สร้างการมีส่วนร่วมวางแผนการจัดการพื้นที่สีเขียวเพื่อความยั่งยืน

ลงพื้นที่สำรวจต้นไม้ในพื้นที่นำร่อง สำหรับการนำองค์ความรู้ด้านภูมิสถาปัตยกรรมมาใช้ในการจัดการพื้นที่สีเขียวสาธารณะและการปรับปรุงภูมิทัศน์นั้น จะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ นายนำชัย แสนสุภา นายกสมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย กล่าวว่า

“ภูมิสถาปนิกคือคนที่จะทำหน้าที่ วางแผน วางผังและออกแบบ การจัดการและการใช้พื้นที่อย่างเหมาะสมและยั่งยืนได้ด้วยการลงพื้นที่จริงและทำงานร่วมกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งจะช่วยป้องกันปัญหาการมองไม่ ครบทุกมุมในการปรับปรุงภูมิทัศน์ได้ แล้วนำข้อมูลเหล่านี้มาประมวลด้วยกันเพื่อออกแบบภูมิทัศน์ที่เหมาะสม รักษาสิ่งที่ดี ปรับปรุงแก้ไขส่วนที่ขาดให้เกิดเอกลักษณ์ ความสวยงาม ลดภาระการดูแลระยะยาว ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างยั่งยืน”

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

การจัดการต้นไม่ การจัดการต้นไม้ใหญ่ของเมืองพัทยาได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเจ้าหน้าที่เมืองพัทยา การไฟฟ้า ประปา บรรเทาสาธารณภัย และเทศบาลใกล้เคียง โดยมีการอบรม การประเมินสุขภาพและความเสี่ยงต้นไม้เบื้องต้น การสำรวจพื้นที่นำร่องชายหาดพัทยาใต้ 50 เมตร โดยใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ Tree Plotter การฝึกตัดแต่งอย่างถูกวิธี การปีนต้นไม้ และสาธิตการใช้เสียมลมเพื่อฟื้นฟูระบบราก โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาคมรุกขกรรมไทย เพื่อวางแนวทางในการดูแลรักษาต้นไม้ และการออกแบบพื้นที่ชายหาดให้เหมาะกับการใช้ประโยชน์ของประชาชนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเจ้าหน้าที่เมืองพัทยา การไฟฟ้า ประปา บรรเทาสาธารณภัย “การลงพื้นที่สำรวจต้นไม้ในพื้นที่นำร่องที่ผ่านมา เป็นหนึ่งในรูปธรรมของการนำองค์ความรู้ที่เป็นสากล คือศาสตร์รุกขกรรมมาเป็นคำตอบในการบริหารจัดการต้นไม้ในเมือง และจากการสำรวจต้นไม้ริมหาดพัทยาใต้ในพื้นที่นำร่องร่วมกัน พบว่าไม่มีต้นไม้ที่ต้องโค่นทิ้งเลย เพราะสามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยวิธีการที่เป็นสากล โดยเครือข่ายต้นไม้ในเมืองหวังว่าการจัดการต้นไม้ในเมืองในวิถีใหม่ของเมืองพัทยาในครั้งนี้ จะเป็นต้นแบบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นทั่วประเทศไทยต่อไป” นางสาวช่อผกา วิริยานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่ายต้นไม้ในเมือง กล่าว

พัทยาจัดการพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน ใช้ศาสตร์รุกขกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม ทางด้านกลุ่ม we park ได้ร่วมกับสมัชชาสุขภาพแห่งชาติและ สสส จัดกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม (co creation ) เพื่อวางแนวทางการพัฒนาพื้นที่สาธารณะบริเวณชายหาดพัทยาใต้สำหรับทุกคน (public space for all) โดยนำร่องผ่านพื้นที่สาธารณะขนาดเล็ก บริเวณอนุสรณ์สถานทรงเรือใบ “เราอยากให้กระบวนการมีส่วนร่วม เกิดขึ้นตั้งแต่ต้น เริ่มตั้งแต่การสำรวจพื้นที่ การตั้งโจทย์และรวบรวมข้อเสนอของกิจกรรม จากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาควิชาชีพและประชาสังคม เพื่อเป็นแนวทางในการนำเสนอแบบเพื่อตั้งงบประมาณในการก่อสร้างต่อไป โดยคาดหวังที่จะให้เมืองพัทยาได้นำต้นแบบดังกล่าวไปขยายผลสู่พื้นที่อื่นๆ ของเมืองพัทยา”

นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา

นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา กล่าวว่า “เราให้ความสำคัญกับการพัฒนาเมืองพัทยาเพื่อรองรับการเติบโตในการเป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ตามเป้าหมายของ EEC บนพื้นฐานของการคำนึงถึงเรื่อง สิ่งแวดล้อม ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ในเขตประกาศการควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยการร่วมมือกับภาคประชาชน และสมาคมวิชาชีพในครั้งนี้ จะมีการนำองค์ความรู้ทั้งด้านรุกขกรรมและภูมิสถาปัตยกรรมมาใช้ในการพัฒนาเมืองพัทยา เพื่อูแลต้นไม้ใหญ่ในพื้นที่เมืองและการพัฒนาพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สาธารณะอย่างยั่งยืนต่อไป”