svasdssvasds

ความเชื่อเกี่ยวกับน้ำดื่มที่คุณอาจเข้าใจผิด!!!

ความเชื่อเกี่ยวกับน้ำดื่มที่คุณอาจเข้าใจผิด!!!

เป็นที่รู้กันดีว่าการดื่มน้ำมีประโยชน์มากมาย ทั้งช่วยในการทำงานของร่างกาย บำรุงผิวพรรณ ลดน้ำหนัก ในปัจจุบันมีการเติมแร่ธาตุและวิตามินเข้าไปในน้ำดื่มเพิ่มให้ได้ประโยชน์มากยิ่งขึ้น ซึ่งก็มีความเชื่อบางเรื่องเกี่ยวกับน้ำดื่มที่คุณอาจยังเข้าใจผิดอยู่

ความเชื่อเกี่ยวกับน้ำดื่มที่คุณอาจเข้าใจผิด!!!

ความเชื่อที่ว่า ดื่มน้ำ RO ทำให้สุขภาพดี

เชื่อว่าหลายบ้านคงนิยมดื่มน้ำ RO หรือน้ำที่ผ่านการกรองด้วยระบบรีเวอร์สออสโมซิส ซึ่งเราสามารถดื่มได้ แต่ไม่ควรดื่มติดต่อกันเป็นเวลานาน เนื่องจากไม่มีแร่ธาตุ ทำให้ร่างกายอาจขาดแร่ธาตุที่จำเป็นได้ไม่ทำให้สุขภาพดีกว่าดื่มน้ำปกติ

เนื้อหาที่น่าสนใจ : 

ความเชื่อที่ว่า ดื่มน้ำด่างป้องกันมะเร็งได้

อีกเทรนด์น้ำดื่มที่ได้รับความนิยมมานานแล้วเหมืนอกันสำหรับน้ำด่างหรือน้ำอัลคาไลน์ ซึ่งเป็นน้ำที่มีสภาพเป็นด่าง (ค่าแสดงความเป็นกรด-เบสสูงกว่า 7) การดื่มน้ำด่างมีผลต่อร่างกายไม่ต่างจากน้ำดื่มทั่วไปจึงไม่จำเป็นต้องดื่ม และน้ำด่างก็ไม่สามารถป้องกันมะเร็งได้

ความเชื่อที่ว่า ดื่มน้ำมนต์รักษาโรค

น้ำมนต์มีหลายรูปแบบซึ่งมีทั้งอันตรายและไม่อันตราย เราไม่ควรดื่มน้ำมนต์เพราะอาจมีสารปนเปื้อน เช่น น้ำที่ตักมาจากแหล่งธรรมชาติหรือน้ำที่ผสมน้ำตาเทียนไม่ได้ช่วยรักษาโรคและการดื่มน้ำเพื่อสุขภาพที่ดีควรคำนึงถึงความสะอาดเป็นสำคัญ

ความเชื่อที่ว่า ดื่มน้ำเย็นหลังกินอาหารอาจทำให้เสี่ยงมะเร็ง

จากความเชื่อที่ว่าการดื่มน้ำเย็นเมื่อรวมกับอาหารที่รับประทานเข้าไปจะเกิดการจับตัวของไขมันเป็นก้อนและเกาะตามผนังกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ทำให้เสี่ยงเกิดมะเร็งนั้น ทางสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ชี้แจงว่ายังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการดื่มน้ำเย็นหลังรับประทานอาหารเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง โดยร่างกายของคนเราจะมีอุณหภูมิอยู่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส เมื่อดื่มน้ำเย็นเข้าไป ร่างกายจะมีกลไกที่สามารถปรับอุณหภูมิของน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเทียบเท่าอุณหภูมิของร่างกายได้ในระยะเวลาอันสั้น

ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยทางการแพทย์ที่ยืนยันว่าการดื่มน้ำเย็นหลังรับประทานอาหารจะมีผลกระทบต่อการทำงานของระบบการย่อยอาหาร หรือทำให้มีไขมันเกาะตามผนังของกระเพาะอาหารและลำไส้จนพัฒนากลายเป็นมะเร็ง การดื่มน้ำเย็นช่วยดับกระหายและทำให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น การดื่มน้ำเย็นจัดในเวลาอันรวดเร็วอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะชั่วขณะได้ อย่างไรก็ตามควรระมัดระวังเรื่องความสะอาดของน้ำดื่ม เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินอาหารได้

Cr. ผศ.นพ. สหภูมิ ศรีสุมะ สาขาวิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยาคลินิก ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 

Cr.  ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม