svasdssvasds

เปิด "ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล" คนไทย พบ 44.04% คนไทยยังเสี่ยงภัยไซเบอร์

เปิด "ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล" คนไทย พบ 44.04% คนไทยยังเสี่ยงภัยไซเบอร์

AIS ยกระดับภารกิจ อุ่นใจ CYBER ผนึก มจธ. และผู้เชี่ยวชาญ เปิดตัว “ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index” มาตรวัดทักษะดิจิทัลฉบับแรกของไทย เผย! ปัจจุบัน กว่า 44.04% คนไทยยังเสี่ยงภัยไซเบอร์

AIS เปิดตัว ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index (TCWI) ด้วยความร่วมมือกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนักวิชาการทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และด้านการวัดประเมินผล ที่ระดมความคิดในการออกแบบกรอบการศึกษา ขั้นตอนและวิธีการเก็บผล กลุ่มตัวอย่าง รวมถึงการวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา จนออกมาเป็นดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย 

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวว่า “ปัญหาภัยไซเบอร์กลายเป็นวาระที่ทั้งโลกหันมาให้ความสำคัญเพราะมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ โดยส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับบุคคล ทั้งเรื่องการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล การล่อลวงผ่านช่องทางออนไลน์ และการกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์ ไปจนถึงระดับประเทศหรือองค์กรในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ที่เชื่อมโยงกับเรื่องของ เศรษฐกิจดิจิทัล ระบบสารสนเทศ ที่ต้องมีการรับมืออย่างจริงจัง

ด้าน รศ.ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ มจธ. กล่าวว่า “เรามีความภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานเพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดผลถึงการใช้งานกับ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index และเพื่อให้การศึกษาครั้งนี้เป็นไปตามหลักมาตรฐานของการวิจัย มีความถูกต้อง แม่นยำ เชื่อถือได้ จากการทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านสุขภาพ ด้านสื่อสารมวลชน ด้านการศึกษา และการวัดประเมินผล”

อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้อง

เปิด \"ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล\" คนไทย พบ 44.04% คนไทยยังเสี่ยงภัยไซเบอร์

โดยจากผลการศึกษา พบว่า ภาพรวมของคนไทยมีสุขภาวะทางดิจิทัล อยู่ในระดับพื้นฐาน แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีถึง 44.04% จากทุกหัวข้อ ที่ยังอยู่ในระดับต้องพัฒนา แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยจำเป็นต้องสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลให้กับประชาชนเพิ่มขึ้น

อาชีพไหนมีภูมิคุ้มกันไซเบอร์มากสุด ?

ขณะที่ผู้ที่มีอาชีพพนักงานของรัฐมีระดับดัชนีชี้วัดสุขภาวะทางดิจิทัลในภาพรวมสูงที่สุด (0.78) รองลงมาคือ อาชีพรับราชการ (0.67) นักเรียน/นักศึกษา (0.59) และข้าราชการบำนาญ (0.47) โดยอยู่ในระดับพื้นฐาน ส่วนผู้ที่ว่างงาน (0.42) พนักงานบริษัทเอกชน (0.41) ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว (0.38) รับจ้างทั่วไป (0.33) รัฐวิสาหกิจ (0.31) และเกษตรกร (0.24) อยู่ในระดับต้องพัฒนา

เปิด \"ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล\" คนไทย พบ 44.04% คนไทยยังเสี่ยงภัยไซเบอร์

 

สำหรับ ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index ชี้ให้เห็นถึงทักษะดิจิทัล ที่ครอบคลุมพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลของคนไทย 7 ด้าน ประกอบด้วย

  1. ทักษะการใช้ดิจิทัล (Digital Use)
  2. ทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy)
  3. ทักษะ ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัล (Digital Communication and Collaboration)
  4. ทักษะด้านสิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights)
  5. ทักษะด้านความมั่นคงความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security and Safety)
  6. ทักษะด้านการกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying)
  7. ทักษะด้านความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Relationship)

มีขั้นตอนวิธีการเก็บผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่มีความหลากหลายทั้งช่วงอายุ และกลุ่มอาชีพจากทุกจังหวัด ทั่วประเทศกว่า 21,862 คน

เปิด \"ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล\" คนไทย พบ 44.04% คนไทยยังเสี่ยงภัยไซเบอร์

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย เพิ่มเติมที่ https://sustainability.ais.co.th/storage/update/report/advanc-ebook-thailand-cyber-wellness-th.pdf 

related