svasdssvasds

แฮคเกอร์ดุ ภาครัฐสหรัฐฯ เร่งคุม โซเชียลมีเดีย ไทยยังไม่มีกฎหมายคุม

แฮคเกอร์ดุ ภาครัฐสหรัฐฯ เร่งคุม โซเชียลมีเดีย ไทยยังไม่มีกฎหมายคุม

ปัญหาเรื่องการคุ้มค่าสิทธิผู้บริโภค การหลอกลวง และการโจรกรรมข้อมูล กลายเป็นปัญหาใหญ่บน โซเชียลมีเดีย ที่พบเห็นได้มาก เพราะแฮคเกอร์เลือกใช้แพลตฟอร์มในการดึงข้อมูลส่วนตัว ไปใช้หลอกลวง ในสหรัฐจึงออกกฏหมายใหม่เพื่อควบคุมปัญหานี้

การตรวจสอบบริษัทเทคโนโลยีใน Silicon Valley อาจต้องเจอปัญหาใหม่ เมื่อวุฒิสมาชิกเอลิซาเบธ วอร์เรน จากพรรคเดโมแครตและลินด์ซีย์ เกรแฮม เพื่อนสมาชิกพรรครีพับลิกัน มองว่า รูปแบบการทำงานในซิลิคอน วัลเล่ย์ อาจลุกล้ำความเป็นส่วนตัวและส่งผลกระทบด้านสุขภาพจิต และแนะนำให้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา

แม้ว่า ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านดิจิทัล ที่ภาครัฐเสนอขึ้นมา มีเป้าหมายเพื่อช่วยในการปกป้องผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียที่อายุยังน้อย ได้รับผลกระทบด้านจิตใจ แม้จะมีหน่วยงานที่ดูแลคนกลุ่มนี้อยู่แล้ว แต่ทางกระทรวงยุติธรรมและคณะกรรมาธิการการค้าแห่งสหพันธรัฐ ยังมองว่าไม่เพียงพอในแง่ของการครอบงำทางความคิด การใช้สื่อโฆษณาในทางที่ผิด รวมทั้งการควบรวมกิจการของเหล่านักลงทุน 

ที่มุ่งเน้นเรื่องของการโฆษณาแบบไม่มีเงื่อนไขดูแลผู้ใช้งานที่อายุน้อย คนเหล่านี้ไม่ได้รับการปกป้องที่ดีพอ เช่น ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การนำเสนอข้อมูลที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น

อ่านข่าวอื่นๆ เพิ่มเติม

ความน่าสนใจคือ สว.Warren และ Graham มองว่า หน่วยงานใหม่นี้ เปรียบเสมือนช่องทางหารายได้ใหม่ทางการเมือง เช่น การเรียกร้องสิทธิประโยชน์ให้นักช้อปได้เงินคืน 10.3 พันล้านเหรียญให้แก่ชาวอเมริกันที่ถูกละเมิดสิทธิด้านข้อมูล ในสมัยอดีตประธานาธิบดี บารัก โอบาม่า

จากนั้น มาตรการต่างๆ ถูกผ่อนปรนทำให้ประโยชน์ที่ควรจะเป็นของผู้บริโภคลดลงและประโยชน์ตกสู่บริษัทเทคโนโลยี แทนในยุคของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ทำให้เงินที่ผู้บริโภคควรได้รับ ลดลงเหลือเพียง 2.3 พันล้านเหรียญเท่านั้น

แฮคเกอร์ดุ ภาครัฐสหรัฐฯ เร่งคุม โซเชียลมีเดีย ไทยยังไม่มีกฎหมายคุม

อย่างไรก็ตาม สิ่งท่ีหน่วยงานกำกับดูแลใหม่ จำเป็นต้องทำคือการคัดลอกพิมพ์เขียวของ CFPB ในการดูแลบริษัทเทคโนโลยี จากนั้นให้คณะกรรมาธิการอย่างน้อย 5 คน ในการตรวจสอบและมีอำนาจสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 

แต่ สว.Warren และ Graham แย้งว่า กว่ากฏหมายฉบับนี้จะผ่านสภาคองเกรสอาจจะช้าเกินไปและเสี่ยงต่อผู้บริโภคที่ถูกหลอกลวงและชักนำไปในทางที่ผิด ซึ่ง สส.ในอุตสาหกรรมควรที่จะกดดันหน่วยงานด้านเทคโนโลยีด้วยกฏหมายใหม่นี้

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องผ่านร่างกฎหมายเพื่อนำหน่วยงานใหม่เข้ามา แทนที่จะใช้เวลาและเงินภาษีของประชาชนไปกับหน่วยงานกำกับดูแลระดับสูง ฝ่ายนิติบัญญัติควรร่วมมือกันดีกว่าและเผชิญหน้ากับ Big Tech ด้วยตัวเอง

related