svasdssvasds

ญี่ปุ่นชูเทคโนโลยีผลิตสุราพื้นถิ่น ติดฉลากสะดุดตา ชวนคนรุ่นใหม่หันมาดื่ม

ญี่ปุ่นชูเทคโนโลยีผลิตสุราพื้นถิ่น  ติดฉลากสะดุดตา ชวนคนรุ่นใหม่หันมาดื่ม

“ญี่ปุ่น” ชูเทคโนโลยีกระตุ้นผลิต “สุราพื้นถิ่น” ติดฉลากน่ารักสะดุดตาชวน “คนรุ่นใหม่” หันมาดื่ม ส่วนไทย “ทุนใหญ่” ผูกขาด เตรียมตีตราฉลากน่ากลัว

SHORT CUT

  • ญี่ปุ่นใช้เทคโนโลยีต่อยอดและพัฒนาสาเกหรือสุราพื้นถิ่นอย่างต่อเนื่อง
  • เน้นชวนผู้คนมาดื่ม และเจาะตลาดวัยรุ่นด้วยการทำฉลากข้างขวดและกล่องบรรจุภัณฑ์ที่น่ารักและสะดุดตา
  • ย้อนมองมาที่ประเทศไทยกลับทำร่างกฎหมายติดฉลากสยองปิดโอกาสทองทางด้านการค้าและการท่องเที่ยว

“ญี่ปุ่น” ชูเทคโนโลยีกระตุ้นผลิต “สุราพื้นถิ่น” ติดฉลากน่ารักสะดุดตาชวน “คนรุ่นใหม่” หันมาดื่ม ส่วนไทย “ทุนใหญ่” ผูกขาด เตรียมตีตราฉลากน่ากลัว

ญี่ปุ่นประเทศที่เรียกได้ว่ามีความป๊อบไปในทุกๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นการ์ตูน สถานที่ท่องเที่ยวตลอดจนอาหารและการกิน ที่หลายคนอาจยกให้เป็น Soft Power ของญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้

แต่อีกอย่างหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามนอกจากวัฒนธรรมการกินของญี่ปุ่นคือการดื่ม “สุรา” ของญี่ปุ่นโดยเฉพาะสุราพื้นบ้านอย่างสาเก ที่เรียกได้เป็นของดีและของขึ้นชื่อของญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้

ญี่ปุ่นชูเทคโนโลยีผลิตสุราพื้นถิ่น  ติดฉลากสะดุดตา ชวนคนรุ่นใหม่หันมาดื่ม

ที่สำคัญคือเจ้าสาเกที่เราพูดถึงกันนี้รัฐบาลญี่ปุ่นยังสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่หันมาดื่มกันด้วยครับเพื่อนๆ เพราะอะไรนะหรอ คำตอบก็คือต้องบอกว่าประเทศญี่ปุ่นนั้นเป็นสังคมผู้สูงอายุ คนทำงานเอย แรงงานเอยก็เริ่มน้อยลง ตลาดสาเก ตลาดสุราเป็นเครื่องดื่มของคนวัยเก๋า วัยทำงานก็ต้องหดตัวไปด้วยเพราะนับวันอัตราประชากรเริ่มลดลงเรื่อยๆ

ที่สำคัญคือเยาวรุ่นรุ่นใหม่ๆ เนี่ยไม่นิยมดื่มเจ้าสาเกกันแล้วนะสิ เพราะพวกเขาเติบโตมาในยุคที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่ดี ไม่ได้ว้าว มีเงินเต็มกระเป๋าจนหาซื้อเจ้าเครื่องดื่มนี้ได้

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นและบริษัทผลิตเหล้า ผลิตสาเกในญี่ปุ่นต้องหาทางกระตุ้นตลาดเครื่องเจ้าเครื่องดื่มนี้หน่อย ไม่งั้นคงหายไปแน่ๆ

แต่ อุบไว้ก่อนนะครับว่าทำอย่างไร เพราะถ้าอยากเรารู้เรื่องอะไรเราก็ต้องรู้จักที่มากันก่อนใช่ไหมล่ะ ว่าแล้วไปชมประวัติเจ้าสาเก สุราพื้นบ้านญี่ปุ่นที่อยู่ควบคู่กับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นมานาน ว่าแล้วไปชมกันเลย

ญี่ปุ่นชูเทคโนโลยีผลิตสุราพื้นถิ่น  ติดฉลากสะดุดตา ชวนคนรุ่นใหม่หันมาดื่ม

ประวัติศาสตร์สาเก ความเมา แหล่งเงิน ความเป็นตัวตนของญี่ปุ่น

สาเกคือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่กระบวนการหมักข้าวกับน้ำ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่ 300 ปีก่อนพระเยซูเกิดสะอีก ตรงกับสมัยยุคยาโยอิของญี่ปุ่น ในยุคนี้เองแผ่นดินลูกพระอาทิตย์ได้เริ่มรู้จักข้าวซึ่งได้รับวิทยาการมาจากประเทศจีน

ต่อมาในยุคนาระจนถึงยุคเฮอัน (มีเมืองหลวงอยู่ที่นาระและเกียวโตในปัจจุบัน) ข้าวเป็นสินค้าที่สำคัญของญี่ปุ่นจนต้องมีหน่วยงานเข้ามาดูแล สาเกเองกลายเป็นที่นิยมเพราะราชสำนักต้องใช้สำหรับปาตี้รวมถึงประกอบพิธีกรรมจึงมีหน่วยงานขึ้นมาดูแลสาเกโดยเฉพาะ ทำให้มีการพัฒนาสูตรต่างๆ ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ

ต่อมาในช่วงมูโรมาจิ ตรงกับสมัยโชกุนแห่งตระกูลอาชิคางะเรืองอำนาจปกครองญี่ปุ่น รัฐบาลเริ่มเล็งเห็นช่องทางเก็บเงินภาษีจากประชาชนก็คือเจ้าสาเกนี่แหละ เพราะยังไงๆ น้ำเมาเป็นของคู่กับมนุษย์ ขาดไม่ได้อยู่แล้วใครจะทำใครจะดื่มก็ต้องเสียภาษีเอาเงินเข้ากระเป๋ารัฐบาลเสียดีๆ ประชาชนกับวัดที่ผลิตสาเกก็ต้องโดนรีดภาษีสาเกกันเป็นแถวนับตั้งแต่นั้นมา

แต่ก็สะท้อนให้เราเห็นว่ากระบวนผลิตพัฒนาสาเก ไม่ได้มีสูตรเดียวจากรัฐบาลหรือราชสำนัก เพราะได้แพร่หลายไปสู่ชาวบ้านและวัด ทำให้มีการพัฒนาออกมาหลายๆ สูตรอย่างแน่นอน

นับตั้งแต่นั้นมาสาเกก็กลายส่วนหนึ่งในชีวิตจิตใจของคนญี่ปุ่นที่ยังชีพด้วยการบริโภค ไม่ว่าจะงานแต่ง งานศพ หรือ งานพิธีกรรม ตลอดจนการสังสรรค์ก็ต้องมีสาเกควบคู่กับวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นเรื่อยมา 

ญี่ปุ่นชูเทคโนโลยีผลิตสุราพื้นถิ่น  ติดฉลากสะดุดตา ชวนคนรุ่นใหม่หันมาดื่ม

อาจเรียกได้ว่า

“หากไม่ดื่มของมึนเมาก็คงต้องชา หากต้องการเครื่องดื่มสร้างอรรถรสคงหลีกไม่พ้นสาเกก็ว่าได้”

 

เทคโนโลยีกับการพัฒนาสาเก

แน่นอนว่าสิ่งของนั้นๆ มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน ก็ย่อมมีกระบวนการพัฒนาต่อมาเรื่อยๆ สาเก ก็เช่นกันจากในอดีตที่ไม่รู้จักการทำให้ปลอดเชื้อ แต่เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 16 อยู่ในช่วงรัฐบาลเอโดะที่ปกครองโดยโชกุนตระกูลโตกุงาวะได้เริ่มรู้จักการขัดสีข้าวให้เป็นสีขาวกันแล้วบวกกับรู้จักกระบวนการทำให้ปลอดเชื้อที่ญี่ปุ่นเรียกว่า “ฮิอิเระ” และนำมาบ่มในถังไม้แล้ว

ซึ่งน่าจะรับวิทยาการมาจากตะวันตกเพราะถึงแม้รัฐบาลเอโดะจะมีนโยบายปิดประเทศแต่ก็ยังเปิดเมืองท่าอย่างนางาซากิให้อังกฤษและฮอลันดาเข้ามาค้าขายได้

ต่อมาในปี ค.ศ.1904 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ก่อตั้งสถาบันวิจัยสุราแห่งชาติขึ้นมา ให้เป้นผู้วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตสาเก

หนึ่งในเทคโนโลยีที่นำมาใช้คือการรวมเทคโนโลยีทางจุลวิทยาและพันธุกรรมเข้าด้วยกันพัฒนาเจ้ายีสต์ที่เป็นส่วนผสมในการหมักสาเก ทำให้ตัวยีสต์โคลนตัวเองให้มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่าการรอเวลาทางธรรมชาติ ทำให้การหมักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ขณะเดียวกันรัฐบาลยังให้ความสำคัญกับพื้นที่ ดิน น้ำ อุณหภูมิ และข้าว ที่เหมะสมสำหรับการหมักสาเก ทำให้เราเห็นว่าสาเกในจังหวัดต่างๆ ของญี่ปุ่นจะมีรสชาติแตกต่างกันและมีที่มาจากหลายพื้นที่ เช่นสาเกจางจังหวัดฟุกุชิมะ หรือเกียวโต เป็นต้น

เอกชนเองก็สามารถพัฒนาเครื่องดื่มของตนเองได้อย่างอิสระ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือบริษัทคิริน โฮลดิ้งส์ ผู้ผลิตเหล้าและเบียร์คิริน ใช้ AI ในการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่ได้จากการสัมภาษณ์ว่าชอบรสชาติแบบใดนำมาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเอง

ญี่ปุ่นชูเทคโนโลยีผลิตสุราพื้นถิ่น  ติดฉลากสะดุดตา ชวนคนรุ่นใหม่หันมาดื่ม

ให้อิสระกระตุ้นวัฒนธรรมดื่มสุราอย่างเข้าใจ

ปี ค.ศ.2001 รัฐบาลญี่ปุ่นยกเลิกเงื่อนไขการเว้นระยะห่างของร้านสุรา ทำให้ร้านสุราสามารถขายติดๆ กันได้ ในปี ค.ศ.2003 ได้ออกกฎหมายให้ร้านขายสุราไม่ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายสุรา ทำให้ร้านค้าทั่วๆ ไปสามารถจำหน่ายสุราได้

ยังไม่หมดเพียงเท่านั้นญี่ปุ่นเองอาจเรียกได้ว่าเป็นประเทศชาตินิยมสูง อิ่มเอมกับประวัติศาสตร์ของตัวเอง และเลือกใช้จุดนี้เป็นจุดขายโดยมีการจัดทัวร์นำเที่ยวโรงงานสุรา ให้คนที่มาได้เห็นและได้สัมผัสวัฒธรรม ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นผ่านโรงงานผลิตสุรา เช่นจังหวัดเกียวโตเขตฟุชิมิยังคงสภาพเมืองเก่าที่เคยเป้นแหล่งรวมผู้ผลิตสาเกไว้เหมือนในอดีตให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชม

การนำเที่ยวโรงงานสุราได้รับการสนับสนุนจากกรมการท่องเที่ยวและจากสมาคมผู้ผลิตสุราพื้นบ้านญี่ปุ่น ที่ให้ข้อมูลท่องเที่ยวผ่านเว็บไซต์ หรือทำคู่มือประชาสัมพันธ์ให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และที่สำคัญคือการกระตุ้นให้ชาวต่างชาติซื้อสุราพื้นถิ่นด้วยการที่นักท่องเที่ยวต่างชาติซื้อสุราพื้นถิ่นโดยไม่ต้องเสียภาษีอีกด้วย

ผู้ผลิตสุราพื้นที่เองก็มีการวมตัวและร่วมมือกันด้วยการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีวางแผนร่วมกัน และที่สำคัญคือการพูดคุยให้ผลิตภัณฑ์ของตนเองแตกต่างกันที่สุดเพื่อให้สินค้าของตนเองโดดเด่น ตัวอย่างเช่นกลุ่ม NEXT5 เป็นต้น

และที่ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดตรงกับบริบทปัญหาการดื่มสุราของญี่ปุ่น ณ ขณะนี้คือแนวคิดจะทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่หันมาดื่มสุราพื้นถิ่นให้ได้ เพราะคนดื่มสุราพื้นถิ่นส่วนใหญ่คือคนสูงวัย หรือคนทำงาน ซึ่งตลาดนี้ค่อยๆ หดตัวลงเรื่อยๆ ขณะที่วัยรุ่นส่วนใหญ่ก็นิยมดื่มกัน

ในที่สุดก็มีไอเดียออกมาคือทำรสชาติให้ดื่มง่ายขึ้น ทำให้เป็นเครื่องดื่มมีความซ่าแบบ Sparking รวมไปถึงการติดฉลากสวยงามน่ารักๆ ดึงดูดให้วัยรุ่นหันมาดื่ม ไม่ว่าจะเป็น บรรจุภัณฑ์ที่สีฉูดฉาด นำรูปดอกไม้เข้ามาใส่ เอาใจวัยรุ่นสุดๆ ด้วยใส่ภาพอนิเมะลงไป

ทั้งหมดคือภาพสะท้อนทั้งหมดที่ช่วยกระตุ้นให้คนในประเทศรวมถึงคนรุ่นใหม่หันมาดื่มสุราพื้นถิ่นมากยิ่งขึ้น

ขณะที่หันมามองประเทศไทย ประเทศเมืองพุทธที่ไหว้ทั้งผีและพราหมณ์ งดจำหน่ายสุราวันพระ มีกฎหมายกำหนดเวลาจำหน่ายสุรา มกฎหมายงดขายแอลกอฮอล์ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และมีกฎหมายจุกจิกเต็มไปหมด จนผลิตสุราพื้นถิ่นได้อย่างยากเย็น กลายเป็นว่ามีผู้ผลิตไม่กี่เจ้า อยู่ในสถานะการณ์ทุนใหญ่ผูกขาดเหล้าเบียร์ที่มีให้เลือกน้อย รสชาติไม่หลากหลาย

ในขณะที่ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำร่างที่มีการทำบรรจุภัณฑ์ รวมถึงฉลาก พร้อมทั้งคำเตือน จินตนาการง่ายๆ เหมือนรูปข้างซองบุหรี่ ออกมาซึ่งดูแล้วไม่สอดคล้องกับสถานการณ์โลกและเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน

โดยเฉพาะสังคมไทยที่กำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแบบญี่ปุ่น สังคมที่กำลังซื้อหดตัว เศรษฐกิจกำลังวิกฤตจนต้องแจกเงินดิจิม่อน 10,000 บาท ให้ได้ แต่เรากำลังติดหล่มกับราชการสังคมพุทธแบบปลอมๆ จนไม่รู้ว่าโลกกำลังมุ่งไปสู่อะไร การออกแนวคิดติดฉลากน่ากลัวยิ่งทำให้กำลังซื้อแคบลงเข้าไป ผิดกับหลักพัฒนาเศรษบกิจและการท่องเที่ยว

มีแต่ทำให้สุราพื้นถิ่นไทยค่อยๆ ตายลง

ญี่ปุ่นชูเทคโนโลยีผลิตสุราพื้นถิ่น  ติดฉลากสะดุดตา ชวนคนรุ่นใหม่หันมาดื่ม

“สภาวะที่เห็นคือการที่โลกมุ่งไปข้างหน้า แต่ประเทศไทยถอยหลังกำลังตกสู่ขอบเหว เรื่องแค่นี้คิดไม่ได้ก็ไม่ต้องทำ ควรมองต่างประเทศเป็นตัวอย่าง อย่าดันทุลังจนประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ได้แค่นี้”

ที่มา

วารสารญี่ปุ่นศึกษา / คณะอักษรศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร / THESTANDARD / Maboroshinosake / กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related