svasdssvasds

รู้จัก "AI Biometrics" เทคโนโลยีชีวมิติ สู่ความช่วยเหลือหลักสิทธิมนุษยธรรม

รู้จัก "AI Biometrics" เทคโนโลยีชีวมิติ สู่ความช่วยเหลือหลักสิทธิมนุษยธรรม

AI Biometrics การยืนยันตัวตนด้วยชีวมิติ หรือไบโอเมตริกซ์ (Biometrics) คือเรื่องใกล้ตัวเช่น การสแกนลายนิ้วมือ, ปลดล็อกด้วยใบหน้าผ่านสมาร์ทโฟน หรือแม้แต่การเปิดประตู Digital Door Lock ล้วนแล้วเป็น Biometrics

AI Biometrics เชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านน่าจะเคยเห็น หรือคุ้นเคยกับการใช้ลายนิ้วมือ ใบหน้าของเราในการปลดล๊อคโทรศัพท์มือถือ เปิดประตูผ่านเข้าสำนักงาน หรือทำหนังสือเดินทาง ที่จะต้องมีการ Scan ลายนิ้วมือเก็บข้อมูลเอาไว้ เพื่อระบุตัวตนซึ่งลักษณะเช่นนี้ เราจะเรียกว่า “การยืนยันตัวตนด้วยชีวมิติ หรือไบโอเมตริกซ์ (Biometrics)”

รู้จัก \"AI Biometrics\" เทคโนโลยีชีวมิติ สู่ความช่วยเหลือหลักสิทธิมนุษยธรรม

 

ไบโอเมตริกซ์ (Biometrics) คืออะไร

ไบโอเมตริกซ์ (Biometrics) คือ เทคโนโลยีที่ใช้ในการยืนยันและระบุตัวตน  ซึ่งสามารถทำได้จากการตรวจจับอัตลักษณ์เฉพาะของแต่ละบุคคล (Personal identity) เช่น ลายนิ้วมือ ใบหน้า ม่านตา หรือลักษณะเฉพาะเชิงพฤติกรรม (Behavioral characteristics) เช่น เสียงพูด ลายเซ็น ท่าทางการเดิน ของบุคคลนั้น ข้อมูลชีวมิติอาจใช้ควบคู่กับเอกสารสำคัญ รหัสผ่าน หรือใช้โดยลำพัง ปัจจุบันเทคโนโลยีชีวมิติได้รับการยอมรับ มีความน่าเชื่อถือ ทำงานได้รวดเร็ว ปลอมแปลงได้ยาก และถูกนำมาใช้งานในกิจกรรมต่าง ๆ

รู้จัก \"AI Biometrics\" เทคโนโลยีชีวมิติ สู่ความช่วยเหลือหลักสิทธิมนุษยธรรม

เช่น การทำระเบียนประชากร การออกบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง การทำธุรกรรมการเงิน การตรวจคนข้ามแดน และการเฝ้าระวังบุคคล ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการยืนยันตัวตนด้วยวิธีอื่น เช่น เอกสารยืนยันจากหน่วยงานกลางที่มีความน่าเชื่อถือ (บัตรประชาชน ใบขับขี่ เป็นต้น) หรือรหัสผ่าน

จะพบว่าการใช้ข้อมูลไบโอเมตริกซ์มีข้อได้เปรียบและสะดวกสบายกว่าวิธีอื่นหลายประการ เช่น ไม่ต้องจดจำ ระวังถูกขโมย และทำการปลอมแปลงได้ยากกว่า ยังนำไปใช้ร่วมกับบริการ online ต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการนำเอาข้อมูลไบโอเมตริกซ์มากกว่า 1 ชนิด หรือที่เรียกว่า มัลติโมดัลไบโอเมตริกซ์ (Multimodal Biometrics) มาใช้ร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบตรวจสอบหรือจำแนกบุคคล ถือเป็นกระบวนการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ได้รับความนิยมในยุคนี้

การเลือกใช้งานข้อมูลไบโอเมตริกซ์ที่เหมาะสมสำหรับการใช้ยืนยันตัวตนโดยทั่วไปนั้น ควรเลือกไบโอเมตริกซ์ ที่มีคุณสมบัติ ได้แก่ ความเป็นเอกลักษณ์ (uniqueness) ความคงทน (permanence) เป็นลักษณะทั่วไปของมนุษย์ (universality) สามารถตรวจวัดได้ (collectability) ระบบที่ทำงานร่วมกับข้อมูลไบโอเมตริกซ์ นั้นต้องมีประสิทธิภาพสูง (performance) เป็นที่ยอมรับของผู้ใช้ (acceptability) และปลอมแปลงได้ยาก (circumvention) ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ ใบหน้า ลายนิ้วมือ ลายม่านตา ลายเส้นเลือด ลายเซ็น และเสียงพูด

รู้จัก \"AI Biometrics\" เทคโนโลยีชีวมิติ สู่ความช่วยเหลือหลักสิทธิมนุษยธรรม ขั้นตอน และหลักการทำงานของไบโอเมตริกซ์ (Biometric)

ไบโอเมตริกซ์ ประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก ขั้นตอนแรก คือการลงทะเบียน โดยการนำข้อมูลไบโอเมตริกซ์นั้นๆ มาสกัดลักษณะเด่น และเก็บลงในฐานข้อมูล ส่วนขั้นตอนต่อไป คือ การระบุ หรือยืนยันตัวตน
โดยใช้ระเบียบวิธีทางคณิตศาสตร์ (อัลกอริทึม) สกัดลักษณะเด่น และเปรียบเทียบความเหมือนกับลักษณะเด่นอ้างอิงที่มีอยู่ในฐานข้อมูล แต่มีข้อจำกัดเรื่องความแม่นยำ หรือการเปลี่ยนแปลงของทั้งสภาพแวดล้อม และข้อมูลไบโอเมตริกซ์ เช่น การเปลี่ยนแปลงของใบหน้า ลายนิ้วมือ ในปัจจุบันจึงมีการนำ AI เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพ ด้วยการเทรนด์โมเดลทางคณิตศาสตร์จากชุดข้อมูลไบโอเมตริกซ์ขนาดใหญ่ ที่สามารถทำหน้าที่ทั้งการสกัดลักษณะเด่น จดจำ และแยกแยะความแตกต่างของอัตลักษณ์แต่ละบุคคลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

แล้วไบโอเมตริกซ์ มาเกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยธรรมได้อย่างไร

ย้อนกลับไปในช่วงกลางปี 2563 การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นับเป็นโรคอุบัติใหม่ที่ทั่วโลกต้องรับมือรวมถึงประเทศไทย ที่มียอดผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างล้นหลาม ทุกภาคส่วนระดมสรรพกำลังเข้าช่วยเหลือประชาชนตามบทบาทหน้าที่ที่รับผิดชอบเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ารับรักษาได้อย่างรวดเร็วทั้งในโรงพยาบาล และรูปแบบการรักษาที่บ้าน รวมถึงการเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับประชาชนในทุกพื้นที่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และลดความรุนแรงของโรคได้

แต่ยังมีกลุ่มบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มแรงงานต่างด้าว กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้หนีภัยการสู้รบ  ที่อาศัยอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ ภายในประเทศ ที่มีโอกาสเป็นคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งไม่มีสิทธิเข้าถึงบริการวัคซีน ด้วยปัญหาด้านวิธีการระบุตัวตน สวทช. ร่วมกับสภากาชาดไทย ได้ริเริ่มให้ความช่วยเหลือด้านวัคซีนเพื่อให้ทุกคนในประเทศไทยมีโอกาสเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 อย่างเท่าเทียมกัน ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (เนคเทค สวทช.) เมื่อได้รับโจทย์นี้ จึงศึกษาแนวทางความเป็นไปได้ในการระบุตัวบุคคล หรือการยืนยันตัวตนให้กับกลุ่มดังกล่าว

ซึ่งไม่มีเอกสารรับรองตัวบุคคลใด ๆ ด้วยการใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์ พัฒนาขึ้นเป็นระบบการจดจำลายม่านตาและการจดจำใบหน้า (Iris and Face Recognition) โดยใช้ชื่อว่า “ระบบ Thai Red Cross Biometric Authentication System หรือ TRCBAS” มาใช้เป็นระบบการลงทะเบียนและยืนยันตัวตน สร้างมาตรฐานการเก็บข้อมูลอัตลักษณ์ ที่แม่นยำ มีคุณภาพในระดับประเทศ สนับสนุนระบบบริการสาธารณสุขในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคในบุคคลที่ไม่มีเอกสารประจำตัว ตลอดจนเพื่อยกระดับการให้ความช่วยเหลือตามหลักด้านสิทธิมนุษยธรรม เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความทุกข์ยากแก่เพื่อนมนุษย์ที่เดือดร้อนและไร้โอกาส ให้สามารถเข้าถึงบริการทางสาธารณสุข ได้รับความช่วยเหลืออย่างเท่าเทียมกัน

รู้จัก \"AI Biometrics\" เทคโนโลยีชีวมิติ สู่ความช่วยเหลือหลักสิทธิมนุษยธรรม โดยผู้มารับวัคซีนครั้งแรกจะต้องทำการเก็บข้อมูลไบโอเมตริกซ์โดยใช้ภาพใบหน้า เพื่อรับเลขรหัสประจำตน 13 หลัก เมื่อกลับมารับบริการวัคซีนครั้งต่อไป สามารถใช้ข้อมูลไบโอเมตริกซ์ยืนยันตัวบุคคล รวมถึงอ้างอิงเลขประจำตนกับระบบหมอพร้อม เพื่อบันทึกข้อมูลการให้วัคซีนในติดตามการรับวัคซีน หรือออกใบรับรองการฉีดวัคซีนได้ ที่ผ่านมาสำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย หน่วยงานภาคีเครือข่าย

รู้จัก \"AI Biometrics\" เทคโนโลยีชีวมิติ สู่ความช่วยเหลือหลักสิทธิมนุษยธรรม และเนคเทค สวทช. ได้ร่วมออกหน่วยนำระบบบริการลงทะเบียนและยืนยันตัวตนด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีแบบไม่สัมผัสในการจดจำใบหน้า เพื่อลงพื้นที่ให้บริการฉีดวัคซีนแก่กลุ่มชาติพันธุ์ ผู้หนีภัยสงคราม แรงงานต่างด้าวไร้สัญชาติ หรือไม่มีหลักฐานทางทะเบียนราษฎร ในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ อาทิ กรุงเทพมหานคร ราชบุรี แม่ฮ่องสอน ตาก สมุทรสาคร ณ ปัจจุบัน ได้เก็บข้อมูลไปแล้วกว่า 10,000 คน อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการรู้ลายม่านตา และได้รับการยอมรับให้ขยายผลการใช้งานไปในหน่วยงานภายใต้กระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศในเวลาต่อมา เพื่อใช้ในการคัดกรอง การเฝ้าระวัง และการป้องกันโรคอื่น ๆ เช่น HPV รวมถึงขยายผลนำไปประยุกต์ใช้ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ได้

related