svasdssvasds

ผลกระทบเศรษฐกิจ โควิด 19 ปัญหาเศรษฐกิจอาจนำไปสู่ปัญหาสังคม

ผลกระทบเศรษฐกิจ โควิด 19 ปัญหาเศรษฐกิจอาจนำไปสู่ปัญหาสังคม

โควิด 19 สร้างแรงสั่นสะเทือนในทุกภาคส่วน ทุกด้าน ของหลายประเทศทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม ด้านสาธารณสุข ด้านการเมือง และโดยเฉพาะ ผลกระทบเศรษฐกิจ ผู้เชี่ยวชาญแนะว่า รัฐบาลต้องรีบออกมาตรการลดผลกระทบให้เร็วที่สุด

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเมิน ผลกระทบเศรษฐกิจ จากโควิด 19 ว่าช่วงนี้ ประเทศไทยมีแรงงานตกงาน ทั้งหมด 7 ล้านคน และหากสถานการณ์ยืดเยื้อไปอีก 2-3 เดือน จะมีคนตกงานเพิ่มเป็น 10 ล้านคน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประชา คุณธรรมดี กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า ก่อนเกิดวิกฤติโควิด 19 นั้น เศรษฐกิจไทยก็มีความเปราะบางอยู่แล้ว และประเมิณผลกระทบวิกฤติทางเศรษฐกิจได้ราว 3  ล้านล้านบาท เป็นวิกฤติที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง โดยภาคเศรษฐกิจที่กระทบโดยตรง มีสองส่วนใหญ่ๆ คือภาคบริการ ซึ่งมีความต้านทานล็อกดาวน์ไม่มาก และอีกส่วนคือ SME

อาจารย์ประชากล่าวว่า รัฐบาลต้องแก้ปัญหาให้เร็วที่สุด จะทำอย่างไรให้คนมีงานทำ สร้างงานให้คนที่ถูกให้ออกจากงาน หรือถูกลดเงินเดือน กลับเข้ามาสู่ในระบบมากขึ้น ก็จะชะลอ ผลกระทบเศรษฐกิจ ไปได้พอสมควร

“คิดว่าเป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องมองว่า ทำอย่างไรให้คนที่ตกงานไป มีงานทำ เข้าใจว่า ณ ตอนนี้ กระทรวงแรงงานพยายามที่จะสร้างงาน แต่ว่าการสร้างงานภายใต้ภาวะแบบนี้ เป็นไปด้วยความยากลำบาก”

“ส่วน SME เข้าใจว่า ณ วันนี้ มีสินเชื่อเพื่อ SME เพื่อชะลอไม่ให้เกิดการไล่แรงงานออก แต่คิดว่าน่าจะไม่ทัน”

อาจารย์ประชาระบุว่าได้เคยทำข้อเสนอไว้ ในภาวะที่ขาดแคลนแรงงานด้านสาธารณสุข คือบุคลากรด้านสาธารณสุขหดตัว สามารถจ้างงานคนที่ได้รับผลกระทบโควิด 19 ได้ เช่น พนักงานสายการบินที่ได้รับการฝึกฝนเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นมาแล้ว หรือผู้ช่วยทันตกรรมที่คลินิกต้องปิดให้บริการ มาเป็นแรงงานเสริมในส่วนสาธารณสุขได้

ผลกระทบเศรษฐกิจ โควิด 19 ปัญหาเศรษฐกิจอาจนำไปสู่ปัญหาสังคม

ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง ระบุว่า สถานการณ์แบบนี้ไม่เคยมีมาก่อนในร่วมร้อยปี ทุกภาคส่วนกระทบหมด แต่หนักที่สุดเป็นการท่องเที่ยวที่แทบจะชะงัก ตามด้วยภาคการผลิต กระทบเป็นลูกโซ่

“อย่างไรก็ตาม ผมเชื่อว่า สถานการณ์จากนี้ไป 2-3 เดือน คงจะมีการเปลี่ยนแปลงในสถานะที่เรียกว่าที่ดีขึ้นบ้าง ด้วยเหตุผลคือ หลายประเทศไม่สามารถที่จะอยู่ดีๆ รอจนกระทั่งวิกฤตินี้คลี่คลาย เพราะถ้าคลี่คลายจริงๆ ปีหน้า  ถ้าอย่างนั้นเศรษฐกิจโลกมันพังไปหมด”

ที่รัฐบาลต้องทำคือ ต้องให้เศรษฐกิจเดินต่อ ต้องช่วยให้คนมีความเดือดร้อนน้อยลง ช่วยภาคธุรกิจเรื่องดอกเบี้ย เรื่องการผ่อนปรนหนี้ เรื่องสภาพคล่อง ช่วยคนตกงานด้านประกันสังคม เพราะถ้าเกิดปัญหาเศรษฐกิจการเงิน ปัญหาด้านสังคมก็จะตามเข้ามา

ส่วนการเปิด ที่คาดว่าควรทำในอีก 2-3เดือนข้างหน้า อาจารย์สมชายกล่าวว่า มีกลุ่มที่มีความจำเป็นคือที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ แต่แม้ส่วนที่ไม่จำเป็น ก็ต้องเริ่มเปิดแล้ว เพราะไม่อย่างนั้นจะมีคนตกงานมากขึ้นอีก แต่ก็มีมาตรการสาธารณสุข มีการควบคุมมากขึ้น

ผลกระทบเศรษฐกิจ โควิด 19 ปัญหาเศรษฐกิจอาจนำไปสู่ปัญหาสังคม

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนสิน ถนอมพงษ์พันธ์ หัวหน้าภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุว่าผลกระทบจะเกิดกับภาคเศรษฐกิจจริง (Real Sector) เป็นส่วนที่เห็นได้ชัด คนงานในภาคส่วนนี้จะถูกพักงานโดยไม่มีค่าจ้าง หรืออาจถูกเลิกจ้าง ยิ่งประเทศล็อกดาวน์นาน ถ้าภาคธุรกิจหมดเงิน ก็ต้องเลิกจ้างพนักงานไปโดยปริยาย ต้องพยายามรักษาเงินให้ได้มากที่สุด คือลดค่าใช้จ่าย

อาจารย์ธนสินระบุว่า กลุ่มคนที่เปราะบางมากที่สุดคือกลุ่มแรงงานนอกระบบ คือนอกระบบประกันสังคม ที่คาดว่ามีอยู่ 8.9 ล้านคน ส่วนมากอยู่ในภาคบริการ อาจเป็นอย่างเช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก ค้าส่ง หรือว่า ก่อสร้าง ขนส่ง

คนที่ตกงานก็ขาดรายได้ ในขณะที่ยังมีรายจ่ายอยู่ เริ่มต้นก็คือจะใช้เงินออมที่มีก่อน โดยข้อมูลจากที่สำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า คนส่วนใหญ่ไม่น่าจะมีเงินออมใช้ได้เกิน 1 เดือน

“แรงงาน 1 คน จะต้องดูแลคนประมาณ 1.8 คน คือแรงงาน 1 คน ต้องมีรายจ่ายไม่ใช่แค่ตัวเขาเอง ต้องเผื่อคนอื่นด้วย ถ้าเงินออมเขาหมดแล้ว ต้องกินต้องใช้อยู่ แล้วถ้าเขาไม่สามารถกู้ยืมเงินได้ มันก็จะเป็นที่มาของอาชญากรรม”

ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาสังคมเป็น เป็นเหตุผลสำคัญว่าทำไมภาครัฐต้องเข้ามาเยียวยา เพราะในช่วงสถานการณ์ปัจจุบัน มีแต่ภาครัฐเท่านั้นที่สามารถกู้เงินจำนวนมากได้ และมีกำลังพอที่จะช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางได้

ท้ายที่สุดแล้ว นโยบายภาครัฐนับว่ามีส่วนสำคัญที่สุดที่จะพาประเทศฝ่าวิกฤติไปได้ มาตรการอะไรก็ตามที่จะช่วยเยียวยาทางเศรษฐกิจและสังคมจากโควิด 19 ต้องเริ่มให้เร็วที่สุดเพื่อลดแรงกระแทกให้ได้มากที่สุด

ผลกระทบเศรษฐกิจ โควิด 19 ปัญหาเศรษฐกิจอาจนำไปสู่ปัญหาสังคม

ถอดบทเรียนมาตรการรับมือ ปัญหาเศรษฐกิจ โควิด 19

เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่สร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลก โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องหยุดชะงักเพราะมาตรการล็อกดาวน์ ผู้เชี่ยวชาญต่างกังวลว่าถ้าแต่ละรัฐบาลไม่มีมาตรการรับมือที่เหมาะสม ปัญหาเศรษฐกิจ โควิด 19 จะนำไปสู่ ภาวะเศรษฐกิจถดถอย อย่างหนัก และปัญหาสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คริสตาลินา กอร์เกียวา กรรมการผู้จัดการ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) กล่าวว่า โลกกำลังเข้าสู่ปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดนับแต่ ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในช่วงปี 1930 และองค์การการค้าโลกคาดว่า ปีนี้ ตัวเลขการค้าทุกภูมิภาคของโลกจะลดลงอย่างหนัก

บิล เกตส์ เตือน ล็อกดาวน์นาน อาจสร้างความวุ่นวายในประเทศกำลังพัฒนา

บิล เกตส์ ระบุ มาตรการที่ใช้ได้ผลดีในประเทศพัฒนาแล้วอย่างการ ล็อกดาวน์นาน ๆ อาจไม่เหมาะกับประเทศกำลังพัฒนา เพราะอาจสร้างความวุ่นวาย หากรัฐบาลไม่มองความเป็นจริงเรื่องความต้องการพื้นฐานของประชาชน

related