svasdssvasds

ออสเตรเลียผุดแผนฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางทะเลอ่าวซิดนีย์ งบมากกว่า 200 ล้าน

ออสเตรเลียผุดแผนฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางทะเลอ่าวซิดนีย์ งบมากกว่า 200 ล้าน

ออสเตรเลียประกาศแผนฟื้นฟูระบบนิเวศของอ่าวซิดนีย์ ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ มุ่งหวัง ฟื้นฟู สภาพแวดล้อมทางทะเล ด้วยงบมากกว่า 200 ล้านบาท เป็นหนึ่งในโครงการที่แสดงออกอย่างชัดเจนว่า ออสเตรเลีย เอาจริงเอาจังกับการฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเล และมุ่งหวังสู่การ keep the world

สำนักข่าวซินหัว ระบุว่า ทางการรัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย ประกาศ แผนริเริ่มการฟื้นฟูป่าสาหร่ายทะเลและประชากรม้าน้ำ ในอ่าวซิดนีย์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล  

โดย แผนริเริ่มการฟื้นฟูป่าสาหร่ายทะเลและประชากรม้าน้ำในอ่าวซิดนีย์ ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของประเทศ ใช้งบประมาณ 9.1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ราว 226 ล้านบาท )โดยจะแบ่งเป็นการจัดสรรสำหรับ 3 โครงการ ได้แก่ 

1. การติดตั้งผนังกั้นน้ำทะเลที่มีชีวิต 
2. การปลูกทุ่งหญ้าทะเล รวมถึงป่าสาหร่ายทะเล  
3. การจัดทำสำมะโนประชากรเพนกวิน และการประเมินที่อยู่อาศัยของแมวน้ำ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ มากกว่า 85% ของประชาชนในรัฐนิวเซาท์เวลส์ อาศัยอยู่ห่างจากชายฝั่งในระยะ 50 กิโลเมตร ส่งผลให้แนวชายฝั่งอ่าวซิดนีย์มากกว่า 50% เต็มไปด้วยโครงสร้างเมือง รวมถึงมีคนทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชายฝั่งมากกว่า 142,000 คน ระดับความหนาแน่นของเมืองจึงก่อให้เกิดทั้งความท้าทาย และการพึ่งพาระบบนิเวศทางทะเลชายฝั่งรัฐนิวเซาท์เวลส์
.
แผนริเริ่มการฟื้นฟูป่าสาหร่ายทะเลและประชากรม้าน้ำ ในอ่าวซิดนีย์ เป็นการดำเนินงานร่วมกับสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งซิดนีย์ สมาคมอนุรักษ์ทารองกาแห่งออสเตรเลีย และหน่วยงานบริการสัตว์ป่าและอุทยานแห่งชาติของรัฐนิวเซาท์เวลส์

ออสเตรเลียผุดแผนฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางทะเลอ่าวซิดนีย์ งบมากกว่า 200 ล้าน Credit ภาพ xinhua

ก่อนหน้านี้ ทางชายฝั่งตะวันตกของออสเตรเลีย ซึ่งอยู่คนละฝั่งกับซิดนี่ย์ เพิ่งพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจของวงการสิ่งแวดล้อมและ ธรรมชาติ เพราะมีการค้นพบ พืชเติบโตและกินอาณาเขตใหญ่ที่สุดในโลก โดยพืชชนิดนี้คือหญ้าทะเลขนาด 200 ตารางกิโลเมตร หรือราวๆ สนามฟุตบอล 20,000 สนาม ต่อๆกัน ซึ่งแผ่อาณาเขตยาว 180 กิโลเมตร ในบริเวณอ่าวชาร์คเบย์ Shark Bay  นอกชายฝั่งเมืองเพิร์ธ ทางตะวันตกของออสเตรเลีย ไปทางเหนือ 800 กิโลเมตร โดยหญ้าทะเล เติบโตที่กินพื้นที่ขนาดกว้างขวางแบบนี้ เกิดจากเมล็ดเพียงเมล็ดเดียว โดยมีจุดเริ่มต้น เมื่อ 4,500 ปีก่อนเลยทีเดียว

related