svasdssvasds

ส.อ.ท. แนะ ภาคเอกชน ปรับตัว มุ่งสู่ BCG MODEL และเตรียมรับมือ Climate change

ส.อ.ท. แนะ ภาคเอกชน ปรับตัว มุ่งสู่ BCG MODEL และเตรียมรับมือ Climate change

ส.อ.ท. เผย อุตสาหกรรมไทย ปี 2566 ท้าทายสูง จาก 7 ปัจจัยเสี่ยงของโลก ต้นทุนแพง-ดอกเบี้ยพุ่ง แนะ 7 ทางออก ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมนำอุตสาหกรรม และอยากให้ เอกชนมุ่งสู่ BCG MODEL และ ต้องเตรีนมการรับมือกับปัญหา Climate change ไว้ด้วย

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ระบุ ถึงทิศทางภาคอุตสาหกรรมไทย ปี 2566 ในวงเสวนา : 'ฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ 2023 รอดหรือร่วง' งาน Thailand Economic Outlook 2023 ซึ่งจัดโดย กรุงเทพธุรกิจ ว่า  อยากให้ภาคเอกชน ปรับตัว รับมือ 6 ด้าน ได้แก่ 

1. มุ่งสู่  BCG MODEL  หรือ  เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy)  , เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) , เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) 
2. เทคโนโลยีและนวัตกรรมนำอุตสาหกรรม 
3. การให้ความสำคัญกับ Supply chain security
4. การใช้พลังงานทดแทนเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรม
5.การพัฒนาทักษะด้านแรงงานที่จำเป็น 
6. การรับมือกับปัญหา Climate change

เพราะ 6 ด้านนี้ ถือเป็นการปรับตัวให้เข้ากับโลก และเทรนด์ของโลก ที่ตอนนี้ เศรษฐกิจและระบบต่างๆมุ่งสู่การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นด้านไหนก็ตาม รวมถึงด้านอุตสาหกรรมในประเทศ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  ยอมรับว่า เศรษฐกิจไทย กำลังอยู่บนความเสี่ยง จากสถานการณ์โลกที่ไม่แน่นอนและผันผวนสูง หลายปัจจัยภาพใหญ่ มีความคลุมเครือและซับซ้อน ขณะภาคอุตสาหกรรมไทย ยังถูกไล่ล่า จากการเปลี่ยนทางด้านดิจิทัลเทคโนโลยี หรือ ดิจิทัลดิสรัปชั่น อย่างรวดเร็วรุนแรง

เช่นเดียวกับ ภาพกำลังซื้อที่ถดถอย เพราะ ไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้างประชากร หลังจากวัยทำงานน้อยลง เด็กแรกเกิดเกิดใหม่ลดลงราว 3 แสนคน แต่กลับมีคนสูงวัยในระบบมากขึ้น นั่นกลายเป็นกับดักสำคัญ ที่อาจทำให้ประเทศไทยไม่สามารถหลุดพ้นจากคำว่า 'ประเทศกำลังพัฒนา' ได้ 

ทั้งนี้ จากปัจจัยดังกล่าว ส่งผลกระทบมายังแนวโน้มการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สะท้อนภาพการเติบโตต่ำที่ไม่ถึง 3% หลายปีติดต่อกัน

ส.อ.ท. แนะ ภาคเอกชน ปรับตัว มุ่งสู่  BCG MODEL และเตรียมรับมือ Climate change

อย่างไรก็ตาม เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ท้าทายสูงสุดในขณะนี้ และ ระยะข้างหน้า คือ ภาคอุตสาหกรรม กำลังเผชิญกับ PERFECT STROM อย่างเต็มตัว จากผลพ่วงของสงครามความขัดแย้งรัสเซียลยูเครน ได้แก่ 

1.เงินเฟ้อไทย เดือน สิงหาคม อยู่ที่ 7.86% สูงสุดในรอบ 14ปี 
2. การขาดแคลนวัตถุดิบ เช่น Chip อาหารสัตว์ ปุ๋ย และ สารเคมี
3. ต้นทุนค่าพลังงาน หลังจากค่าไฟฟ้า เพิ่มขึ้น 17% ,ราคาน้ำมันทำสถิติสูงสุดในรอบ 8 ปี ราคาก๊าซหุงต้น LPG ขึ้นเป็น 408 บาทต่อถัง เพิ่มขึ้น 28% 
4. ค่าแรงขั้นต่ำปรับขึ้น 5-8%
5. อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 16 ปี ทะลุ 38-39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ 
6. อัตราดอกเบี้ย ปรับขึ้นเป็น 1% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก 
7. ต้นทุนค่าขนส่ง เช่น ค่าระวางเรือ เดือน สิงหาคม อยู่ที่ 5,800 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ TEU เพิ่มขึ้น 45%


ทั้งหมด ถือเป็นความท้าทาย และกำลังฉุดรั้งขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสหกรรมไทย เมื่อเทียบกับ ต้นทุนที่ถูกกว่าของประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง เวียดนาม ซึ่งอาจทำให้ ต่างชาติเหลียวมองเวียดนามมากกว่าบ้านเรา 
.
เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประเมินว่า เศรษฐกิจโลกปี 2565 นั้น จะชะลอตัวลง จาก 6.1% เหลือ 3.2% ทั้งนี้ มาจากการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ และ หลายประเทศทั่วโลก จากผลกระทบอัตราเงินเฟ้อที่ยังสูง จากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ขณะแนวโน้มเศรษฐกิจไทย อ้างอิงคาดการณ์จากธนาคารโลก ประเมินว่า จีดีพีไทย ปี 2565 อยู่ที่ระดับ 3.1% ซึ่งถูกปรับเพิ่มขึ้นมา จากการบริโภค และ การท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวดีขึ้น 

ส.อ.ท. แนะ ภาคเอกชน ปรับตัว มุ่งสู่  BCG MODEL และเตรียมรับมือ Climate change

"วันนี้โลกกำลังอยู่บนความไม่แน่นอน และ ผันผวนสูง ขณะภาคอุตสาหรรม เจอ PERFECT STROM ค่าแรง ,เงินเฟ้อ ,อัตราแลกเปลี่ยน ,ขาดแคลนวัตถุดิบ ,อัตราดอกเบี้ย และ ต้นทุนแพง ความสามารถการแข่งขันตกจากอันดับที่ 28 มาอยู่ที่ 33 จะรอดหรือจะร่วง ? อยู่ที่เอกชนกับรัฐจะจับมือกันอย่างไร "
 

related