บางพื้นที่ของประเทศออสเตรเลีย ต้องเจอกับน้ำท่วมออสเตรเลียหนักที่สุด บางจุดเรียกได้ว่า หนักหนารุนแรงมากที่สุดในรอบ 100 ปีเลยทีเดียว
ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ดูจะส่งผลกระทบซัดทั่วโลก เพราะเริ่มต้นปี 2023 ไม่ทันไร เวลานี้ บางพื้นที่ของประเทศออสเตรเลีย ต้องเจอกับน้ำท่วมหนักที่สุด บางจุดเรียกได้ว่า หนักหนารุนแรงมากที่สุดในรอบ 100 ปีเลยทีเดียว
ประเทศออสเตรเลีย กำลังเผชิญกับเหตุน้ำท่วมรุนแรง โดย ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ ภูมิภาคคิมเบอร์ลี พื้นที่ที่อยู่ทางตะวันตกของออสเตรเลียซึ่งมีขนาดใหญ่พอๆ กับรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐ กำลังเผชิญวิกฤตน้ำท่วมออสเตรเลียครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 100 ปี ทำให้ชุมชนต่างๆ จำนวนมาก ตกอยู่ในสภาพใช้ชีวิตลำบาก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีรายงานว่า พายุหมุนไซโคลนเขตร้อนเอลลี ได้พัดเข้ามายังบริเวณนี้ จนทำให้เกิดฝนตกหนักมากและส่งผลกระทบต่อผู้คนในวงกว้าง โดยสตีเฟน ดอว์สัน รัฐมนตรีประจำกระทรวงการให้บริการฉุกเฉินบอกกับนักข่าวในเมืองเพิร์ทว่า นี่เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นกับคนในภูมิภาคคิมเบอร์ลีที่เรียกว่า 1 ใน 100 ปี หรือ one in 100 year และเป็นเหตุการณ์ที่หนักหนาสาหัสอย่างมาก
และเหตุการณ์น้ำท่วมออสเตรเลีย นำไปสู่การอพยพประชาชนหลายร้อยคน โดยวิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้ ที่คิมเบอร์ลี เมืองในรัฐเวสเทิร์น ออสเตรเลีย ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากพายุเอลลี ที่ก่อนหน้านี้ เป็นพายุหมุนเขตร้อน ซึ่งมาพร้อมกับฝนปริมาณมาก
เมืองฟิตซ์รอย ครอสซิ่ง เป็นเมืองที่มีประชากรประมาณ 1,300 คน หนึ่งในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายหนักที่สุดจาก น้ำท่วมออสเตรเลีย ครั้งนี้ ความช่วยเหลือถูกขนส่งทางเครื่องบินเท่านั้น เนื่องจากน้ำท่วม ซึ่งเจ้าหน้าที่บอกว่า ทำสถิติเลวร้ายที่สุดของรัฐ
ด้านเจ้าหน้าที่ป้องกันภัยฉุกเฉินของรัฐเวสเทิร์ต ออสเตรเลีย แถลงว่า เครื่องบินของกองทัพออสเตรเลีย ถูกใช้เพื่อให้ความช่วยเหลือชุมชนในพื้นที่น้ำท่วม และเฮลิคอปเตอร์ชีนุก ก็เข้าร่วมในการช่วยอพยพประชาชนที่ได้รับผลกระทบด้วย
โดยในช่วงปลายปีที่แล้ว ปี 2022 ออสเตรเลียก็เจอกับเหตุการณ์น้ำท่วม ผลพวงจากปัญหาสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง และ ปัญหา ปรากฏการณ์ลานีญา (La Niña) โดยอุณหภูมิบริเวณผิวน้ำทะเลบริเวณเส้นศูนย์สูตรในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกจะเย็นลงผิดปกติ เนื่องจากลมแรงมากกว่าปกติ จึงพัดเอากระแสน้ำทะเลที่อุ่นไปทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกมากขึ้น ทำให้อุณหภูมิผิวน้ำของฝั่งตะวันตกที่สูงกว่าฝั่งตะวันออกอยู่แล้วสูงขึ้นกว่าเดิม
ที่มา theguardian