svasdssvasds

จีนพบฟอสซิลกุ้ง สายพันธุ์ใหม่ อายุเก่าแก่ 518 ล้านปี เก่ากว่ายุคไดโนเสาร์

จีนพบฟอสซิลกุ้ง สายพันธุ์ใหม่ อายุเก่าแก่ 518 ล้านปี เก่ากว่ายุคไดโนเสาร์

นับเป็นความน่าตื่นตาตาใจสำหรับแวดวงวิทยาศาสตร์ เพราะนักวิทยาศาสตร์จีน พบฟอสซิล 'กุ้ง' สายพันธุ์ใหม่ อายุเก่าแก่ 518 ล้านปี ซึ่งอายุของฟอสซิลเหล่านี้เก่าแก่กว่ายุคไดโนเสาร์เสียอีก!

สำนักข่าวซินหัว  รายงานว่า มีผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ผ่านวารสารจีโอโลจิคอล โซไซตี (Geological Society) เมื่อเดือนธันวาคม 2022 มีการเปิดเผยว่า คณะนักบรรพชีวินวิทยาชาวจีนได้กำหนดสายพันธุ์ใหม่ของฟอสซิลกุ้งที่ขุดพบในมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งมีอายุย้อนไปนานถึง 518 ล้านปี ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาก่อนยุคไดโนเสาร์ ซึ่งมีอายุ 165 ล้านปี เสียอีก 

สถาบันธรณีวิทยาและบรรพชีวินวิทยาหนานจิง สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน ระบุว่า กุ้งสายพันธุ์ "อินโนเวทิโอคาริส เหมาเทียนซานเนนซิส" (Innovatiocaris maotianshanensis) เคยถูกเรียกว่า "อโนมาโลคาริส" (Anomalocaris) ซึ่งแปลว่ากุ้งผิดปกติ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายเรดิโอดอนต์ (Radiodont) หรือกลุ่มสัตว์ขาปล้องดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่ง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โดยฟอสซิลกุ้งชิ้นนี้ ถูกรวบรวมจากสัตว์ยุคแคมเบรียนตอนต้นของชั้นตะกอนเฉิงเจียงในภูเขาเหมาเทียนซาน

ทั้งนี้ เจิงฮั่น นักวิจัยร่วมจากสถาบันธรณีวิทยาฯ ระบุว่า ฟอสซิลกุ้งอายุ 518 ล้านปี ที่มีอายุยาวนานชิ้นนี้ มีลำตัวเพรียวยาว พร้อมขาและปีกเหงือกคล้ายใบพายสำหรับว่ายน้ำและหายใจ ก้ามหนามหนึ่งคู่ ตารวม (compound eye) ขนาดใหญ่บนหัว และมีปากเป็นแฉกอยู่ใต้หัว ซึ่งล้วนเป็นลักษณะที่เหมือนกับอโนมาโลคาริส อย่างไรก็ตาม ฟอสซิลกุ้งอายุ 518 ล้านปี ที่เป็นข่าวครั้งนี้ มีหางสองแฉกยาวเป็นพิเศษคู่หนึ่ง และรายละเอียดทางสัณฐานวิทยาของกรงเล็บหน้าที่แตกต่างจากอโนมาโลคาริสอย่างชัดเจน

จีนพบฟอสซิลกุ้ง สายพันธุ์ใหม่ อายุเก่าแก่ 518 ล้านปี เก่ากว่ายุคไดโนเสาร์อีก Credit ภาพ Xinhua

 

 

จีนพบฟอสซิลกุ้ง สายพันธุ์ใหม่ อายุเก่าแก่ 518 ล้านปี เก่ากว่ายุคไดโนเสาร์อีก Credit ภาพ Xinhua

เจิงซึ่ง เป็นผู้นำการวิจัยเผยว่าทีมวิจัยยังทำการวิเคราะห์วิวัฒนาการของสกุล ซึ่งบ่งชี้ว่ากุ้งสายพันธุ์นี้อยู่ใกล้กับจุดเริ่มต้นทางวิวัฒนาการของอโนมาโลคาริส พร้อมเสริมว่าการค้นพบฟอสซิลกุ้งอายุ 518 ล้านปี ยังให้เบาะแสสำคัญในการทำความเข้าใจวิวัฒนาการและนิเวศวิทยาของสัตว์จำพวก ยูอาร์โทรพอด (euarthropod) ในยุคแคมเบรียนตอนต้นอีกด้วย

การค้นพบครั้งนี้ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาฟอสซิล ซึ่งการศึกษาซากดึกดำบรรพ์ ศึกษาฟอสซิลช่วยให้เราทุกคนเรียนรู้ประวัติและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ซึ่งมีการสูญพันธุ์ และมีการเกิดขึ้นใหม่มาทดแทน รวมทั้งช่วยให้เราทราบประวัติความเป็นมาของโลกว่า มีเหตุการณ์ใด เกิดขึ้นในช่วงเวลาใด และมีความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมมากขึ้น 
 

related