นกเงือก ถือว่าเป็นสัตว์ที่บ่งบอกถึง สัญลักษณ์แห่งความรักและความซื่อสัตย์ เพราะการจับคู่ของนกเงือกนั้น เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความมั่นคง เพราะนกเงือก จะเป็นสัตว์ที่จับคู่ครั้งเดียวในชีวิต ได้รับการยกย่องว่าเป็นนกที่รักเดียวใจเดียว ซื่อสัตย์กับคู่ไปจนตาย นกเงือก เป็นตัวแทนแห่งรักตลอดชั่วอายุขัยของมัน
นกเงือก ตัวผู้จะเที่ยวเสาะหาโพรงรังให้ตัวเมียสำหรับกกไข่ เพราะนกเงือกนั้น ไม่ได้สร้างเองเหมือนนกตัวเล็กๆ นกเงือกจะใช้โพรงเดิมเป็นรังประมาณ 10 ปี จากนั้นก็จะเสาะหาโพรงรังใหม่ ทำให้ในผืนที่มีปัญหาการตัดไม้ จะส่งผลถึงการหาโพรงรังใหม่ๆของนกเงือกไปแบบอัตโนมัติ
นกเงือก คือ สัตว์ถือกำเนิดขึ้นมาไม่น้อยกว่า 45 ล้านปีและมีพฤติกรรมการเลือกกินผลไม้สุกและนำเมล็ดทิ้งไว้ในพื้นที่ต่างๆ นกเงือกจึงมีบทบาทสำคัญในการระบบนิเวศป่า ขยายความจากจุดนี้ นั่นเป็นเพราะ นกเงือกกินผลไม้สุกเป็นอาหารมากกว่า 300 ชนิด 100 สกุล 40 วงศ์ ทั้งผลไม้ขนาดเล็กและขนาดใหญ่อย่างเช่น ต้นมาง ตาเสือใหญ่ และค้อ นกเงือกจึงเป็นนักปลูกต้นไม้ที่สำคัญและปลูกได้ในป่าสูงๆ ที่คนเรายากจะปีนป่ายไปถึง และด้วยพฤติกรรมของนกเงือกบินหาอาหารไปทั่ว และกินผลไม้เข้าไปทั้งผลแล้วขย้อนเมล็ดออกมา
.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ในเวลาเดียวกัน นกเงือก ยังมีส่วนช่วยควบคุมประชากรสัตว์ขนาดเล็ก อาทิ เหล่า แมลงและหนูได้ด้วย ด้วยเหตุนี้นกเงือกจึงมีความอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่า และนกเงือกเป็นอีกหนึ่งตัวแปร ที่เป็นตัวบ่งบอกถึงความเจริญของผืนป่าด้วย
ในประเทศไทยมีนกเงือกทั้งหมด 13 ชนิด แต่น่าเสียดาย ที่ นกเงือก กำลังถูกคุกคามจากมนุษย์ที่ไล่ล่าหมายหัวพวกมันเพียงเพราะความเชื่อและค่านิยมในการนำหัวและโหนกของนกเงือกมาทำของขลังและเครื่องประดับ ทำให้หลายชนิดอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์
ในปี พ.ศ. 2547 มูลนิธิศึกษาวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งดำเนินการศึกษาวิจัยนกเงือกมานานกว่า 20 ปี จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันรักนกเงือก" เพื่อให้สังคมและประชาชนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์นกเงือกที่ใกล้สูญพันธุ์อยู่ทุกขณะ
13 กุมภาพันธ์ ในวันสำคัญนี้ จึงเป็นห้วงเวลา ควรจะเป็นการจุดประกาย ให้ เราต้องช่วยกันปกป้อง นกเงือก อีกหนึ่งสัญลักษณ์ แห่งรักแท้ นี้ไว้ เพราะความพยายามช่วยปกป้อง นกเงือก ตั้งแต่วันนี้ ...เพราะความสำเร็จต่างๆในโลกนี้ จะเกิดขึ้นจากความพยายามเล็กน้อย ซ้ำแล้วซ้ำเล่าในทุุกวัน
ที่มา dnp.go.th ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
เพิ่ม Spring News
ลงในหน้าจอหลักของคุณ