svasdssvasds

ภาคพลังงานปี 65 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีแนวโน้มที่ดี เพิ่มขึ้นแค่ 1.5%

ภาคพลังงานปี 65 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีแนวโน้มที่ดี เพิ่มขึ้นแค่ 1.5%

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เผยการปล่อยก๊าซ CO2 ภาคพลังงานปี 65 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 1.5% จากเศรษฐกิจประเทศ เริ่มปรับตัวดีขึ้น

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้พลังงาน ปี 2565   โดย พบว่า การปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานของประเทศไทย อยู่ที่ระดับ 247.7 ล้านตัน  CO2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยในภาคขนส่งและภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ มีการปล่อยก๊าซ CO2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน ในขณะที่ภาคการผลิตไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรมมีการปล่อยก๊าซ CO2 ลดลง ซึ่งสอดคล้องกับการใช้พลังงานของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ภายหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 คลี่คลายลง 

ทำให้เกิดความต้องการสินค้าและการเดินทางที่มากขึ้น อีกทั้งจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและบริการหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดฯ ในช่วงต้นปี 2565 และการประกาศยกเลิกมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ก็เป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดการพลังงานเพิ่มขึ้น

ภาคพลังงานปี 65 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีแนวโน้มที่ดี เพิ่มขึ้นแค่ 1.5%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ให้ความเห็นว่า  สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 พบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทยในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวร้อยละ 1.4 ซึ่งชะลอตัวลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.6 ในไตรมาสก่อน เมื่อรวมทั้งปี 2565 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.6 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปี 2564

 ทั้งนี้ ด้านการผลิต ในสาขาเกษตรกรรมและสาขาก่อสร้างกลับมาขยายตัว ส่วนในสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่ง ขายปลีก และการซ่อมแซมยานยนต์และจักรยานยนต์ รวมถึงสาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวในเกณฑ์ดี ในขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง

โดยปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลต่อการปล่อยก๊าซ CO2  จากการใช้พลังงาน ดังนี้  ภาคการขนส่ง มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2  อยู่ที่ 79.6 ล้านตัน CO2 เพิ่มขึ้นมากที่สุด อยู่ที่ร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2  อยู่ที่ 66.5  ล้านตัน CO2 ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.7 ภาคการผลิตไฟฟ้า มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2  อยู่ที่ 87.9 ล้านตัน CO2 ลดลงร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ ได้แก่ ภาคธุรกิจและครัวเรือน จะมาจากการใช้น้ำมันสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียว มีการปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ รวม 13.7 ล้านตัน CO2 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.4%

ภาคพลังงานปี 65 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีแนวโน้มที่ดี เพิ่มขึ้นแค่ 1.5%

ภาคพลังงานปี 65 ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีแนวโน้มที่ดี เพิ่มขึ้นแค่ 1.5%  
 

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)

วัฒนพงษ์ คุโรวาท เปิดเผยว่า สำหรับการปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานแยกรายชนิดเชื้อเพลิง  ในปี 2565 พบว่า การปล่อยก๊าซ CO2 จากน้ำมันสำเร็จรูปมีสัดส่วนการปล่อยสูงที่สุดอยู่ที่ 42 รองลงมาคือ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน/ลิกไนต์ มีสัดส่วนร้อยละ 30 และ 28 ตามลำดับ ทั้งนี้ การปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในปี 2565 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.2% ในขณะที่การปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์ และก๊าซธรรมชาติ ลดลงร้อยละ 9.0 และ 3.1 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับปริมาณการใช้ถ่านหิน/ลิกไนต์ และก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยในปี 2565 ที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน 

นายวัฒนพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากเปรียบเทียบการปล่อยก๊าซ CO2 ต่อการใช้พลังงานของประเทศไทยเทียบกับต่างประเทศ จากข้อมูลของ International Energy Agency (IEA) ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ในปี 2563 ประเทศไทยมีการปล่อยก๊าซ CO2 ต่อการใช้พลังงานเฉลี่ย อยู่ที่ 2.03 พันตัน CO2 ต่อการใช้พลังงาน 1 KTOE ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ภูมิภาคเอเชีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศจีน ซึ่งอยู่ที่ 2.29  2.28  2.11 และ 2.90 พันตัน CO2 ต่อการใช้พลังงาน 1 KTOE ตามลำดับ 

ประเทศไทยมีนโยบายด้านพลังงานที่คำนิงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นพลังงานสะอาดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงทำให้มีการปล่อยก๊าซ CO2  ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก ซึ่งจะช่วยทำให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการลดปลดปล่อยก๊าซ CO2 ตามเป้าหมายของการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศได้

related