svasdssvasds

เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินต์ มาตรการกระตุ้นสินค้าปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินต์ มาตรการกระตุ้นสินค้าปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม

จากการที่สหภาพยุโรปออกมาตรการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism หรือ CBAM) เพื่อกระตุ้นให้ประเทศผู้ส่งออกเร่งผลิตสินค้าปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินต์

เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินต์ เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นการผลิตสินค้าที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากจะช่วยเรื่องในเรื่องความสะดวกในการส่งออกแล้ว ยังช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทั้งทางตรงและทางอ้อมอีกด้วย

เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินต์ มาตรการกระตุ้นสินค้าปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ทางองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO เป็นผู้ให้บริการรับรองเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินต์ ทั้งในระดับผลิตภัณฑ์ องค์กร บุคคล และกิจกรรม การบังคับใช้มาตราการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดน ในช่วง 3 ปีแรก (ปี 2566-2568) จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน กำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้า 5 ประเภท ได้แก่ ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า และอลูมิเนียม  และเพิ่มเติมอีก 2 ประเภทคือ ไฮโดรเจน และสินค้าปลายน้ำบางรายการ อาทิ น็อตและสกรูที่ทำจากเหล็กและเหล็กกล้า

เครื่องหมาย Carbon Footprint ในผลิตภัณฑ์มี 3 ประเภท

1.เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Product) หรือ CFP คือเครื่องหมายที่ระบุปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาตลอดวัฎจักรของผลิตภัณฑ์ ทั้งจัดหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การใช้งาน รวมถึงการจัดการของสียหลังใช้งาน

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

2. เครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพรินต์หรือลดโลกร้อน (Carbon Footprint Reduction) หรือ CFR คือเครื่องหมายที่สื่อถึงผลิตภัณฑ์ผ่านการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ โดยมีหลักประเมิน Carbon Footprint และมีการบริหารจัดการการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเกณฑ์

3.เครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพรินต์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Carbon Footprint of Circle Economy Products) หรือ CE-CFP หมายถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทรัพยากรหมุนเวียน ปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าไปจนถึงการผลิตจากวัสดุใหม่ (Virgin Meterial)

โดยผู้นำเข้าสินค้าที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมไปยังตลาดอียูจะต้องซื้อและส่งมอบใบรับรอง CBAM ประกอบการนำเข้าด้วย (ราคาใบรับรอง อ้างอิงตามราคาซื้อขายใบอนุญาตปล่อยก๊าซเรือนกระจกในตลาดคาร์บอนของอียู ราคาเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2565 ประมาณ 85 ยูโรต่อ 1 ตันคาร์บอน) ซึ่งข้อมูลที่ต้องรายงาน ประกอบด้วย ปริมาณสินค้าทั้งหมด ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรงและทางอ้อมของสินค้าที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ของกลไก CBAM ทั้งนี้ ค่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้า (Embedded emissions) จะนำ Carbon Footprint มาใช้เป็นเครื่องมือในการประเมิน

 

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ