svasdssvasds

ชัชชาติย้ำ จะคุมเข้ม จับตรวจรถควันดำและไซต์ก่อสร้าง ต้นเหตุ PM 2.5

ชัชชาติย้ำ จะคุมเข้ม จับตรวจรถควันดำและไซต์ก่อสร้าง ต้นเหตุ PM 2.5

ฝุ่น PM 2.5 กลับมาแล้ว กทม.จะมีแผนรับมือแก้ไขอย่างไร สปริงนิวส์สัมภาษณ์ผู้ว่ากทม.ฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ว่ากทม.จะจัดเรื่องนี้อย่างไรบ้าง?

ฝุ่น PM 2.5 ได้เริ่มกลับมาทวงพื้นที่ปอดของคนไทยอีกครั้งแล้วในปีนี้ และก็ทำให้หลายคนเริ่มคัดจมูก โดยในวันนี้ (11 ม.ค. 2566) ผู้ว่ากทมฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้เดินทางไปร่วมปลูกต้นไม้ เนื่องในวันเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการฑูต ระหว่างคาซัคสถานและประเทศไทย ณ สวนเบญจกิตติ กรุงเทพมหานคร

ผู้ว่ากทม.ฯ ชัชาติ สิทธิพันธุ์ ปลูกป่าเชื่อมสัมพันธุ์ไทย-คาซัคสถาน จึงเป็นโอกาสอันดีที่สปริงนิวส์ได้สัมภาษณ์ ผู้ว่ากทม.ฯ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ถึงประเด็นการจัดการฝุ่น PM 2.5 ที่กำลังฟุ้งกระจายทั่วกรุง ว่ากทม. มีการวางแผนที่จะจัดการปัญหานี้อย่างไร นายชัชชาติกล่าวว่า

ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา ทางกทม.ได้เดินหน้ามาตลอดในการลุยจับรถควันดำ รวมไปถึงแพลนต์ปูต หรือไซต์ก่อสร้าง และจุดเผาชีวมวล แต่ว่าการเผาชีวมวลหรือการเผาตอซังข้าวทางการเกษตรเราจะไม่ค่อยเห็นในเขตของกรุงเทพมหานครแล้ว แต่ก็ยังมีในบริเวณหนองจอกและมีนบุรี ซึ่งเราก็เข้าไปคุยกับเกษตรกรแล้ว ดังนั้น หมายความว่า เราจะเน้นการคุมเข้มที่แหล่งกำเนิดของ PM 2.5 มากกว่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รถที่ปล่อยควันดำ แพลนต์ปูน โรงงานอุตสาหกรรม สถานที่เหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งก่อกำเนิดฝุ่น PM 2.5 ทั้งสิ้น แต่เราก็พยายามรองรับประชาชน เรามีแอปพลิเคชัน AirBKK ซึ่งสามารถบอกได้เลยว่าตอนนี้เราอยู่ที่ไหน ตาม GPS ค่าฝุ่นตรงนี้เป็นยังไง อย่างน้อยประชาชนสามารถเตรียมตัวป้องกันได้

สภาพอากาศก็สำคัญเหมือนกัน อย่างวันนี้สภาพอากาศปิด ฝุ่นจะไม่ได้เพิ่มมากขึ้น แต่ว่าปริมาณอากาศเปลี่ยน (หรือก็คือลมนิ่ง) เพราะฉะนั้นฝุ่นจะระบายออกจากสถานที่ไม่ได้ ถ้าเกิดอากาศยกตัวขึ้น ปริมาตรมากขึ้น มีลมพัด ฝุ่นก็จะเจือจางออกจากพื้นที่ได้ ดังนั้นสภาพอากาศก็สำคัญ

วิธีการป้องกันสำหรับประชาชนก็คือ ดูตัวแอปเหล่านี้นี่แหละ ถ้าเกิดฝุ่นเยอะ ขั้นแรกก็สวมหน้ากาก หน้ากากกันโควิดนี่แหละ อย่างน้อยก็ช่วยกรองได้บางส่วน จากที่กทม.วัดค่าได้ในปัจจุบันสูงสุดอยู่ที่ 45-50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งก็เป็นภาวะสีส้ม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ควรงดออกกำลังกายกลางแจ้งด้วย

ผู้ว่ากทม.ฯ ชัชาติ สิทธิพันธุ์ ปลูกป่าเชื่อมสัมพันธุ์ไทย-คาซัคสถาน

 “ผมว่าจริงๆแล้วเราต้องช่วยกันในหลายมิติ กรมควบคุมมลพิษเองก็พยายามดูเรื่องการกำจัดต้นตอ มันก็มี 2 มิติคือเรื่องต้นตอกับสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก็เป็นตัวสำคัญเลยที่ทำให้ค่าฝุ่นมันถูกกักอยู่ในกรุงเทพมหานคร มันดีขึ้นนะ ถ้าไปดูการคาดการณ์ มันมีการคาดการณ์ให้ด้วยนะ ว่า 7 วันต่อจากนี้จะเป็นยังไง 24 ชั่วโมงเป็นยังไง ทำให้เราเตรียมตัวรับมือได้ดีขึ้น”

ในปี 2566 นี้มีนโยบายไหนด้านสิ่งแวดล้อมที่อยากเน้นย้ำบ้าง?

ผมจะเช็กการแยกขยะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น พื้นที่สีเขียวต้องลุยต่ออยู่แล้ว การเพิ่มสวนสาธารณะให้ดีขึ้น คงต้องดูเรื่องการลดคาร์บอน การปล่อยคาร์บอน ซึ่งตรงนี้กทม.อาจต้องเป็นตัวนำร่อง ที่อาจต้องติดพวกโซลาร์เซลล์ให้มากขึ้น ให้ทางการไฟฟ้านครหลวงประเมิน ถ้าเกิดมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์เข้าไปจะมีการดำเนินการอย่างไร ลดการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานฟอสซิล แล้วใช้พลังงานหมุนเวียนให้มากขึ้น เราจะเน้นในเขตกทม.เป็นหลักก่อน ตามโรงเรียน ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ให้มีการใช้ไฟฟ้าลดลง สนับสนุนการใช้รถอีวี (EV) ในกรุงเทพให้มากขึ้น

related