svasdssvasds

จับตา ! ภัยแล้งปี’66 หนึ่งในโจทย์ใหญ่ โจทย์หิน ที่รอรัฐบาลใหม่อยู่ !

จับตา ! ภัยแล้งปี’66 หนึ่งในโจทย์ใหญ่ โจทย์หิน ที่รอรัฐบาลใหม่อยู่ !

อีกหนึ่งปัญหาเร่งด่วน ! ที่ไม่สามารถมองข้ามได้เลย นอกจากปัญหาปากท้อง และเศรษฐกิจ แล้ว นั่นคือ ปัญหาภัยแล้ง ที่มีการคาดการณ์กันว่าปี2566 ไทยมีโอกาสเจอศึกหนักที่จะเจอกับปรากฏการณ์เอลนีโญ นี่คือโจทย์ใหญ่ที่รอรัฐบาลใหม่อยู่ !

มีการคาดการณ์กันว่าปี 2566 ไทยเสี่ยงจะเจอปรากฏการณ์เอลนีโญจะทำให้หลายพื้นที่ หลายจังหวัดเสี่ยงที่จะประสบปัญหาภัยแล้ง ที่จะกระทบต่อน้ำอุปโภค บริโภค น้ำเพื่อการเกษตร กระทบต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งจากข้อมูลก่อนหน้านี้จะเห็นได้ว่าภัยแล้ง คือ ตัวฉุดผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือGDP  อย่างเช่น สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) กล่าวว่าปี 2563 ออกมาปรับลดประมาณการการเติบโตเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 2563 มาอยู่ที่ 1.5-2.5% หนึ่งในสาเหตุหลัก คือ ภัยแล้ง ทำปริมาณน้ำปี 2563 ลดลง 34% จากปี 2562 ซึ่งจะส่งผลให้ GDP ภาคเกษตรปรับติดลบ 5.2% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ในส่วนของปี2566 แม้ว่าช่วงนี้เข้าสู่ฤดูฝนแล้ว แต่…หลายภาคส่วนมีความกังวลอย่างมาก ว่าภัยแล้งจะรุนแรง ตามที่คาดการณ์กันไว้ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยนายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า กกร.มีความกังวลต่อความเสี่ยงภัยแล้งที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมและเกษตรกรรมที่สำคัญของประเทศไทย

จับตาภัยแล้งปี2566

อย่างไรก็ตามได้มีการจัดทำหนังสือถึงรัฐบาลไปแล้วเพื่อขอให้พิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนรับมือสถานการณ์ภัยแล้งระยะเร่งด่วน 3 ปี และระยะยาว เพื่อเร่งวางมาตรการรับมือภัยแล้งและเร่งรัดโครงการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำภาคตะวันออกให้แล้วเสร็จตามแผน

ทั้งนี้มองว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญมีโอกาสเกิดขึ้นในช่วงเดือน ก.ค.66 และอาจรุนแรงติดต่อกันมากถึง 3-5 ปี โดยปรากฏการณ์เอลนีโญ่ในปีนี้จะทำให้เกิดคลื่นความร้อน และภัยแล้งเป็นบริเวณกว้างในหลายจังหวัด โดยเฉพาะปริมาณน้ำฝนที่คาดว่าจะมีปริมาณลดลงและทำให้ปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำในภาคตะวันออกไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำของทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรมและเกษตร ซึ่งจะทำให้ผลผลิตในปีนี้ลดลงและราคาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น

อย่างไรก็ตามได้มีการจัดทำหนังสือถึงรัฐบาลไปแล้วเพื่อขอให้พิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนรับมือสถานการณ์ภัยแล้งระยะเร่งด่วน 3 ปี และระยะยาว เพื่อเร่งวางมาตรการรับมือภัยแล้งและเร่งรัดโครงการพัฒนาแหล่งกักเก็บน้ำภาคตะวันออกให้แล้วเสร็จตามแผน

ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าข้าวนาปรังปีนี้ผลผลิตจะอยู่ที่ 7.6 ล้านตัน สูงกว่าปีก่อน อยู่ที่ 23.4% ส่วนข้าวนาปีคาดว่าจะมีผลผลผลิตอยู่ที่ 25.1 - 25.6 ล้านตัน  ลดลงจากปีก่อนถึง-5.9% ถึง -4.1% แต่เมื่อรวมทั้งข้าวนาปรังและนาปีคาดว่าผลผลิตจะอยู่ที่ -33.2 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน อยู่ที่ -0.6% ถึง 0.9%  ซึ่งเป็นผลจากปรากฏการณ์เอลนีโญ

ด้าน นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวในงานสัมมนา“EARTH JUMP 2023 : New Frontier of Growth” ที่ผ่านมาว่า ในช่วงปี2564 -2565 ประเทศไทยเจอลานีญา ทั้งน้ำท่วม ฝนเยอะ ในหลายพื้นที่กระทบต่อภาคการเกษตร กระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน แต่…มันกำลังจะผ่านไป และเข้าสู่เจอปรากฏการณ์เอลนีโญ ภัยแล้งมาเยือนไทยตั้งแต่ปี 2566 -2568 นับว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องทำการบ้านอย่างหนักหาทางรับมือภัยแล้ง

นับได้ว่าปัญหาภัยแล้งที่แม้ว่ายังไม่ได้เกิดขึ้นในตอนนี้ แต่….ในอนาคตมีโอกาสมากๆที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 นี้ ถือได้ว่าฝากการบ้านรอรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาแก้ไขปัญหา เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งโจทย์ใหญ่ โจทย์หิน ที่รอรัฐบาลใหม่อยู่ ! นอกจากปัญหาปากท้อง และเศรษฐกิจ ของประชาชนแล้ว ปัญหาภัยแล้งก็มีความสำคัญเช่นกัน !

 

 

 

related