svasdssvasds

ความเสียหายโลกร้อนใครต้องจ่าย? ประเทศร่ำรวยต้องชดเชย? ไทยต้องทำอย่างไร?

ความเสียหายโลกร้อนใครต้องจ่าย? ประเทศร่ำรวยต้องชดเชย? ไทยต้องทำอย่างไร?

ภายในปี 2028 โลกของเราจะร้อนเป็นไฟจนผู้คนทนอยู่ไม่ไหว ปัญหาจะแก้ได้ทุกประเทศต้องร่วมมือกัน แต่ประเทศร่ำรวยจะใช้เงินแก้ปัญหาอย่างเดียว?

ปัจจุบันปัญหาโลกร้อนนั้นเป็นปัญหาที่ไม่ค่อยอยู่ในกระแสความสนใจหลักของคนในสังคม หากเทียบกับข่าวสารอื่นๆที่ดูเหมือนอยู่รอบตัวมากกว่า แต่ที่จริงแล้วก๊าซเรือนกระจกนั้นก็เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของเราอย่างมาก

เช่น ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากน้ำแข็งที่กำลังละลาย หรือจะเป็นเรื่องอุณหภูมิทั่วโลกที่กำลังสูงขึ้นเช่นกัน ก๊าซเรือนกระจกที่ถูกปล่อยออกมามหาศาลนั้นมีความเสี่ยงให้เกิดสภาพอากาศรุนแรง เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง และน้ำท่วม โดยส่วนใหญ่ปัญหาภาวะโลกร้อนจะส่งผลต่อประเทศที่กำลังพัฒนา

ความเสียหายโลกร้อนใครต้องจ่าย? ประเทศร่ำรวยต้องชดเชย? ไทยต้องทำอย่างไร?

ประเทศร่ำรวยคืออะไร? ประเทศร่ำรวยวัดจากอะไร?

ประเทศร่ำรวย คือ ประเทศที่รวยทรัพยากร รวย GDP ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมากออกมา ซึ่งประเทศร่ำรวยส่วนใหญ่จะอยู่ในแถบยุโรปตะวันตก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย แคนาดา ญี่ปุ่น

นิยามประเทศร่ำรวยของ UN คือ ประเทศพัฒนาแล้ว มีทั้งหมด 23 ประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี สหราชอาณาจักร แคนาดา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เบลเยียม กรีซ ออสเตรีย สวีเดน เดนมาร์ก ประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นร่วมกันรับผิดชอบการปล่อยคาร์บอนครึ่งหนึ่ง ประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาอีกกว่า 150 ประเทศ ต้องร่วมกันรับผิดชอบคาร์บอนครึ่งที่เหลือนั่นเอง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ค่าชดเชยโลกร้อนคืออะไร?

ค่าชดเชยนี้ คือ การจัดตั้งกองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหาย (Loss and Damage Fund) เกิดขึ้นเพื่อเป็นการระดมทุนจากประเทศที่ร่ำรวยให้ประเทศขนาดเล็กและทำให้เกิดความยุติธรรมในทุกๆฝ่าย

ค่าชดเชยเปรียบเป็นเหมือนข้อเรียกร้องของประเทศที่กำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนาถูกผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน โดยเฉพาะประเทศหมู่เกาะที่จะได้รับผลกระทบค่อนข้างหนัก เนื่องจากประเทศเหล่านี้ได้เสียสละ และพยายามปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนน้อยก็ควรมีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินกองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหาย

ความเสียหายโลกร้อนใครต้องจ่าย? ประเทศร่ำรวยต้องชดเชย? ไทยต้องทำอย่างไร? อ่านดูแล้วเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แต่คุณรู้หรือไม่ ? ประเทศไทยของเราในปี 2019 ได้ปล่อย CO2 ปริมาณ 289.5 MtCO2 (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) โดยในช่วง 60 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มปีละ 7.43% และไทยอยู่ลำดับที่ 19 ตามข้อมูลของ Thailand’s BUR4

ทุกวันนี้ประเทศไทยมีจุดยืนหลัก 4 ข้อ คือ

  1. สนับสนุนการเจรจาเพื่อประโยชน์ร่วมกันของประชาคมโลก
  2. คำนึงถึงผลประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับอย่างยั่งยืน
  3. คำนึงถึงหลักความเป็นธรรม (Equity) และหลักความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่าง และขีดความสามารถของแต่ละภาคี (CBDR-RC)
  4. ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องแสดงบทบาทผู้นำในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ท้ายที่สุดแล้วในตอนนี้เราก็ยังไม่สามารถหาบทสรุปได้ว่า กองทุนชดเชยความสูญเสียและเสียหาย (Loss and Damage Fund) นั้นจะมีมูลค่าเท่าไหร่หรือประเทศใดบ้างที่จะได้รับเงินชดเชย แต่ทั่วโลกก็ต้องร่วมมือกันลดปัญหาโลกร้อนไม่เพียงแต่ประเทศที่ร่ำรวยที่จะช่วยแต่ประเทศขนาดเล็กก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะทำให้โลกของเรานั้นมีอายุยืนนานขึ้น เพื่อนๆมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ลองมาแชร์กันได้เลยนะ

ที่มาข้อมูล

The New York Time

The Guardian

World Bank

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

related