svasdssvasds

"เอลนีโญ” ปัจจัยฉุดเศรษฐกิจไทยปี’66 แนวโน้มลากยาวถึงปีหน้า

"เอลนีโญ” ปัจจัยฉุดเศรษฐกิจไทยปี’66 แนวโน้มลากยาวถึงปีหน้า

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานข้อมูลภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2566 และแนวโน้มปี 2566 ซึ่งได้มีการแจ้งว่า "เอลนีโญ" จะเป็นหนึ่งในข้อจำกัดและปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยในปีนี้ และคาดว่าจะส่งผลกระทบยาวไปถึงปี 2567

อีกหนึ่งปัจจัยที่จะฉุดเศรษฐกิจไทยในปี2566 คือ เอลนีโญ หรือปรากฎการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงจากปริมาณฝนของประเทศไทยมีแนวโน้มว่าจะต่ำกว่าปกติ โดยเฉพาะฤดูร้อนและต้นฤดูฝน ในขณะที่อุณหภูมิของอากาศจะสูงกว่าปกติ  โดยปีนี้หลายฝ่ายออกมาจับตาอย่างมากว่าภัยแล้ง และเอลนีโญ

ทั้งนี้สศช. อ้างอิงข้อมูลจาก National eather Service; Climate Prediction Centre (NOAA) ที่ได้คาดการณ์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ ENSO หรือ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรและความผัน แปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ มีโอกาส 62% ที่จะเข้าสู่สภาวะเอลนีโญ ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 ถึงเดือนกรกฎาคม 2566 ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงเดือนธันวาคม 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ในขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าประเทศไทยจะมีปริมาณน้ำฝนต่ำกว่าค่าปกติประมาณ5% (ค่าปกติ 196.9 มิลลิเมตร) และจะมีอุณหภูมิสูงกว่าค่าปกติ โดยคาดว่าจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 25 - 34 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 28.6 องศาเซลเซียส) ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 ถึงเดือนกรกฎาคม 2566

ย้อนรอยเอลนีโญ กระทบเศรษฐกิจไทยเพียงใด

อย่างไรก็ตามหากจะย้อนดูว่าภัยแล้ง เอลนีโญ ว่าที่ผ่านมากระทบเศรษฐกิจเพียงใด โดยที่ผ่านประเทศไทยเคยเผชิญกับปัญหาภัยแล้งเนื่องจากสภาวะเอลนีโญที่รุนแรงในปี2558 และปี2562 ที่มีสภาวะเอลนีโญ ครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นช่วงที่ปริมาณฝนสะสมน้อยและอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติเกือบทุกเดือนขณะเดียวกันปริมาณน้ำใช้ได้จริงของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ภาคเกษตรอย่างรุนแรง จนทำให้ในปี 2558 และ ปี 2562 GDP ภาคเกษตรลดลง 6.5% และ 1% ตามลำดับ

 

แนะหาทางรับมือก่อนจะสายเกินแก้

โดยสศช. แนะนำว่า ควรเตรียมความพร้อมโดยการเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และดำเนินมาตรการบริหารจัดการเพื่อรองรับสถานการณ์อย่างเหมาะสมและทันท่วงที โดยเฉพาะแนวทางการจัดสรรทรัพยากรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน การหาแหล่งน้ำสำรอง และการเตรียมความพร้อมของเครื่องจักรให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน ควบคู่ไปกับการดูแลผลผลิตภาคเกษตรที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตและคุณภาพสินค้า จนทำให้รายได้เกษตรลดลง รวมทั้งการให้ความสำคัญกับปัญหาต้นทุนวัตถุดิบทางการเกษตรที่ยังอยู่ในระดับสูง

นอกจากนี้สศช. ยังแนะนำประเด็นในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหาภาคในช่วงที่เหลือของปี 2566 ควรให้ความสำคัญกับการดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดยให้ความสำคัญกับการเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาดในช่วงฤดูเพาะปลูก2566/2567 ควบคู่ไปกับการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการบรรเทาผลกระทบจากปัญหาต้นทุนวัตถุดิบทางการเกษตรที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เกษตรกรและวิสาหกิจชุมชนสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพได้ด้วยตนเองและลดการพึ่งพิงการนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศ

related