svasdssvasds

สายไปแล้ว! ไม่เกิน 3 ปี ธารน้ำแข็งเขตร้อนอายุ 12,000 ปีในอินโดนีเซียจะหายไป

สายไปแล้ว! ไม่เกิน 3 ปี ธารน้ำแข็งเขตร้อนอายุ 12,000 ปีในอินโดนีเซียจะหายไป

เอลนีโญทำกระทบครั้งใหญ่! นักวิทย์คาดการณ์ ธารน้ำแข็งเขตร้อนอายุ 12,000 ปีในอินโดนีเซียกำลังละลายหายไปจนหมด เพราะเอลนีโญ สายไปแล้วที่จะเร่งแก้

“ตอนนี้เรากำลังบันทึกเหตุการณ์ครั้งประวัติศาสตร์ “การสูญพันธุ์ของธารน้ำแข็งโลก” และเราจะต้องบอกเล่าให้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไปว่า โลกเคยมีธารน้ำแข็ง” โดนัลดด์ดี ผู้ประสานงานแผนกวิจัยสภาพภูมิอากาศของหน่วยงาน BMKG กล่าว

ธารน้ำแข็งที่เกิดขึ้นในพื้นที่เขตร้อนถือว่าเป็นสถานที่ที่หายากมาก ๆ เพราะอุณหภูมิที่สูงกว่าจึงทำให้เกิดธารน้ำแข็งยาก แต่อย่างไรก็ตาม ธารน้ำแข็งเขตร้อนที่สำคัญในอินโดนีเซียกำลังหายไปแล้ว ซึ่งนักวิทย์คาดว่าไม่เกิน 3 ปีต่อจากนี้ หรือไม่เกินปี 2026 เนื่องจากมันกำลังละลายอย่างรวดเร็ว เพราะเอลนีโญ

สายไปแล้ว! ไม่เกิน 3 ปี ธารน้ำแข็งเขตร้อนอายุ 12,000 ปีในอินโดนีเซียจะหายไป

ปรากฎการณ์เอลนีโญทำให้ฤดูแล้งยาวนานมากขึ้นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซีย เป็นที่ตั้งของป่าฝนขนาดใหญ่ 1 ใน 3 ของโลกรองจากบราซิลและคองโก และเอลนีโญคาดว่าจะรุนแรงยาวไปจนถึงเดือนตุลาคม เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดไฟป่าและคุกคามแหล่งน้ำสะอาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

BMKG เตือนว่าปรากฎการณ์สภาพอากาศในมหาสมุทรแปซิฟิกอาจทำให้ฤดูแล้งปีนี้รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อธารน้ำแข็งอายุ 12,000 ปีของอินโดนีเซีย

อุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นส่งผลให้ธารน้ำแข็งเขตร้อนละลาย หนึ่งในนั้นคือ Eternity Glacier ที่ตั้งอยู่ในหุบเขา Javawijaya ทางตะวันออกของเกาะปาปัว ที่มีอายุ 12,000 ปี

โดยธารน้ำแข็งได้บางลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยได้เพิ่มขึ้นเป็น 8 เมตรในปี 2021 จาก 32 เมตร ในปี 2010 ในขณะที่พื้นที่ทั้งหมดลดลงเหลือ 0.23 ตารางกิโลเมตรในปี 2022 จาก 2.4 ตารางกิโลเมตร ในปี 2000

ธารน้ำแข็ง Eternity Glacier เป็นหนึ่งในธารน้ำแข็วงเขตร้อนไม่กี่แห่งที่ยังเหลืออยู่บนโลกใบนี้ ได้แก่ พีรามิดคาร์สเตนซ์สูง 4,884 เมตร, ธารน้ำแข็ง East Northwall Firn ตะวันออก สูง 4,700 เมตร ในเทือกเขา Jayawijaya ภาคตะวันออกของปาปัว นอกจากนี้ยังมี เทือกเขาแอนดีสของอเมริกาใต้ และภูเขาคีรีมันจาโร (Kilimanjaro) ภูเขาเคนยา และ Rwenzoryในแอฟริกา

คีรีมันจาโร ในแอฟริกาใต้ Via Getty Image

อินโดนีเซียเป็นผู้ส่งออกถ่านหินรายใหญ่ที่สุดของโลก และตั้งเป้าที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2060 โดยพลังงานถ่านหินคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของแหล่งพลังงานทั้งหมดภายในประเทศ

และปีที่แล้ว อินโดนีเซียกำหนดเส้นตายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจดให้ได้ 31.89% ด้วยตัวเองภายในปี 2030 หรือ 43.2% จากการสนับสนุนจากนานาชาติ

อย่างไรก็ตาม ธารน้ำแข็งในเขตร้อนมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นพิเศษ โดยสามารถอยู่รอดได้เพียงเพราะอยู่บนพื้นที่ที่สูงเท่านั้น นักวิจัยเผยว่า ก่อนหน้านี้เคยมีน้ำฝนตกลงมาบ้างเหมือนกับหิมะ แต่บัดนี้กลับตกลงมามากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งก็ได้ไปกระตุ้นในน้ำแข็งละลายเร็วขึ้น

ที่มาข้อมูล

Reuters

The Guardian

related