svasdssvasds

น้ำแข็งขั้วโลกใต้หายไป 2.6 ล้าน ตร.กม. พื้นที่ครึ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

น้ำแข็งขั้วโลกใต้หายไป 2.6 ล้าน ตร.กม. พื้นที่ครึ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หน่วยงานด้านชั้นบรรยากาศและมหาสมุทรศาสตร์ รายงานว่าน้ำแข็งในขั้วโลกใต้หายไปมากจนน่าตกใจถึง 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร เทียบเท่าพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หายไปกว่าครึ่ง นักวิทยาศาสตร์กังวลว่านี่อาจเป็นสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รุนแรงขึ้น

รายงานจาก National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) หรือหน่วยงานด้านชั้นบรรยากาศและมหาสมุทรศาสตร์ เผยว่าเมื่อเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาน้ำแข็งในขั้วโลกใต้มีปริมาณขอบเขตต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยน้ำแข็งในมหาสมุทรแอนตาร์กติกาหายไปมากกว่า 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร หรือพื้นที่มากกว่าครึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Cr. NOAA Climate.gov

NOAA เผยว่าขอบเขตของน้ำแข็งในทะเลแอนตาร์กติกาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปี 1981-2010  พบว่าสูญเสียพื้นที่น้ำแข็งไป 1 ล้านตารางไมล์ หรือ 2.6 ล้านตารางกิโลเมตร ปรากฎการณ์นี้ถือว่าผิดปกติอย่างมาก เนื่องจากช่วงนี้ทวีปแอนตาร์กติกาเป็นฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่ควรจะมีการสะสมของน้ำแข็งให้มากขึ้น แต่กลายเป็นว่าปริมาณน้ำแข็งมันหายไปอย่างน่าตกใจ

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

โดยปกติแล้วน้ำแข็งจะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางไมล์ หรือ 11.7 ตร.กม. และช่วงนี้จะเริ่มขยายตัวจนถึงขีดสุดที่ 7.1 ล้านตารางไมล์ (18.4 ล้าน ตร.กม.) ในช่วงกลางเดือนกันยายน ซึ่งตอนนี้มันกลับตรงข้ามปริมาณน้ำแข็งหายไปมากที่สุดเป็นประวัติการณ์

นักวิทยาศาสตร์กังวลว่าจากพฤติกรรมอันไม่ปกติของน้ำแข็งในแอนตาร์กติก การสูญเสียน้ำแข็งในขั้วโลกใต้อย่างรวดเร็ว อาจส่งผลกระทบรุนแรงต่อลักษณะภูมิประเทศของทวีปแอนตาร์กติกา ระบบนิเวศบริเวณขั้วโลกใต้ รวมถึงส่งผลกระทบกับ Climate Change ที่รุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษากันให้มากขึ้น เนื่องจากขั้วโลกใต้มีความซับซ้อน ไม่เหมือนแถบอาร์กติกหรือขั้วโลกเหนือ ซึ่งการที่ทวีปแอนตาร์กติกาอยู่ห่างไกลจึงทำให้อาจยังไม่มีการศึกษาและเข้าพื้นที่นั้นมากเท่าควร    

 

ที่มา : Live Science  / Discover Magazine

 

related