svasdssvasds

โลกร้อนทำแฮตทริก อุณหภูมิสูงขึ้น อากาศร้อนสุดติดกัน 3 เดือนรวด มิ.ย - ส.ค.

โลกร้อนทำแฮตทริก อุณหภูมิสูงขึ้น อากาศร้อนสุดติดกัน 3 เดือนรวด มิ.ย - ส.ค.

ปัจจุบันภาวะโลกร้อนกำลังทวีความรุนแรงขึ้น อุณหภูมิโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยล่าสุดเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส สร้างสถิติใหม่เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ และยังทำลายสถิติใหม่แฮตทริกโลกร้อน 3 เดือนติดต่อกัน

จากข้อมูลเก็บสถิติและข้อมูลเผยข้อมูลที่ทำให้เห็นว่าโลกร้อนขึ้น โดยเดือนสิงหาคมที่ผ่านมามีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส เทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยก่อนยุคอุตสาหกรรมระหว่างปี ค.ศ. 1850 - 1900 ซึ่งเป็นระดับเดียวกับที่ 196 ประเทศทั่วโลกร่วมลงนามในสนธิสัญญากรุงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกเมื่อปี 2015 เพื่อร่วมกันจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกไม่ให้สูงขึ้น

โลกร้อนทำแฮตทริก อุณหภูมิสูงขึ้น อากาศร้อนสุดติดกัน 3 เดือนรวด มิ.ย - ส.ค.

ย้อนกลับไปช่วงสองเดือนก่อนหน้านี้ ข้อมูลวิเคราะห์สภาพภูมิอากาศโลกในเดือนกรกฎาคม 2566 โดยสถาบันวิจัยภูมิอากาศชั้นนำทั่วโลกระบุชัดว่าผลพวงจากสภาวะโลกร้อนที่กำลังรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เดือนกรกฎาคมเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุดเท่าที่เคยมีการตรวจวัดมา ตามเดือนมิถุนายนไปติดๆ ที่ได้ทำสถิติอากาศร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ไปก่อนหน้านี้

โดยการวิเคราะห์ของสภาพภูมิอากาศขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก และ European Union’s Copernicus Climate Change Service เผยว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในช่วง 23 วันแรกของเดือนกรกฎาคม ได้พุ่งสูงถึง 16.95 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อนในรอบกว่า 80 ปี นับตั้งแต่มีการเก็บสถิติอุณหภูมิ และล่าสุดอุณหภูมิโลกในเดือนสิงหาคม 2023 มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส สร้างสถิติใหม่ทำแฮตทริกโลกร้อนติดกัน 3 เดือนรวด

Cr. Berkeley Earth

ช่วงเวลาสามเดือนระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคมของปีนี้ อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ระดับ 16.8 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าค่ามัธยฐานราว 0.66 องศาเซลเซียส ทำแฮตทริกโลกร้อนติดกัน 3 เดือนรวด ซึ่งทั้งอุณหภูมิมหาสมุทรและอุณหภูมิพื้นโลกต่างสร้างสถิติใหม่ในเดือนสิงหาคมนี้เช่นกัน

โดยอุณหภูมิสูงขึ้นเกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งแอตแลนติกเหนือ, แปซิฟิกตะวันออก, ตอนเหนือของอเมริกาใต้, อเมริกากลาง, บางส่วนของแอฟริกา, ตะวันออกกลาง, ญี่ปุ่น และบางพื้นที่ของอินเดีย โดยในเดือนสิงหาคมเกิดความชื้นมากกว่าปกติในพื้นที่ขนาดใหญ่ทางตอนกลางของยุโรปและแถบสแกนดิเนเวียทำให้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ขณะที่ฝรั่งเศส กรีซ อิตาลีและโปรตุเกส กำลังเผชิญกับความแห้งแล้งและไฟป่า

 

ที่มา : VOA Thai / Berkeley Earth

ภาพ : pixabay

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :