svasdssvasds

บ้านแสนตอ แหล่ง 'เลี้ยงจิ้งหรีด' ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้

บ้านแสนตอ แหล่ง 'เลี้ยงจิ้งหรีด' ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากจิ้งหรีด เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทย โดยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงจิ้งหรีดบ้านแสนตอ แหล่งผลิตจิ้งหรีดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ใช้เทคโนโลยีพลังงาน อย่าง พลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยลดต้นทุนและสร้างรายได้ให้ชุมชน

จิ้งหรีด จัดเป็นแมลงเศรษฐกิจตัวใหม่ที่สร้างรายได้แก่ประเทศและเกษตรกรของไทยในระยะยาว เนื่องจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO: Food and Agriculture Organization) ได้จัดให้แมลงเป็นแหล่งอาหารในอนาคตของโลก

ปัจจุบันในภาพรวมของประเทศไทย มีการส่งออกจิ้งหรีดทั้งในรูปแบบจิ้งหรีดผง จิ้งหรีดแปรรูป และจิ้งหรีดแช่แข็ง โดยวิสาหกิจชุมชนที่เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านแสนตอ ถือเป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ปริมาณการผลิตรวมประมาณ 50 - 60 ตัน/เดือน

บ้านแสนตอ แหล่ง \'เลี้ยงจิ้งหรีด\' ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้

และเพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านพลังงานในการผลิต กระทรวงพลังงานจึงได้นำเทคโนโลยีพลังงานสู่วิสาหกิจชุมชนเพื่อส่งเสริมการผลิตจิ้งหรีดของชุมชนให้มีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนการผลิต และสร้างรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบัวใหญ่ ได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีพลังงานให้แก่วิสาหกิจฯ เลี้ยงจิ้งหรีดบ้านแสนตอ

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

บ้านแสนตอ แหล่ง \'เลี้ยงจิ้งหรีด\' ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ ได้แก่ ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 3 x 4 เมตร จำนวน 1 ระบบ เพื่อลดระยะเวลาในการตากแผงไข่ ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบ On Grid ขนาด 10 กิโลวัตต์ สำหรับห้องเย็นที่มีส่วนช่วยลดค่าไฟฟ้าลงได้เกือบ 50% รวมทั้งชุดครอบและหัวเตาแก๊สประสิทธิภาพสูงจำนวน 4 ชุด เพื่อช่วยลดค่าก๊าซหุงต้มลง

บ้านแสนตอ แหล่ง \'เลี้ยงจิ้งหรีด\' ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงจิ้งหรีดบ้านแสนตอ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2558 สมาชิกทั้งหมด 31 คน ถือเป็นแหล่งผลิตจิ้งหรีดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและปริมาณความต้องการสินค้ายังมีในปริมาณที่สูง โดยมีการส่งสินค้า เป็นจิ้งหรีดสด และจิ้งหรีดแช่เข็ง ซึ่งขั้นตอนการเก็บรักษาคุณภาพจิ้งหรีดในห้องเย็น ต้องผ่านกระบวนการทำความสะอาด และการต้มให้สุกก่อน หลังจากต้มสุกแล้วนำจิ้งหรีดไปตากผึ่งให้แห้งหมาดๆ และทำการบรรจุถุง นำเข้าไปเก็บในห้องเย็นเพื่อรักษาคุณภาพ

โดยแต่ก่อนการต้มจิ้งหรีดจะใช้ก๊าซหุงต้ม ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาไม่แน่นอน การได้รับการสนับสนุนเทคโนโลยีพลังงานมีส่วนช่วยลดต้นทุนจากกระบวนการผลิต เช่น การนำระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ช่วยให้สินค้ามีความสะอาด และลดระยะเวลาในการตาก

บ้านแสนตอ แหล่ง \'เลี้ยงจิ้งหรีด\' ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้

กลุ่มวิสาหกิจฯ ได้รับจิ้งหรีดจากสมาชิกที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นส่งมาเข้ากระบวนการผลิตและส่งจำหน่ายในแต่ละครั้งประมาณ 8-9 ตัน/ครั้ง สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ปริมาณรวมผลิตได้ประมาณ 50-60 ตัน/เดือน ซึ่งชุมชนได้จำหน่ายราคาประมาณ 85,000 บาท/ตัน

รายได้รวมประมาณ 4-5 ล้านบาท/เดือน โดยผลิตให้แก่บริษัท รับขายส่งเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์รายใหญ่ในจังหวัดขอนแก่น  และลูกค้ารายย่อยที่จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดอุดรธานี

บ้านแสนตอ แหล่ง \'เลี้ยงจิ้งหรีด\' ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้

สำนักงานพลังงานจังหวัดขอนแก่น ขับเคลื่อนและมุ่งเน้นการบริการจัดการด้านพลังงานเชิงพื้นที่โดยให้การสนับสนุนส่งเสริมด้านพลังงานเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้แก่กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชนในเชิงพื้นที่ ทั้งงบกระทรวงพลังงาน งบประมาณแผ่นดิน (งบจังหวัด/กลุ่มจังหวัด) โดยให้การส่งเสริมสนับสนุน เช่น ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์บ่อบาดาล จำนวนมากกว่า 700 แห่ง ระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เคลื่อนที่ ขนาดไม่น้อยกว่า 320 วัตต์ จำนวน 25 คัน ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 3 x 4 เมตร จำนวน 29 แห่ง ระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาด 2 x 2 เมตร จำนวน 25 แห่ง เป็นต้น

โดยภาพรวมสำนักงานพลังงานจังหวัดขอนแก่นให้การส่งเสริมสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนหรือเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานประมาณ 2,882,975 kWh/ปี หรือเทียบเท่า 245.94 toe/ปี คิดเทียบเป็นค่าใช้จ่ายสามารถลดต้นทุนการผลิตให้แก่กลุ่มเกษตรกร/วิสาหกิจจำนวน 14,126,577 บาท/ปี สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 482.04 tons of CO2e/ปี

บ้านแสนตอ แหล่ง \'เลี้ยงจิ้งหรีด\' ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้ นายสุรเดช เหลาพันนา พลังงานจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ในภาพรวมของการส่งเสริมด้านพลังงาน ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ตามแผนปฏิบัติราชการด้านพลังงาน พ.ศ. 2566 - 2570 “มุ่งสู่การเป็นเมืองพลังงานอัจฉริยะ  คาร์บอนต่ำ อย่างยั่งยืนและปลอดภัย” โดยเน้นการส่งเสริมการเข้าถึงนวัตกรรมและการบริหารจัดการด้านพลังงานที่ทันสมัยเชิงพื้นที่ และสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินการด้านพลังงาน เพื่อความยั่งยืน มั่นคงและปลอดภัย

จังหวัดขอนแก่นมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (PEAK) 320.93 เมกะวัตต์ มีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าโดยรวม 941.12 เมกะวัตต์ โดยจังหวัดขอนแก่นมีศักยภาพด้านการผลิตการมากกว่าความต้องการใช้พลังงานอยู่ถึง 620.19 เมกะวัตต์ คิดเป็น 65.89%