svasdssvasds

โปรตุเกสทำลายสถิติผลิตและใช้พลังงานสะอาดติดกันเกือบสัปดาห์

โปรตุเกสทำลายสถิติผลิตและใช้พลังงานสะอาดติดกันเกือบสัปดาห์

โปรตุเกสเป็นอีกประเทศในยุโรปที่มุ่งผลิตและใช้พลังงานสะอาดแทนการใช้พลังงานจากฟอสซิล ตอนนี้ได้ทำลายสถิติผลิตพลังงานทดแทนต่อเนื่องเป็นเวลา 149 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าความต้องการบริโภคทั่วทั้งประเทศ

ประเทศโปรตุเกสได้ทำลายสถิติในการผลิตพลังงานหมุนเวียนต่อเนื่องเป็นเวลา 149 ชั่วโมง หรือเกือบหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งเกินความต้องการในการบริโภคทั่วประเทศ

พลังงานสะอาด เครดิต : pixabay

โดยสถิติในการผลิตพลังงานสะอาดนี้ทำเวลาได้ถึง 149 ชั่วโมงติดต่อกัน ทำลายสถิติของปี 2019 ที่ทำไว้ 131 ชั่วโมง โดยในระหว่างนี้มีการผลิตพลังงานหมุนเวียนได้ 1,102 กิกะวัตต์ชั่วโมง (GWh) ซึ่งท้ายที่สุดก็เกินกว่าที่ประเทศต้องการ โดยการบริโภคทั้งภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนของโปรตุเกสมีปริมาณเพียง 840 GWh เท่านั้น

การผลิตพลังงานสะอาดในครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าโรงงานเชื้อเพลิงฟอสซิลจะปิดการดำเนินการในช่วงเวลานี้ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าในอนาคตอันใกล้โปรตุเกสอาจสามารถเลิกใช้ก๊าซธรรมชาติได้นานถึง 131 ชั่วโมงติดต่อกัน ซึ่งทำลายสถิติสูงสุดก่อนหน้านี้ที่ 56 ชั่วโมง และ 95 ชั่วโมง ซึ่งสามารถผลิตพลังงานสะอาดได้มากพอที่จะส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างสเปนได้

โปรตุเกสเป็นผู้นำเทรนด์ในเรื่องพลังงานหมุนเวียน ขณะที่ส่วนที่เหลือของสหภาพยุโรปไม่ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 ซึ่งโปรตุเกสได้เริ่มใช้พลังงานหมุนเวียนในปี 2559 และยังมีเป้าหมายที่จะหยุดการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงภายในปี 2573 และก็ได้มีการปิดตัวลงของโรงไฟฟ้าถ่านหินไปเมื่อเกือบ 2 ปีที่แล้ว ถือว่าบรรลุเป้าเร็วกว่าถึง 9 ปี

            
            พลังงานลม เครดิต : pixabay
        
แหล่งพลังงานหมุนเวียนหลักของโปรตุเกส คือ ลมและแสงอาทิตย์ ซึ่งในอนาคตสามารถนำมารวมกันเป็นโรงไฟฟ้าแบบผสมผสานได้ “ถ้าเรารวมลมและแสงอาทิตย์เข้าด้วยกัน สิ่งที่เราเห็นก็คือมีการเสริมกันครั้งใหญ่” ฮูโก คอสต้า ผู้ดูแลฝ่ายพลังงานหมุนเวียนของสาธารณูปโภคของรัฐ กล่าว
โปรตุเกสตั้งเป้าที่จะรื้อถอนโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติทั้งหมดภายในปี 2583 และยังวางแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์และไฮโดรเจนของประเทศเป็น 2 เท่า ซึ่งโปรตุเกสเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และยังมีสวนพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำอีกด้วย

 

ที่มา : IFL Science

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :