svasdssvasds

ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ 27 เม.ย. นี้ เวลา 12.16 น. ทุกคนเตรียมไร้เงา!

ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ 27 เม.ย. นี้ เวลา 12.16 น. ทุกคนเตรียมไร้เงา!

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผยว่าวันที่ 27 เมษายน 2566 ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ เวลา 12.16 น ทำให้เกิดปรากฏการณ์ดูเสมือนไร้เงา

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เผยถึงปรากฎการณ์ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ  ในวันที่ 27 เมษายน 2566 ซึ่งดวงอาทิตย์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับกรุงเทพฯ เวลา 12.16 น. จะทำให้เกิดปรากฎการ์ไร้เงา 

ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ 27 เม.ย. นี้ เวลา 12.16 น. ทุกคนเตรียมไร้เงา! ทาง NARIT หรือสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้อธิบายถึงปรากฎการณ์นี้ว่าในช่วงดวงอาทิตย์ตั้งฉาก วัตถุที่อยู่กลางแดดจะดูเสมือนไร้เงา เนื่องจากเงาของวัตถุจะตกอยู่ด้านใต้พอดี และการที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นโลก ทำให้ได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์อย่างเต็มที่ 

ส่วนในเรื่องที่กังวลว่าจะอากาศร้อนจัดหรือไม่? ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ ได้อธิบายเพิ่มเติมว่าอุณหภูมิจะสูงที่สุด อากาศจะร้อนจัดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปริมาณฝน เมฆ อิทธิพลจากมรสุม ความร้อนสะสม ฯลฯ ที่อาจส่งผลต่ออุณหภูมิ ดังนั้นวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ อาจไม่ใช่วันที่ร้อนที่สุดของปี

เนื้อหาที่น่าสนใจ : 

ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ 27 เม.ย. นี้ เวลา 12.16 น. ทุกคนเตรียมไร้เงา! ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ จะทำให้เป็นวันที่อากาศร้อนที่สุดหรือไม่นั้น ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์พยากรณ์อากาศ ในวันที่ 27 เม.ย. 2566 ว่าลักษณะอากาศในกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีเมฆมากกับมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 33-36 องศาเซลเซียส ยังไม่ทำลายสถิติสูงสุดที่วัดได้ ณ สนามบินดอนเมืองเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2526 อุณหภูมิสูงสุด 40.8 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามในวันที่ดวงอาทิตย์ตั้งฉากกรุงเทพฯ อาจเป็นวันที่มีอุณหภูมิสูงสุดเกิดขึ้นได้ แต่ต้องมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น ท้องฟ้าโปร่ง และไม่มีลม

ดวงอาทิตย์ตั้งฉากพร้อมกันทั่วประเทศหรือไม่? คำตอบคือเนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนระหว่างแนวละติจูด 5-20 องศาเหนือ ส่งผลให้ใน 1 ปี ดวงอาทิตย์จะเคลื่อนผ่านใกล้จุดเหนือศีรษะหรือดวงอาทิตย์ตั้งฉากกับพื้นที่ถึง 2 ครั้ง คือ ในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม และกรกฎาคมถึงกันยายน โดยจะมีการโคจรพาดผ่านแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ดังนั้นแต่ละจังหวัดจึงเห็นดวงอาทิตย์ผ่านเหนือศีรษะไม่พร้อมกันนั่นเอง

 

ที่มา สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) / กรมอุตุนิยมวิทยา

related