svasdssvasds

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกคืน 3 พ.ย. นี้ เห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะเห็นอะไรบ้าง?

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกคืน 3 พ.ย. นี้ เห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะเห็นอะไรบ้าง?

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุด เวลากี่โมง 3 พ.ย. 2566 มนุษย์บนโลกสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แต่ก่อนอื่น ชวนรู้จัก 'ดาวพฤหัสบดี' ดาวที่ได้ชื่อว่าเป็นพี่ใหญ่แห่งระบบสุริยะ

ดาวพฤหัสบดี หรือ Jupiter เป็นดาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่าโลกถึง 11 เท่า! และมีมวลมากกว่าโลก 317 เท่า! เรียกได้ว่าในระบบสุริยะดาวพฤหัสบดีคือพี่ใหญ่ก็คงไม่ผิดนัก

ฉะนั้น ในวันพรุ่งนี้พี่ใหญ่จะเคลื่อนตัวมาให้เราได้รับชมกันอีกครั้ง ฉะนั้น Spring News ชวนรู้จักพี่ใหญ่อย่างดาวพฤหัสบดี (Jupiter) กันสักเล็กน้อย

ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) พี่ใหญ่ในระบบสุริยะ

กว่าหลายทศวรรษที่ผ่านมา ที่นักดาราศาสตร์ได้พร่ำเรียนและศึกษาเกี่ยวกับดาวพฤหัสบดี ว่ามีต้นกำเนิดหรือมีที่มาอย่างไรบนผืนจักรวาลอันกว้างใหญ่นี้

ซึ่งข้อสันนิษฐานที่นักดาราศาสตร์ได้คาดการณ์กันก็คือ ดาวพฤหัสบดีเป็นดาวที่สลัดตัวออกมาจากกลุ่มของก้อนก๊าซต้นกำเนิดดวงอาทิตย์ เมื่อราว ๆ 4,600 ล้านปีก่อน

สาเหตุที่นักดาราศาสตร์ถึงสันนิษฐานแบบนี้ก็เพราะ สัดส่วนธาตุต่าง ๆ บนดาวพฤหัสบดีเช่น ฮีเลียมและไฮโดรเจน เป็นธาตุที่มีมากที่สุด ซึ่งใกล้เคียงกับดวงอาทิตย์

ดาวพฤหัสบดีตั้งอยู่ตรงไหนของระบบสุริยะ?

อยากชวนผู้อ่านดูภาพประกอบไปพร้อมกับคำอธิบาย อาจจะทำให้เห็นภาพง่ายขึ้น ดาวพฤหัสบดีอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ราว ๆ 776 ล้านกิโลเมตร ในขณะที่โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์แค่ 150 ล้านกิโลเมตร นั่นจึงเป็นเหตุผลที่มนุษย์บนโลกต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เหมือนเป็นบาร์บีคิวที่กำลังถูกไฟจากดวงอาทิตย์แผดเผา

แผนที่ระบบสุริยะ Cr. Flickr

อีกหนึ่งสิ่งที่น่าสนใจคือ หากเรานำโลกของเรา 11 ใบเรียงต่อกัน นั่นเพิ่งจะได้ระยะทางของเส้นผ่านศูนย์กลางของดาวพฤหัสบดีเท่านั้น และหากเราต้องการนำโลกไปหย่อนเติมลงในดาวพฤหัสบดีให้เต็มแบบพอดี จำเป็นต้องใช้โลกจำนวน 1,400 ดวงเลยทีเดียว

อากาศบนดาวพฤหัสบดีเป็นยังไง?

นักดาราศาสตร์แบ่งชั้นบรรยากาศบนดาวพฤหัสบดีไว้ 3 ชั้น ชั้นบนสุดประกอบไปด้วยแอมโมเนียในปริมาณที่บางมาก ๆ ชั้นต่ำลงไปจะเป็นชั้นของไอน้ำ ที่จับตัวกันเป็นก้อนเมฆ และชั้นสุดท้ายจะมีบรรยากาศที่หนาทึบ ซึ่งมักเกิดพายุ และฝนฟ้าคะนอง มีฟ้าผ่า ฟ้าแลบอยู่เป็นประจำ

ที่อากาศบนดาวพฤหัสบดีแปรปรวนก็เพราะว่า มวลสารที่มักเคลื่อนที่ผ่านกันนั้น มักมีอุณหภูมิที่ต่างกันสุดขั้ว ส่งผลให้อากาศบนดาวพฤหัสบดีเกิดแปรปรวนอยู่บ่อย ๆ  

ภาพแรกของดาวพฤหัสบดีที่ถูกถ่ายเมื่อปี 1879 / ภาพดาวพฤหัสบดีที่ถูกถ่ายล่าสุดโดยกล้องจาก James Webb

ดูดาวพฤหัสบดีใกล้โลก ที่ไหน เวลากี่โมง วันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2566

  1. หากเรามีอุปกรณ์ที่ใช้ดูดาวอย่าง กล้องโทรทรรศน์ (Telescope) ที่มีขนาดหน้ากล้องตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป เราจะสามารถสังเกตเห็นแถบเมฆ และจุดสีแดงจุดใหญ่บนดาวพฤหัสบดีได้
  2. เนื่องจากดาวพฤหัสบดีใช้เวลาหมุนรอบตัวเอง 1 รอบเร็วมาก โดยมีระยะเวลาหมุนครบ 1 รอบอยู่ที่ 9 ชั่วโมง 55 นาที เทียบกับโลกที่หมุนรอบตัวเองด้วยระยะเวลา 24 ชั่วโมง ฉะนั้น จุดสีแดงจุดใหญ่บนดาวพฤสับดี เพียงแค่เวลา 10 – 15 นาทีผ่านไป ตำแหน่งของจุดสีแดงดังกล่าวก็เคลื่อนที่ไปอยู่ในตำแหน่งอื่นแล้ว
  3. หากเราใช้กล้องโทรทรรศน์ ที่มีกำลังขยายต่ำ เราจะสามารถสังเกตเห็นแถบเมฆบนดาวพฤหัสบดีได้แค่บางแถบเท่านั้น
  4. เราสามารถใช้กล้องโทรทรรศน์สอดส่องดูดวงดาวบริเวณของดาวพฤหัสบดีได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีทั้งหมด 4 ดวงด้วยกันคือ ไอโอ (IO) ยูโรปา (Europa) แกนิมีด (Ganymede) และคัลลิสโต (Callisto) และหากช้าไปไม่กี่นาที ตำแหน่งของดาวบริวารเหล่านี้ก็จะเปลี่ยนตำแหน่งเช่นกัน

ดูดาวพฤหัสบดีใช้กล้องแบบไหนดี?

ต้องบอกว่า หากเราไม่จริงจังมากนักในเรื่องรายละเอียดของพื้นผิวดาว เราก็สามารถรับชมการปรากฏกายของดาวพฤหัสบดีแบบตาเปล่า ๆ ได้ แต่หากอยากจะเก็บรายละเอียดแบบชัด ๆ ควรใช้กล้องที่เหมาะสำหรับดูดาวที่อยู่ไกลออกไปจะดีกว่า

ก่อนอื่นเราต้องมาแยกประเภทการใช้งานของกล้องดูดาวกันก่อน หากใครที่อยากได้กล้องส่องทางไกลสามารถพกพาไปไหนมาได้ ต้องบอกว่ากล้องประเภทนี้ไม่เหมาะสำหรับดูดาวที่อยู่ไกล ๆ เช่น ดาวอังคาร ดาวศุกร์ ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์

กล้องส่องทางไกลชนิดที่พกพาไปไหนมาได้ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ดูแค่ ดวงจันทร์ ฝนดาวตก หรือกลุ่มดาว ฉะนั้น หากเราต้องการดูดาวพฤหัสบดี ที่จะเข้าใกล้โลกฝนวันที่ 3 พ.ย. นี้ เราจำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ (Telescope)

กล้องโทรทรรศน์นั้นถูกออกแบบมาไว้ใช้สำหรับส่องไปดูในพื้นที่นอกอวกาศระยะไกลมาก ๆ เพราะมีกำลังขยายที่มากกว่ากล้องส่องทางไกลแบบพกพา

และเมื่อวัตถุที่เราแอบส่องดูอยู่ไกลมาก ๆ เราจำเป็นต้องใช้กล้องโทรทรรศน์ที่มีขาตั้งกล้อง เพื่อใช้ในการเล็งดาวให้มีความแม่นยำ เพราะอย่าลืมว่า หากกล้องโทรทรรศน์ที่เราเตรียมไว้ไม่ถูกตั้งไว้นิ่ง ๆ หรือมีกำลังขยายไม่เพียงพอ เราก็อาจจะไม่เห็นดาวพฤหัสบดีในวันที่ 3 พ.ย. นี้ก็ได้

อัพเดต! ดาวพฤหัสบดีรอบนี้ดูได้ที่ไหนบ้าง

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ หรือ NARIT ได้จัดกิจกรรม “เปิดเทศกาลชมดาว...รับลมหนาวในคืนดาวพฤหัสบดีใกล้โลก” ในคืนวันพรุ่งนี้ โดยมี 5 จุดชมได้แก่

  • อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา
  • หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น

หรือใครไม่สะดวกสามารถรับชมพร้อมกันได้ที่ LIVE ทางเพจเฟซบุ๊กของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติได้ NARIT ตั้งแต่เวลา 19:00 น. เป็นต้นไป

ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกคืน 3 พ.ย. นี้ เห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะเห็นอะไรบ้าง?

ที่มา: NARIT

        Saranukromthai

เนื้อหาที่น่าสนใจ

 

related