svasdssvasds

อากาศสะอาดทั่วโลกมีน้อยกว่า 1% เอเชียตะวันออกและใต้ มลพิษทางอากาศสูงสุด

อากาศสะอาดทั่วโลกมีน้อยกว่า 1% เอเชียตะวันออกและใต้ มลพิษทางอากาศสูงสุด

นักวิจัยเผยอากาศสะอาดทั่วโลกมีน้อยกว่า 1% ซึ่งฝุุ่น PM 2.5 สาเหตุของปัญหาสุขภาพ โดยพื้นที่ที่มีมลพิษทางอากาศสูงสุด คือเอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ รองลงมาเป็นแอฟริกาเหนือ

องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยระดับมลพิษทางอากาศเกินค่าความปลอดภัยที่กำหนดเกือบทุกที่ในโลก และจากการศึกษาใหม่ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพอากาศมุ่งเน้นไปที่มลพิษทางอากาศ อย่าง ฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์

ฝุ่น PM 2.5

จากการศึกษาใหม่โดยนักวิทยาศาสตร์ในออสเตรเลียและจีน ซึ่งเผยแพร่ใน Lancet Planetary Health พบว่าประมาณ 30% ของวันในปี 2019 มีความเข้มข้นของ PM2.5 ในแต่ละวันต่ำกว่า 15 µg/m3 นอกจากนี้นักวิจัยยังพบว่าประมาณ 0.18% ของพื้นที่ทั่วโลก และ 0.001% ของประชากรโลกเท่านั้นที่มีการสัมผัสกับ PM2.5 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่ปลอดภัยคือ 5 μg/m3
หนึ่งในผู้ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศรายใหญ่ที่สุดคือ เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งความต้องการน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีเสียงเรียกร้องให้ยุติการใช้แหล่งพลังงานจากฟอสซิล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซสุทธิเป็นศูนย์ จากรายงานของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) เผยว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทั่วโลกเพิ่มขึ้น 0.9% ในปี 2565 ซึ่งแตะระดับสูงสุด 

เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง เช่น พายุฝุ่น รวมถึงสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้บรรยากาศเป็นพิษเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ความกดอากาศสูงและคลื่นความร้อนสามารถสร้างอากาศนิ่ง ซึ่งมลพิษมักจะรวมตัวกันในปริมาณมาก คลื่นความร้อนจัดยังเพิ่มความเสี่ยงของไฟป่าขนาดใหญ่ ซึ่งทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หมอกควัน และมลพิษสู่อากาศมากขึ้น

เครดิต : the lancet

ภูมิภาคที่มีระดับมลพิษทางอากาศสูงที่สุด คือ เอเชียตะวันออกและเอเชียใต้ รองลงมาคือแอฟริกาเหนือ ตามมาด้วยออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และภูมิภาคอื่นๆ ในโอเชียเนียและอเมริกาใต้ซึ่งที่นี่ความเข้มข้นของ PM2.5 นั้นต่ำที่สุด แม้ว่าระดับมลพิษทางอากาศจะเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฤดูไฟป่าที่รุนแรงและยาวนาน จึงมีการกำหนดกฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้นส่งผลให้มลพิษในยุโรปและอเมริกาเหนือลดลงในช่วงเวลาเดียวกัน
นอกเหนือจากการทำให้เกิดการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยของประชากรนับล้านๆ ราย ตามการประมาณการของ WHO มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นว่ามลพิษทางอากาศสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของมนุษย์ในด้านอื่นๆ เช่น การรับรู้ การศึกษาหลายชิ้นพบว่าอากาศเสียมักขัดขวางหรือลดความสามารถในการรับรู้ 

มลพิษทางอากาศยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมากมายและน่ากังวล ตั้งแต่ฝนกรดซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อดินและพืช ไปจนถึงความพิการแต่กำเนิด ความล้มเหลวในการสืบพันธุ์ และโรคในสัตว์ป่า ฝนที่มีมลพิษสูงยังสามารถส่งผลกระทบต่อการเกษตรกรรม เนื่องจากทำให้พืชผลมีความเสี่ยงต่อโรค

“ฉันหวังว่าการศึกษานี้จะสามารถเปลี่ยนความคิดของผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศและ PM2.5 ในแต่ละวันได้”  Yuming Guo หัวหน้านักวิจัยและศาสตราจารย์ด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อม Monash University กล่าว
 

ที่มา : Earth / The lancet

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :