svasdssvasds

โมร็อกโกปิดโรงอาบน้ำสาธารณะ 3 วัน/สัปดาห์ หวังประหยัดน้ำต่อสู้ภัยแล้ง

โมร็อกโกปิดโรงอาบน้ำสาธารณะ 3 วัน/สัปดาห์ หวังประหยัดน้ำต่อสู้ภัยแล้ง

Spring พาไปดูประเทศโมร็อกโก ล่าสุดสั่งปิดโรงอาบน้ำสาธารณะ 3 วันต่อสัปดาห์ เพื่อไม่ให้เป็นการสิ้นเปลื้องน้ำ ในยามที่ประเทศกำลังเจอกับวิกฤตภัยแล้ง

SHORT CUT

  • เดือนมกราคมที่ผ่านมา โมร็อกโก อุณหภูมิพุ่งสูง 50.4 องศาเซลเซียส ประชาชนเผชิญภัยแล้งมา 6 ปีติดต่อกัน
  • รัฐบาลสั่งปิด 'ฮัมมัม' โรงอาบน้ำสาธารณะ 3 วันต่อสัปดาห์ เพราะเห็นว่าจะได้ไม่เสียน้ำไปโดยเปล่าประโยชน์
  • แรงงานที่ทำงานในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกว่า 200,000 คนได้รับผลกระทบ แรงร้างถึงขั้นเลิกจ้าง

Spring พาไปดูประเทศโมร็อกโก ล่าสุดสั่งปิดโรงอาบน้ำสาธารณะ 3 วันต่อสัปดาห์ เพื่อไม่ให้เป็นการสิ้นเปลื้องน้ำ ในยามที่ประเทศกำลังเจอกับวิกฤตภัยแล้ง

โมร็อกโก” ถือเป็นหนึ่งประเทศที่ถูกภัยแล้งเล่นงานไม่น้อยไปกว่าไทย ย้อนกลับไปเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา อากาศโมร็อกโกพุ่งสูงแตะ 50.4 องศาเซลเซียส หากจะเรียกว่าเป็นเตาเผาก็คงไม่ผิดนัก

โมร็อกโกปิดโรงอาบน้ำ เพื่อประหยัดน้ำ

แต่รู้หรือไม่ว่า ในตอนกลางวันยามที่อากาศร้อนระอุ ชาวโมร็อกโกมักนิยมไปอาบน้ำที่โรงอาบน้ำ หรือในที่คนท้องถิ่นรู้จักกันในชื่อ “ฮัมมัม” ซึ่งเป็นโรงอาบน้ำที่มีรากฐานมายาวนาน ซึ่งว่ากันว่าได้รับแรงบันดาลใจมาจากโรงอาบน้ำของชาวโรมัน

โมร็อกโกปิดโรงอาบน้ำสาธารณะ 3 วัน/สัปดาห์ หวังประหยัดน้ำต่อสู้ภัยแล้ง

แต่เมื่อโมร็อกโกกำลังถูกภัยแล้งเล่นงาน โรงอาบน้ำซึ่งถูกครหาว่าใช้น้ำไปโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า เราสามารถอาบน้ำอยู่ที่บ้านก็ได้ ไม่จำเป็นต้องไปผลาญทรัพยากรน้ำที่มีน้อยอยู่แล้วให้น้อยลงไปอีก

รัฐบาลโมร็อกโกจึงมีคำสั่งให้เปิดโรงอาบน้ำได้แค่ 4 วันต่อสัปดาห์เท่านั้น ตั้งแต่วันพฤหัสบดีถึงวันอาทิตย์ โดยให้เหตุผลว่าเป็นการประหยัดน้ำ ซึ่งฟังดูก็เป็นไอเดียที่ใช้ได้ ที่ภาครัฐพยายามหามาตรการต่าง ๆ มาเพื่ออนุรักษ์น้ำในเมืองเอาไว้

แต่ปัญหาที่ตามาคือแรงงานที่ทำงานอยู่ในโรงอาบน้ำ หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องก็พลอยได้รับผลกระทบไปด้วย ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติโมร็อกโก เผยว่า การปิดโรงอาบน้ำส่งผลกระทบต่อคนกว่า 200,000 คน

โมร็อกโกปิดโรงอาบน้ำสาธารณะ 3 วัน/สัปดาห์ หวังประหยัดน้ำต่อสู้ภัยแล้ง

ทั้งนี้ เกษตรกรโมร็อกโกก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน มีรายงานว่าอ่างเก็บน้ำในประเทศหลายแห่งกำลังเหือดแห้งไป เพราะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและฝนไม่ค่อยตก ทำให้ตอนนี้เกษตรกรจำเป็นต้องกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฟาร์มของตัวเอง

ถือเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับภาครัฐ ว่าจะมีมาตรการต่อสู้กับภัยแล้งอย่างไร แล้วมาตรการที่ว่านั้นส่งผลกระทบต่อภาคส่วนใดบ้าง แล้วจะหาทางออกร่วมกันอย่างไร เพื่อให้ประเทศรอดพ้นวิกฤตภัยแล้งไปพร้อม ๆ กันได้

 

ที่มา: seattletimes

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related