svasdssvasds

สารเคมีในพลาสติก ทำนาฬิกาชีวิตช้าลง 17 นาที ส่งผลเสียต่อการนอนหลับ

สารเคมีในพลาสติก ทำนาฬิกาชีวิตช้าลง 17 นาที ส่งผลเสียต่อการนอนหลับ

งานวิจัยชี้สารเคมีในพลาสติกอาจรบกวนนาฬิกาชีวิตของมนุษย์ ทำให้ระบบร่างกายทำงานช้าลงถึง 17 นาที โดยเฉพาะส่งผลต่อเวลาตื่นนอนผ่านการรบกวนตัวรับอะดีโนซีน

โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายมนุษย์จะมี “นาฬิกาชีวิต” ของตัวเอง คล้ายกับตารางเวลาสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ ใน 24 ชั่วโมง กระบวนการทางกายภาพของร่างกายจะทำตามเวลาที่เหมาะสมของนาฬิกาชีวิต ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ด้วยหลายปัจจัย อาทิ แสงสว่าง ความมืด อาหาร ฯลฯ

ล่าสุด งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental International เผยว่า สารเคมีในพลาสติกอาจไปรบกวนนาฬิกาชีวิตของร่างกาย และอาจทำให้ทำงานช้าลง 17 นาที ความอันตรายคือ พลาสติกเหล่านี้มีอยู่รอบตัวเรา ตั้งแต่ขวดน้ำ ของเล่น ถุงพลาสติก ฯลฯ

สารเคมีในพลาสติก ทำนาฬิกาชีวิตช้าลง 17 นาที ส่งผลเสียต่อการนอนหลับ

“การศึกษานี้ช่วยเสริมหลักฐานที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ว่าพลาสติกมีสารประกอบที่ก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นพิษในวงกว้าง มีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงการออกแบบและการผลิตพลาสติก เพื่อให้แน่ใจว่าพลาสติกมีความปลอดภัย”

รู้ได้อย่างไร?

ทีมวิจัยสกัดสารเคมีจากสายให้อาหารทางการแพทย์ที่ทำจาก ‘พีวีซี’ และถุงน้ำที่ทำจาก ‘โพลียูรีเทน’ จากนั้นนำมาตรวจสอบผลกระทบที่มีต่อเซลล์มนุษย์ภายในห้องปฏิบัติการ สิ่งที่นักวิจัยตั้งข้อสังเกตคือ ผลของสารเคมีที่มีต่อตัวรับอะดีโนซีน ซึ่งเป็นตัวรับที่จับคู่กับโปรตีนจี ที่ส่งสัญญาณให้ร่างกายรู้ว่า “เมื่อไหร่ควรตื่น”

สารเคมีในพลาสติก ทำนาฬิกาชีวิตช้าลง 17 นาที ส่งผลเสียต่อการนอนหลับ

ผลพบว่า สารเคมีจากพลาสติกได้เข้าไปขัดขวางการถ่ายทอดสัญญาณของตัวรับอะดีโนซีน ทำให้เกิดความล่าช้าออกไป 9-17 นาที ขึ้นอยู่กับปริมาณสารในพลาสติกว่ามากหรือน้อย

พูดง่าย ๆ คือ สมมติเวลาตื่นนอนปกติของเราคือ 07.30 น. หากได้รับสารจากพลาสติก นาฬิกาชีวิตอาจผิดเพี้ยน และไปรู้สึกตัวตอน 07.37 น. แทน มาร์ติน แวกเนอร์ ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์เวย์ เผยว่า ตัวรับในสมองจะส่งสัญญาณไปยังร่างกายว่า ดวงอาทิตย์กำลังขึ้น เริ่มต้นวันใหม่กันเถอะ”

แม้เวลาแค่ 9-17 นาที อาจไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพลาสติกนั้นมีผลกับร่างกายมนุษย์ แต่อีกมุมหนึ่ง นักวิจัยก็บอกว่านาฬิกาชีวิตที่ผิดเพี้ยน ต้องมีการศึกษากันต่อไปว่านอกจากแค่ตื่นสายไปไม่กี่นาที มันมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่

 

ที่มา: The Guardian

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related