svasdssvasds

พารู้จัก! ถังหมักก๊าซชีวภาพ "สุดดี" ผลิตพลังงานทดแทนก๊าซหุงต้มได้

พารู้จัก! ถังหมักก๊าซชีวภาพ "สุดดี" ผลิตพลังงานทดแทนก๊าซหุงต้มได้

ชวนทำความรู้จัก! ถังหมักก๊าซชีวภาพ "สุดดี" ผลิตพลังงานทดแทนจากขยะอินทรีย์แทนก๊าซหุงต้มได้ นำไป สู่.. การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชนอย่างครบวงจรและสนับสนุนการสร้างสังคมไร้ขยะ อย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย

ปัญหาขยะนับวันจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ของไทย จึงทำให้ประเทศไทยได้จัดทำ Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ.2561-2573 จากปัญหาขยะที่เพิ่มมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นขยะประเภทใด ๆ ก็ตามทำให้หลายหน่วยงานทั้งรัฐ และเอกชนเดินหน้าหาวิธีจัดการขยะด้วยการใช้นวัตกรรมที่ทันสมัยในการจัดการขยะ โดยขยะในครัวเรือนที่ปัจจุบันหน่วยงานที่เป็นองค์กร และครัวเรือนให้ความสำคัญกับกำจัดขยะประเภทนี้มากขึ้น

วันนี้จะพามาทำความรู้จัก SUZDEE สุดดี ระบบถังหมักก๊าซชีวภาพ และสารบำรุงพืชชีวภาพประสิทธิภาพสูงเพื่อการพัฒนาเมือง และชุมชนที่ยั่งยืน โดยก่อนที่จะไปดูว่า SUZDEE สุดดี มีดียังไง? จะพาไปดูความเป็นมาก่อนว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ซึ่ง SUZDEE สุดดี ระบบถังหมักก๊าซชีวภาพเกิดจากกลุ่มวิจัยของสำนักวิชาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมชีวโมเลกุล (BSE) สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ร่วมกับนักวิจัยจากหลากหลายสถาบัน ได้คิดค้นนวัตกรรมแก้ไขปัญหาขยะอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ พัฒนาระบบคัดแยกและจัดการขยะอินทรีย์จากเศษอาหารในครัวเรือนให้มีความยั่งยืนด้วย "ถังสุดดี" (SUZDEE Digestant System) ถังหมักประสิทธิภาพสูงที่ผ่านกระบวนการคัดเลือกหัวเชื้อจำเพาะสูง ภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจน

 

โดยใช้เทคโนโลยีที่มีชื่อว่า C-ROS (Cash Return from ZeroWaste and Segregation of Trash) สามารถผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนก๊าซหุงต้ม ผลิตสารบำรุงพืชชีวภาพสำหรับเพาะปลูกต้นไม้และ พืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ โดยมุ่งหวังที่จะส่งเสริมพฤติกรรมของครัวเรือน และชุมชนในการคัดแยกและการจัดการขยะอย่างถูกวิธี สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ชุมชนอย่างครบวงจรและสนับสนุนการสร้างสังคมไร้ขยะ อย่างยั่งยืนให้แก่ประเทศไทย

ทั้งนี้โมเดลถัง SUZDEE สุดดี รูปแบบการทำงานจะทำงานตามรายละเอียดดังนี้

• เริ่มจากแยกขยะในครัวเรือน

• นำขยะอินทรีย์มาบรรจุในถังสุดดี

• เข้าร่วมกิจกรรมของระบบสุดดีที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

• ได้สารบำรุงพืชปลูกผักปลอดสารพิษ

• ได้พลังงานก๊าซหุงต้ม

• นำผักปลอดสารพิษกับไปประกอบอาหาร หรือเพาะปลูกต่อที่บ้าน

• ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และมีสุขภาพดี

นอกจากนวัตกรรมถัง SUZDEE สุดดี ระบบถังหมักก๊าซชีวภาพที่นำเสนอไปเบื้องต้นนับว่าเป็นนวัตกรรมที่ดีมากๆ และจะพาไปดูเมืองนวัตกรรมชีวภาพ (BIOPOLIS) ที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ รองรับอุตสาหกรรมฐานชีวภาพของประเทศไทยด้วยนวัตกรรม โดยมีโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ คือ (1) โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี่ที่จะพร้อมให้บริการแก่ภาคเอกชนในปี พ.ศ. 2568 (2) โรงเรือนปลูกพืชอัจฉริยะ (Smart Green house) พร้อมให้บริการสำหรับการพัฒนาต้นแบบระบบผลิตสมุนไพรมูลค่าสูงเชิงอุตสาหกรรม มีรายละเอียด ดังนี้

โรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (Biorefinery Pilot Plant)

เป็นเสมือนโรงกลั่นชีวภาพที่ใช้วัตถุดิบจากผลผลิตและของเหลือทางการเกษตร เช่น ชานอ้อย ทะลายปาล์ม กากมัน เปลือกผลไม้ แทนก๊าซธรรมชาติ สนับสนุนการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของไทย รองรับอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ (Bio-economy) เพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตทางการเกษตรที่ได้จากเกษตรสมัยใหม่ รวมถึงชีวมวล และของเหลือทิ้งทางการเกษตร ( เช่น น้ำอ้อย ชานอ้อย กากมันสำปะหลัง ทะลายแกลบ) ผ่านกระบวนการชีวภาพด้วยโรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี่ที่รองรับมาตรฐานการผลิต GMP เพื่อให้ได้สารชีวเคมีภัณฑ์หรือสารสำคัญมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยีกระบวนการชีวภาพ ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการติดตั้งระบบครุภัณฑ์ภายใน ซึ่งมีความก้าวหน้าร้อยละ 73.75 คาดว่าจะเปิดให้บริการแบบเต็มรูปแบบภายในปี พ.ศ. 2568

โรงเรือนอัจฉริยะ (Smart Greenhouse)

เป็นแหล่งคัดเลือกพืชและสมุนไพรที่มีคุณสมบัติและความสามารถในการผลิตสารสำคัญทางอาหารและยาสูง และใช้ในการพัฒนาการผลิตพืชในระบบปิดที่สามารถควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเติบโตของพืชและสมุนไพรแต่ละชนิด ที่ใช้พื้นที่น้อยได้ผลผลิตสูงที่มีความปลอดภัยจากสารเคมีตกค้างและโลหะหนักในโรงเรือนอัจฉริยะได้คัดเลือกสายพันธุ์ดีของบัวบก ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน และกระชายดำ ที่มีปริมาณสารสำคัญสูงปลูกในโรงเรือน และได้สูตรระบบการผลิตของพืชสมุนไพรดังกล่าวที่มีประสิทธิภาพสูง

โรงเรือนอัจฉริยะ (Smart Greenhouse)

โดยระบบการผลิตขมิ้นชันปลอดโรคในโรงเรือนปลูกพืชอัจฉริยะที่มีการบริหารจัดการด้านการให้น้ำ ให้ปุ๋ย การกระตุ้นด้วย stimulants และควบคุมระยะของทรงพุ่มได้ สามารถปลูกในระยะชิดในระบบโรงเรือน ให้ผลผลิตหัวพันธุ์มากกว่าการผลิตในแปลงประมาณ 2.5 เท่า มูลค่าของหัวพันธุ์สูงกว่าการเหง้าขมิ้นตามราคาท้องตลาด ประมาณ10 เท่า รวมถึงได้ขยายผลพันธุ์ดีและสูตรการเพาะปลูกสมุนไพรดังกล่าวสู่ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ร่วมกันเป็นพื้นที่สาธิตเทคโนโลยี ตัวอย่างได้แก่ สวนบ้านบัว อ.บ้านค่าย จ.ระยอง เป็นพื้นที่สาธิตสำหรับการปลูกฟ้าทะลายโจรสายพันธุ์ดี สวนกำนัน สาคร อ.วังจันทร์ เป็นพื้นที่สาธิตสำหรับการปลูกกระชายดำสายพันธุ์ดี ผลิตจากระบบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related