svasdssvasds

เปิดเส้นทางสู่ Net Zero ของไทย ดันตลาด "พลังงานแสงอาทิตย์" โตก้าวกระโดด

เปิดเส้นทางสู่ Net Zero ของไทย ดันตลาด "พลังงานแสงอาทิตย์" โตก้าวกระโดด

พามาฟังมุมมองความยั่งยืนของไทย ผ่านงานสัมมนา SCBX Reimagining Climate: EP1 Shaping the Pathway Towards Net Zero Transition ที่มองว่า เส้นทางสู่ Net Zero ของไทย ดันตลาด "พลังงานแสงอาทิตย์" โตก้าวกระโดด

SHORT CUT

  • เปิดเส้นทางสู่ Net Zero ของไทย ที่พบว่าตลาดพลังงานแสงอาทิตย์โตแบบกระโดด

  • ย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินการอย่างฉับไวและผลตอบแทนที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง Net Zero

  • ความท้าทาย 4 ด้าน คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความคุ้มค่าในการลงทุน ความมั่นคงด้านพลังงาน รักษาขีดความสามารถการแข่งขัน

พามาฟังมุมมองความยั่งยืนของไทย ผ่านงานสัมมนา SCBX Reimagining Climate: EP1 Shaping the Pathway Towards Net Zero Transition ที่มองว่า เส้นทางสู่ Net Zero ของไทย ดันตลาด "พลังงานแสงอาทิตย์" โตก้าวกระโดด

ควันหลงในงานสัมมนา SCBX Reimagining Climate: EP1 Shaping the Pathway Towards Net Zero Transition ซึ่งจัดขึ้นที่ SCBX NEXT TECH  มีมุมมองเรื่องความยั่งยืนที่น่าสนใจมากมาย หนึ่งในนั้น คือ นายวิชาล อากาวาล (Vishal Agarwal) Senior Partner and Leader, Energy & Environment Sustainability Asia บริษัท McKinsey & Company กล่าวว่า ไทยแสดงโอกาสในการใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงระดับโลกไปสู่พลังงานสะอาด และแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืน

 

ทั้งนี้มีมุมมองว่าเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินการอย่างฉับไวและผลตอบแทนที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง Net Zero เพราะขณะนี้โลกยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายสภาพภูมิอากาศที่ 1.5°C ได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการเร่งดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญ การเปลี่ยนแปลงนี้นำเสนอโอกาสทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุคของเรา โดยคาดว่าจะมีการลงทุนด้านพลังงานทดแทนและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องต่อปีสูงถึง 9.2 ล้านล้านดอลลาร์ทั่วโลก

เปิดเส้นทางสู่ Net Zero ของไทย ดันตลาด "พลังงานแสงอาทิตย์" โตก้าวกระโดด

สำหรับว่าความท้าทายอยู่ที่การจัดการกับความท้าทาย 4 ด้าน ได้แก่ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ความคุ้มค่าในการลงทุน ความมั่นคงด้านพลังงาน และการรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไปพร้อมๆ กัน เขาชี้ให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีความก้าวหน้าอย่างมากในหลายๆ ภาคส่วน โดยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากพลังงานคิดเป็นสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก

อย่างไรก็ตามสำหรับความเปราะบางของประเทศไทยต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงจากอุทกภัยและภัยแล้ง ตอกย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องมีมาตรการรับมือเชิงรุก นายวิชาลประมาณการว่าต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 2,000-3,500 ล้านดอลลาร์ต่อปีหรือคิดเป็น 0.4–0.7% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สำหรับกลยุทธ์การลดผลกระทบและการปรับตัว

โดยการเปลี่ยนผ่านของโลกไปสู่การผลิตที่ปล่อยคาร์บอนต่ำนำมาซึ่งโอกาสที่น่าตื่นเต้นอีกครั้งหนึ่งมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (CBAM) กระตุ้นให้เกิดการผลิตด้วยวิธีที่สะอาดมากขึ้น หากประเทศไทยหันมาใช้พลังงานไฟฟ้าและนวัตกรรม ก็จะสามารถกลายเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่สำหรับอนาคตที่ไร้คาร์บอนได้

อย่างไรก็ดีจนถึงปัจจุบันประเทศไทยสามารถแย่งชิงมาได้เพียงเล็กน้อย (10%) จากการค้าที่เคลื่อนย้ายออกจากจีน และพลังงานสะอาดเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาความสามารถในการแข่งขันแนวทางปฏิบัติในการผลิตที่สะอาดยิ่งขึ้นอาจสร้างคุณค่าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้กับสินค้าไทย และจะผลักดันความต้องการส่วนประกอบและระบบของไทยในด้านพลังงาน อุตสาหกรรม อาคาร และการขนส่ง นอกจากนี้ในฐานะประเทศผู้ส่งออกอาหารรายใหญ่ ประเทศไทยยังสามารถใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ด้วยการนำแนวทางปฏิบัติการเกษตรที่ยั่งยืนมาใช้ เช่น การจัดการคาร์บอนในดินและการผลิตโปรตีนทางเลือก

เปิดเส้นทางสู่ Net Zero ของไทย ดันตลาด "พลังงานแสงอาทิตย์" โตก้าวกระโดด

นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียนที่สูง รวมถึงความสามารถในการดักจับและกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ พลังน้ำ และคาร์บอน ในขณะเดียวกันภาคการขนส่งก็พร้อมก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ด้วยนโยบาย "30/30" ที่มุ่งหวังให้การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 30% ภายในปี 2573 สำหรับภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นอีกภาคส่วนที่สำคัญของประเทศไทยก็สามารถใช้ประโยชน์จากการจัดการดิน การทำเกษตรอัจฉริยะ และโปรตีนทางเลือกเพื่อให้บรรลุการเติบโตที่ยั่งยืน

นายวิชาล เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่บริษัทและผู้นำของไทยจะต้องคว้าโอาสและมีบทบาทในการกำหนดอนาคตสีเขียวของประเทศ ถึงเวลาแล้วที่ต้องลงมือปฏิบัติ โดยต้องมีการลงทุนจำนวนมากเพื่อรองรับกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว หากประเทศไทยหันมายึดถือแนวทางความยั่งยืนอย่างจริงจัง นอกจากจะสามารถป้องกันตัวเองจากความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว ยังมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นผู้นำในเส้นทางสู่การเปลี่ยนผ่าน Net Zero อีกด้วย

มาต่อกันที่มุมมองของ “นพมาศ ฮวบเจริญ” นักวิเคราะห์อาวุโส จาก SCB EIC เปิดเผยในงาน SCBX REIMAGINING CLIMATE Series ในช่วง EP1: Shaping the Pathway Towards Net Zero Transition ที่ SCBX NEXT TECH กล่าวว่า ตลาดผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ หรือโซลาร์เซลล์มีแนวโน้มโตแบบก้าวกระโดด หลังจากประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ปี 2065 ซึ่งสอดรับไปกับเป้าหมายของโลก

เปิดเส้นทางสู่ Net Zero ของไทย ดันตลาด "พลังงานแสงอาทิตย์" โตก้าวกระโดด

สำหรับไทม์ไลน์ตัวอย่างเป้าหมายของไทยก่อนเข้าสู่ Net Zero ปี 2065

  • 2021   เริ่มต้น
  • 2030    ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก 40%
  • 2035    ประมาณการใช้รถยนต์ EV 69%
  • 2037    กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ 120 เมตริกตัน
  • 2050    เป็นกลางทางคาร์บอน
  • 2065    เข้าสู่ Net Zero

ไม่เพียงเท่านี้ยังมีนโยบาย 30@30 เป็นจุดเริ่มต้นในการสนับสนุนการลงทุนรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งไทยต้องใช้และผลิตรถ EV อย่างน้อย 30% ขึ้นไป และต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้ EV เรื่อยๆ เป็นขึ้นบันได จาก 1 ล้านไปจนถึง 3 ล้านคัน และ ปี 2040 ไทยต้องมีรถ EV จำหน่าย 100%

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (SCB EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ยังได้ทำการวิเคราะห์อีกว่า การเดินไปสู่เป้าหมาย Net Zero ต้องสนับสนุนให้ใช้พลังงานบริสุทธิ์ อย่างพลังไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งตลาดการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ยังโตได้อีก และจะโตแบบก้าวกระโดด

ในส่วนของตลาดไทยการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์มีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากแรงหนุนของตลาดที่ขายไฟให้ลูกค้าโดยตรง (Private PPA) และ Self consumption (ทั้งสองตลาดมีโอกาสเติบโตเร่งขึ้นอีกมาก หากภาครัฐให้การสนับสนุน เช่น นโยบาย TPA : Third Party Access & Wheeling charges2)

นอกจากนี้ตลาดที่ขายไฟให้ภาครัฐ (Public PPA) ยังมีโอกาสเติบโต ทั้งจากโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมเปิดประมูลเฟส 2 ราว 2.6 GW และแผน PDP ใหม่ที่คาดว่าอาจประกาศได้ในปี 2024 (ซึ่งเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในสิ้นปี 2037 อาจจะเพิ่มขึ้นจากแผน PDP2018Rev1 กว่า 200%)

“การผลิตไฟฟ้าหมุนเวียนจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar) และพลังงานลม (Wind) ปี 2024 มีแนวโน้มขยายตัวตามความต้องการใช้ไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ผลจากเป้าหมาย Net zero pathway ที่มีร่วมกันของหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงไทย นอกจากนี้ ยังหนุนให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องเติบโตตาม อาทิ แผงโซลาร์และอุปกรณ์กังหันลม รวมถึงโครงข่ายไฟฟ้า (Grids)”

ในส่วนของตลาดไทย การผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ มีแนวโน้มเติบโตได้ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งมาจากแรงหนุนของตลาดที่ขายไฟให้ลูกค้าโดยตรง (Private PPA) และ Self consumption (ทั้งสองตลาดมีโอกาสเติบโตเร่งขึ้นอีกมาก หากภาครัฐให้การสนับสนุน เช่น นโยบาย TPA : Third Party Access & Wheeling charges2)

นอกจากนี้ ตลาดที่ขายไฟให้ภาครัฐ (Public PPA) ยังมีโอกาสเติบโต ทั้งจากโครงการที่อยู่ระหว่างเตรียมเปิดประมูลเฟส 2 ราว 2.6 GW และแผน PDP ใหม่ที่คาดว่าอาจประกาศได้ในปี 2024 (ซึ่งเป้าหมายกำลังการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ในสิ้นปี 2037 อาจจะเพิ่มขึ้นจากแผน PDP2018Rev1 กว่า 200%)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related