svasdssvasds

5 อินฟลูเอนเซอร์ ที่จะจุดประกายคอนเทนต์ให้คุณลุกขึ้นมาแยกขยะ

5 อินฟลูเอนเซอร์ ที่จะจุดประกายคอนเทนต์ให้คุณลุกขึ้นมาแยกขยะ

อินฟลูเอนเซอร์สายกรีน 5 คนนี้ จะสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นจิตสำนึก จัดการขยะ ก่อนส่งไม้ต่อ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพิ่มมูลค่าสูงสุด

รู้มั้ยว่า คนกทม. 1 คน สร้างขยะ 2.2 กิโลกรัมต่อวัน รัฐใช้งบประมาณในการจัดการ 4.09 บาทต่อคนต่อวัน เฉลี่ยแล้ว ใน 1 เดือนคนกทม. จะผลิตขยะถึง 66 กิโลกรัมต่อคน

แล้วถ้าถามว่าคุณอยากเป็นอินฟลูเอนเซอร์ขยะมั้ย หลายคนอาจจะขมวดคิ้วสงสัย มีใครเหรอที่อยากทำคอนเทนต์เกี่ยวกับของเหม็น ที่คนเหลือทิ้ง แต่การแยกขยะมันก็เซ็กซี่และสร้างมูลค่าเพิ่มได้นะ 

ปัญหาขยะเป็นประเด็นระดับโลกที่มนุษย์ต้องตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากรายงานของ Greenpeace พบว่า จากขยะพลาสติก 100% ถูกนำไปฝังกลบ 40% หลุดไปสู่สิ่งแวดล้อม 32% นำไปเผา 14% นำไปรีไซเคิลได้เพียง 14%

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 โดยในจำนวนนั้นมีเพียง 2% ที่เป็นการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพ ส่วนหนึ่งก็มาจากการจัดการคัดแยกขยะในครัวเรือนที่ยังขาดความเข้าใจทำให้แยกไม่ถูกต้องเหมาะสม ปลายทางของขยะแต่ละประเภทไม่เหมือนกัน ขยะเปียกสามารถนไปเป็นพลังงาน ทำปุ๋ย ขยะพลาสติกนำไปรีไซเคิลเป็นสินค้ากลับมาใช้ใหม่ รวมถึงนโยบายรัฐในการจัดการขยะที่ยังไม่กวดขันและสร้างความตระหนักกระตุ้นคนในสังคมให้เห็นความสำคัญ เร่งด่วนในการออกระเบียบการจัดการให้เป็นวาระของประเทศ

อย่างไรก็ตามในภาคประชาชน เราก็สามารถรับผิดชอบการผลิตขยะและการจัดการคัดขยะที่ถูกสร้างขึ้นในชีวิตประจำวัน ส่วนใครที่อยากเริ่มต้นและอยากได้แรงบันดาลใจ ให้ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง เราจะมาชวนส่องอินฟลูเอนเซอร์ที่จริงจัง ลงมือ สร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยคอนเทนต์ที่อยากให้คนปรับและเปลี่ยนเพื่อโลกของทุกคน 

Konggreengreen

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

A post shared by KongGreenGreen (@kongto)

ก้อง ชณัฐ วุฒิวิกัยการ ครีเอทีฟ พิธีกร ที่ผันตัวมาทำคอนเทนต์ด้านสิ่งแวดล้อมและเน้นในเรื่องการจัดการขยะทุกประเภทภายในครัวเรือนอย่างเต็มตัว ด้วยการทำคลิปสั้น ภาพประกอบ น่ารักๆ อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ใครผ่านมาเห็นแวะดูก็อยากเริ่มต้น ลดการสร้างขยะให้ได้วันละชิ้นสองชิ้น การันตีด้วยรางวัล The Best Green Change Maker Influencer จากงาน Thailand Influencer Awards 2021ถือเป็นคนที่เราจะเห็นหน้าในงานอีเว้นท์ด้านสิ่งแวดล้อมและการแยกขยะ ส่องคอนเทนต์กันได้ที่ มีรูปแบบให้เลือกชมได้ทั้งช่องทาง 

ลุงซาเล้งกับขยะที่หายไป 

จากธุรกิจรับของเก่าซื้อขายขยะของครอบครัว เริ่มเปิดพื้นที่ให้ความรู้ในเรื่องของการจัดการขยะ เพื่อให้คนมีทางเลือกและสามารถเรียนรู้วิธีทิ้งขยะอย่างสะดวกและถูกวิธี เพจแรกๆ ที่เริ่มต้นทางโซเชียลมีเดียเพื่อจุดประกายประเด็นขยะให้คนสนใจ รวบรวมข่าวและคอนเทนต์ทั้งยังสร้างแพลตฟอร์ม Green2get ที่จะบอกวิธีการแยกขยะแต่ละชิ้นด้วยการสแกนบาร์โค้ด ช่วยอำนวยความสะดวกให้คนทั่วไปในการเริ่มต้นหรือมีคำถามที่ต้องทำให้ตัดสินใจคัดแยกขยะได้อย่างอย่างประสิทธิภาพและสามารถนไปส่งปลายทางที่จะหมุนเวียบกลับมาในวงจรการใช้งานได้อีก ทั้งยังมีระบุโลเคชั่นใกล้บ้านที่จะนำขยะไปส่งต่อ
App Store

Google play

วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล

จากช่อง เถื่อนChannel ที่เป็นช่องคอนเทนต์ด้านการเดินทางที่ใครๆ หลายคนชื่นชอบและติดตาม แต่ก็ได้ร่วมในโปรเจค Waste​ Journey ที่ทำคอนเทนต์เกาะรถขยะและบุกไปถึงกองขยะมหึมา เผยตั้งแต่ต้นทางจากขยะที่ครัวเรือน ส่งไม้ต่อ
ไปที่ไหน ภาพน่าตระหนกที่เปิดเผยทำให้อยากสร้างความเปลี่ยนแปลง 

ครูลูกกอล์ฟ คณาธิป สุนทรรักษ์


ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์และเพจ Little Big Green ครูลูกกอล์ฟจากอดีตดีเจคลื่นดังและนักแสดงในวงการบันเทิง ควบคู่ไปกับการเปิดโรงเรียนของภาษา ที่ต้องใกล้ชิดกับเด็กๆ เจนใหม่ หันมาเริ่มโปรเจคแคมเปญ #wearวนไป ด้านแฟชั่นที่สนใจอยู่แล้วชวนคนมาลดการซื้อเสื้อผ้าและใส่ซ้ำโดยใช้ความครีเอทีฟจับแมชกลายเป็นชุดใหม่ๆ ได้อีกหลากหลายกว่าที่คิด ซึ่งสร้างเทรนด์และถูกพูดถึงในโซเชียลมีเดียเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา

จนเกิดการรวมตัวกันของคนที่มีไลฟ์สไตล์สายกรีนที่ชื่อ Little Big Greenเพื่อเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจให้ทุกคนเริ่ม “เปลี่ยน” เพื่อโลกใบนี้ไปพร้อมกันแบบง่าย ๆ สบาย ๆ ไม่ว่าจะเป็นเริ่มลดการใช้พลาสติกให้น้อยลง งดรับถุงพลาสติกจากร้านค้า พกขวดน้ำ, แก้วน้ำ, ปิ่นโตไปใช้นอกบ้าน ฯลฯ เกิดเป็นคอมมูนิตี้ให้ทุกคนเข้ามาแบ่งปันและแชร์ร้านค้าที่สนับสนุนและใช้สินค้ารักษ์โลก ไม่ว่าคุณจะกรีนเฉดไหนก็รับเข้าแก็งค์ทุกคน ค่อยๆ ปรับความสรีนให้เข้ามาในชีวิตทีละน้อย จนเป็นส่วนหนึ่งกับชีวิตประจำวัน 

ข้ามทวีปมาในส่วนของอินฟลูเอนเซอร์ต่างประเทศกันบ้าง
Rob Greenfield (ร็อบ กรีนฟิลด์)


หนึ่งในอินฟลูเอนเซอร์ทรงอิทธิพลคนนึงด้านการลดการใช้ขยะและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน จุดประกายและเรียกร้องความสนใจในระดับโลก ที่มีทั้งหนังสือ Dude Making a Difference บันทึกการเดินทางข้ามรัฐในสหรัฐอเมริกาด้วยจักรยานไม้ไผ่ 
และแคมเปญที่กลายเป็นภาพไวรัล ในโปรเจค 30 Days of Trash เพื่อกระตุ้นเตือนให้คนทั่วไปตระหนักถึงจำนวนขยะที่ผลิตขึ้นในแต่ละวัน ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง 

อุทิศรายได้ผ่านการบริจาคให้องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร จนได้รับการยกย่องว่าเป็น 'The Robin Hood of Modern Times'

อย่างไรก็ตาม ทาง Greenpeace ได้ให้ข้อสังเกตว่าต้นเหตุและผู้ที่ต้องรับผิดชอบควรเป็นแบรนด์ที่ผลิตบรรุภัณฑ์จากขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งออกมาโดยผลักภาระให้ประชาชนและงบประมาณรัฐต้องแบกหน้าที่นี้มากเกินไปอยู่รึเปล่า ถ้าแบรนด์หันมาเลือกใช้บรรุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและไม่สร้างขยะใช้เดียวทิ้งเพิ่มขึ้นน่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทั้งระบบที่เห็นผลได้ชัดเจน

related