svasdssvasds

Digital Diet แก้อาการติดมือถือแบบไม่หักดิบ สุขจากภายในถึงภายนอก

Digital Diet แก้อาการติดมือถือแบบไม่หักดิบ สุขจากภายในถึงภายนอก

Digital Diet - ปรับสมดุลการใช้โซเชียลมีเดีย เลือกเสพเนื้อหาที่ดีต่อใจ รู้เท่าทันอัลกอริทึม สังเกตพฤติกรรมตัวเอง คัดเนื้อหาที่สร้างแรงบันดาลใจ ห่างจากสิ่งที่บั่นทอน

ใน 1 วัน คุณปลดล็อคมือถือกี่ครั้ง? บางคนดึกดื่นยังไถมือถือไม่เลิก คนคุยด้วยก็ไม่มี ได้แต่ไล่ดูคลิปของคนนั้น ส่องรูปคนนี้วนไปเรื่อย ๆ กระทั่งผล็อยหลับไป และตื่นขึ้นมาในสภาพน้ำลายย้อย มือถือวางพาดอยู่บนหน้าอกบ้าง บนหน้าบ้าง หากมีอาการทำนองนี้ คุณน่าจะเสพติด “โลกออนไลน์" แล้วล่ะ

 

คอนเทนท์ในโลกออนไลน์คืออาหารชนิดหนึ่ง

ยุคนี้ มีการเปรียบว่า “คอนเทนท์” ในโลกออนไลน์ ไม่ต่างไปจากอาหารที่เรากินเข้าไป สมมติว่ากระแสสังคมตอนนี้สนใจอะไร หรือคุณกำลังติดตามประเด็นใดเป็นพิเศษ เจ้าของแพลตฟอร์ม ซึ่งทำหน้าที่คล้ายเชฟ ก็จะเสิร์ฟหรือฟีดสิ่งนั้นมาให้

Digital Diet แก้อาการติดมือถือแบบไม่หักดิบ สุขจากภายในถึงภายนอก

คอนเทนท์ หรือ อาหารในโลกออนไลน์ มีทั้งมื้อที่มีประโยชน์ โภชนาการสูง กับอาหารขยะ ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย แต่เย้ายวนใจด้วยรสชาติที่เลิศรส บ่อยครั้งที่เราในฐานะผู้ใช้ ถูกหลอกล่อด้วยอาหารจากเชฟด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “อัลกอริทึม” จนเราติดบ่วงไปไหนไม่ได้

มีงานวิจัยหลายชิ้นที่บอกว่าอัลกอริทึมทำให้เราอยู่กับแพลตฟอร์มนานขึ้น ดังนั้น จึงเกิดพฤติกรรมที่เรียกว่า “อาการติดมือถือ” หลังจากโซเชียลมีเดียอาละวาดได้สักพัก ผู้คนเริ่มเกิดอาการ “เอียนมือถือ” ฉันไม่อยากนอนดึกแล้ว ฉันไม่ต้องการรับรู้เรื่องคนอื่นแล้ว ฉันไม่อยากวิ่งตามเทรนด์อีกแล้ว

เหตุฉะนี้ จึงเกิดคำว่า Digital Diet อธิบายอย่างรวบรัดคือ การหาจุดสมดุลของการใช้โซเชียลมีเดีย ยังเล่นอยู่ แต่ไม่ได้ขลุกกับมัน 100% ในหนึ่งวันแบ่งเวลาไปทำสิ่งอื่น เลือกกินอาหารเฉพาะที่เราสนใจ เพื่อสุขภาพที่ดีของเรา (ทั้งกายและใจ)

 

เริ่มจากถามตัวเอง เล่นมือถือไปเพื่ออะไร?

Kaitlyn Regehr ผู้เขียนหนังสือ Smartphone Nation แชร์ว่า อย่างแรก ต้องยอมรับก่อนว่าเราติดมือถือ เราอยู่โดยไม่มีมือถือไม่ได้ เราต้องคุยกับแฟน ต้องติดต่องาน ยอมรับและตอบตัวเองให้ได้ว่า เราเล่นมือถือเพราะเหตุผลอะไร ตอบตามความจริง !
Digital Diet แก้อาการติดมือถือแบบไม่หักดิบ สุขจากภายในถึงภายนอก

อย่างที่สอง คุณเปิดมือถือวันละกี่ครั้ง แต่ละครั้งทำอะไร คุยกับใคร ค้นหาอะไร ใช้เวลานานแค่ไหน แต่ละครั้งรู้สึกอย่างไร หรือเล่นมือถือไปทำไม ตรวจสอบให้ละเอียดและเขียนมันออกมา

ประโยชน์ของการจดบันทึกคือ เราจะเริ่มเห็นแพทเทิร์นของตัวเอง เช่น สมมติช่วงบ่ายสามโมงว่าง จึงมักเปิดยูทูปไปหาอะไรดู หรือมีธุระต้องไปทำแต่เช้า คืนนี้เลยขอนอนไถให้สมใจก่อน หรือบางทีมีงานที่ต้องใช้ความคิด แต่ไม่อยากให้มาถึงเร็ว ๆ จึงหนีด้วยการเล่นมือถือ

เมื่อตรวจสอบและรู้พฤติกรรมตัวเอง ขั้นตอนถือมาคือ จัดการโยกย้าย หรือปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ เช่น พรุ่งนี้มีงานเช้า ต้องรีบนอน จริง ๆ ไม่ได้อยากเล่นมือถือหรอก นอนเถอะ นอนตอนนี้ไม่ตกข่าวอะไรไปหรอก !

 

คัดสรรเนื้อหาที่ชอบ สร้างแรงบันดาลใจ อะไรไม่ดีตัดทิ้ง

ขั้นตอนนี้คือการทำความสะอาดจาน หลังจากหาบาลานซ์ในการเล่นโซเชียลมีเดียได้แล้ว ถัดไปคือ เลือกเนื้อหาหรืออาหารบนฟีดของคุณ ตอนนี้สนใจเรื่องอะไร ก็เอาตัวเองไปอยู่ในคอมมูนิตี้นั้น ๆ ใครไม่ได้พูด หรือสร้างแรงบันดาลใจในสิ่งที่คุณกำลังสนใจ ก็เลิกติดตามไป

Digital Diet แก้อาการติดมือถือแบบไม่หักดิบ สุขจากภายในถึงภายนอก

ทีนี้ เมื่อฟีดของคุณมีแต่คนที่คุยภาษาเดียวกับคุณ พูดในสิ่งที่คุณสนใจ คุณจะเกิดแรงบันดาลใจ แต่ระวังไว้นิดนึงว่าการอยู่แต่ในโลกใบเดิมนาน ๆ ก็มีข้อเสียเหมือนกัน ควรให้เวลาตัวเองไปเจอเรื่องใหม่ ๆ บ้าง เอาเท่าที่ตัวเอาพอไหว และยังเฮลตี้อยู่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related