svasdssvasds

“ชอบ - ใจ - ให้ - เสมอ” เทคนิคสร้างความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนฉบับ introvert

“ชอบ - ใจ - ให้ - เสมอ” เทคนิคสร้างความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนฉบับ introvert

ถอดประสบการณ์จากมนุษย์ introvert ต้องทำงานกับคนมากๆ เป็นที่รู้กันดีว่าความสัมพันธ์ที่ดีนำไปสู่การทำงานที่ง่ายขึ้น หรือเมื่อทำงานยามแล้วต้องกระทบกระทั่งกัน การถ้อยทีถ้อยอาศัยก็ช่วยให้สถานการณ์คลี่คลายได้ ทั้งหมดนี้มาจากเทคนิค “บันไดชอบ - ใจ - ให้ – เสมอ”

อาทิตย์ที่แล้วเกริ่นถึงเทคนิค บันได ชอบ - ใจ - ให้ - เสมอ สำหรับการสร้างสัมพันธภาพในที่ทำงาน ซึ่งต่อยอดจากประสบการณ์การเป็นมนุษย์ Introvert ของเราที่ไม่ค่อยถนัดพูดคุยเล่นแบบคน Extrovert ทำให้ไม่ค่อยสะดวกใจและไม่เป็นตัวเองเมื่อคุยกับใครที่ไม่สนิท

“ชอบ - ใจ - ให้ - เสมอ” เทคนิคสร้างความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนฉบับ introvert เครดิตรูป : Freepik

ทว่า…ลักษณะงาน HR เราจำเป็นต้องทำงานกับคนทั้งองค์กร วิธีการที่เป็นไปได้มากที่สุดที่ทำให้เราคุยกับคนอื่นได้อย่างสบายใจมากขึ้นคือ ‘ตีสนิทกับเขาก่อน’ เพราะยิ่งสนิทก็ยิ่งสบายใจที่จะคุยมากขึ้น ไม่ต้องรู้สึกอึดอัด หรือพยายามมากจนเหนื่อย แต่ปัญหาคือเราจะเริ่มสนิทกับเขาได้ต้องเปลี่ยนสถานะจากคนแปลกหน้ามาเป็นคนรู้จัก และจากคนรู้จักถึงจะกลายมาเป็นความสนิทสนม

ศ. ดร. คริสโตเฟอร์ ปีเตอร์สัน เจ้าพ่อจิตวิทยาเชิงบวกหรือ Positive Psychology เคยกล่าวไว้ว่า “คนอื่นสำคัญต่อเรา เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่รับและแบ่งปัน กระจายความรู้สึกดี ๆ ไปให้คนอื่นผ่านความสัมพันธ์หรือปฎิกิริยาโต้ตอบต่อกัน ความสัมพันธ์สามารถเพิ่มกำลังเมื่อตอบสนองต่อกันและกันในเชิงบวก”

“ชอบ - ใจ - ให้ - เสมอ” เทคนิคสร้างความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนฉบับ introvert เครดิตรูป : Freepik

บทความอื่นที่น่าสนใจ

จากหลักจิตวิทยาเชิงบวกทำให้เห็นว่าการสร้างความสัมพันธ์แบบง่ายๆ ที่เริ่มต้นได้จากตัวเองด้วยการเพิ่มการตอบสนองเชิงบวกในชีวิตประจำวัน เช่น การส่งยิ้มหรือการทักทายคนอื่นก่อน สามารถเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่เราสามารถเริ่มลงมือทำได้ด้วยตัวเอง

อย่างไรก็ตามการสร้างสัมพันธ์หรือมิตรภาพที่แนบแน่นนั้นต้องใช้เวลาและความพยายามโดยเฉพาะที่ทำงานหลายครั้งที่เราจำเป็นต้องผูกมิตรกับคนประเภท Toxic People เพื่อให้งานราบรื่น คนทำงานทุกคนรู้ว่ายิ่งเราเข้ากับเพื่อนร่วมงานได้มากเท่าไหร่ งานจะไหลลื่นมากขึ้นเท่านั้น แต่กว่าคนเราจะสนิทกันได้นั้นต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควร รวมถึงงาน HR…แต่ระยะทางที่ดูยาวไกลนี้ก็พอมีทางลัดง่ายๆ ที่จะกระชับเวลาและเราแนะนำเทคนิคให้ทุกคนลองนำไปใช้กันดู

“ชอบ - ใจ - ให้ - เสมอ” เทคนิคสร้างความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนฉบับ introvert เครดิตรูป : Freepik

เทคนิค บันได ชอบ - ใจ - ให้ - เสมอ  

ชอบ: การชอบผู้อื่นก่อนเป็นพื้นฐานของการสร้างมิตรภาพที่ดี คิดง่ายๆ ว่าถ้าคนเราไม่ชอบหน้ากัน เราอยากจะเป็นเพื่อนกันมั้ย? แน่นอนว่าไม่อยากคบค้าสมาคมด้วยแน่นอน แล้วสำหรับคนแปลกหน้าล่ะ เราจะเริ่มต้นชอบเขาได้อย่างไร…ก่อนอื่นให้เริ่มจากการหาข้อดีๆ ง่ายที่เราเห็นได้ชัด อาจจะเป็นรูปลักษณ์ภายนอก ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัว รอยยิ้ม หรือแม้กระทั่งคำพูดเล็กๆ น้อยๆ ที่พูดคุยกัน เรียกว่าหาจุดดี จุดเด่นเล็กๆ ที่เราชอบของคนๆ นั้นให้ได้ก่อน เน้นว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็พอ ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่โตอะไร

บันไดขั้นนี้ดูเหมือนจะเป็นการสะกดจิตตัวเองให้ชอบคนอื่นก่อนแต่จริงๆ แล้วสิ่งที่เราคิด มีผลต่อความรู้สึก และความรู้สึกจะส่งผลต่อการกระทำของเราอีกที

ริชาร์ด นิโคลส์ นักจิตบำบัดและนักสะกดจิตชาวอังกฤษเจ้าของช่อง Richard Nicholls - Motivate Yourself เคยพูดถึงการเชื่อมโยงกันทางสังคมหรือความรู้สึกคนเรามีต่อกันนั้นเกิดจากพื้นที่สบายใจที่เรามีร่วมกัน การทำคุ้นเคยรู้จักกันในเรื่องที่เราชอบเหมือนกันก็เป็นความปลอดภัยสบายใจรูปแบบหนึ่งของการเป็นพวกเดียวกัน กลุ่มเดียวกัน ทำให้เริ่มต้นความสัมพันธ์ได้ง่าย

“ชอบ - ใจ - ให้ - เสมอ” เทคนิคสร้างความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนฉบับ introvert เครดิตรูป : Freepik ใจ: เทคนิคที่ 2 ของบันได ชอบ - ใจ - ให้ - เสมอ มาจากการ “ใส่ใจ” และ “จริงใจ” ทั้ง 2 ใจนี้สำคัญมากๆ ความใส่ใจจะทำให้เราเห็นข้อดีเล็กๆ น้อยๆ เพิ่มขึ้นจากในข้อแรกทำให้เราชอบเขาได้มากขึ้น แถมยังมีความสำคัญต่อบันไดขั้นถัดไปอีกด้วย ความใส่ใจเป็นการเฝ้าสังเกต ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เปลี่ยนสไตล์การแต่งหน้า  รู้ว่าชอบทานขนมอะไร เครื่องดื่มแบบไหน ทำให้เรามีเรื่องคุยได้ตั้งแต่ Small Talk จนถึง Hard Talk อย่างเวลาเห็นสีหน้าไม่สู้ดีหลังจบประชุม

ความใส่ใจสังเกตผู้อื่นทำให้เราค้นพบสิ่งที่เราชอบเหมือนๆ กัน และสามารถทำให้เรามีหัวข้อพูดคุยในเรื่องที่เราสนใจร่วมกัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมิตรภาพที่ดี หลายคนอาจจะคิดว่าความจริงใจหาได้ยากในที่ทำงาน แต่ถ้าเรามองข้ามเรื่องผลประโยชน์เสียบ้าง และเต็มใจช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำเพื่อนอย่างจริงใจ ย่อมสร้างมิตรภาพในระยะยาวได้แน่นอน

“ชอบ - ใจ - ให้ - เสมอ” เทคนิคสร้างความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนฉบับ introvert เครดิตรูป : Freepik

ให้: ถามว่าการให้อะไรคือการให้ที่ดีที่สุด ทุกครั้งที่สอนเรื่องนี้ในการฝึกอบรม ผู้เรียนทุกรุ่นจะต้องมีคนตอบว่า “ให้เงิน” จริงอยู่ว่าเงินเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องการ แต่ถามว่าต้องให้เท่าไหร่ถึงจะพอ เพราะถ้าเราเจอเศรษฐีหมื่นล้าน การให้เงินสัก 1,000 บาทคงไม่ได้มีค่าอะไร ผิดกับคนไร้บ้านที่เงิน 1,000 บาท อาจจะซื้อที่หลบแดดหลบฝนให้เขาได้

ดังนั้นการให้สิ่งที่ดีที่สุดในทุกกรณีเลยคือการให้ในสิ่งที่คนๆ นั้นต้องการ ก่อนที่เราจะตัดสินใจให้อะไรก็ตาม ต้องถามตัวเองก่อนว่าสิ่งที่เราจะให้นั้นเป็นสิ่งที่เราอยากให้หรือเป็นสิ่งที่เขาต้องการกันแน่ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเขาต้องการอะไร คำตอบคือจะรู้ได้ เราต้องผ่านบันขั้นที่สองคือบันไดของ “ความใส่ใจ” นั่นเอง

“ชอบ - ใจ - ให้ - เสมอ” เทคนิคสร้างความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนฉบับ introvert เครดิตรูป : Freepik

เสมอ: เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำพูด “น้ำหยดลงหินทุกวัน หินมันยังกร่อน” ซึ่งประโยคนี้อธิบายได้ดีถึง “ความสม่ำเสมอ” ที่เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างมิตรภาพที่ยั่งยืน หลายครั้งที่เราสุดแสนจะเหนื่อยกับการทักทายเพื่อนร่วมงานที่หน้าลิฟต์หลังจากอยู่ในห้องประชุมผู้บริหารมาทั้งวัน สิ่งที่เราพยายามชดเชยคือการสบตาพร้อมส่งรอยยิ้มให้เท่าที่ทำได้ เพื่อให้อย่างน้อยก็ยังมีความสม่ำเสมอให้การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ ซึ่งเป็นบันไดขั้นสุดท้ายที่ขอเพียงพยายามอีกหน่อยด้วยการรักษาการกระทำอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้มิตรภาพไม่ห่างเหิน และจริงๆ แล้วขั้นสุดท้ายนี้ง่ายกว่าขั้นแรกๆ ถ้าเลิกหรือหยุดในขั้นนี้ก็น่าเสียดายมาก

เป็นที่รู้กันดีว่าความสัมพันธ์ที่ดีนำไปสู่การทำงานที่ง่ายขึ้น ทั้งการติดต่อสื่อสาร การประสานงาน ขอความร่วมมือ รวมถึงการถ้อยทีถ้อยอาศัยในการทำงานยามที่ต้องกระทบกระทั่งกันก็สามารถคลี่คลายได้ ทั้งหมดมาจากความสัมพันธ์ที่เราก้าวผ่านแต่ละขั้นของบันไดชอบ - ใจ - ให้ - เสมอ อยู่ทุกวันและกับทุกคน เหมือนเป็นการสะสมแต้มบุญไว้ใช้ยามจำเป็น

“ชอบ - ใจ - ให้ - เสมอ” เทคนิคสร้างความสัมพันธ์อย่างยั่งยืนฉบับ introvert เครดิตรูป : Freepik เพชร ทิพย์สุวรรณ

อดีต Corporate HR ที่ชอบเม้ามอยเทคนิคและเคล็ดลับการทำงานผ่านตัวหนังสือ

ปัจจุบันเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านการคัดเลือก พัฒนาบุคคลากรของ ALERT Learning and Consultant

related