svasdssvasds

"หัวหน้าที่ดี-เพื่อนร่วมงานที่ดี" บุคลิกภาพแบบไหนเด็ก Gen Z ยอมรับและเคารพ

"หัวหน้าที่ดี-เพื่อนร่วมงานที่ดี" บุคลิกภาพแบบไหนเด็ก Gen Z ยอมรับและเคารพ

เคยสังเกตไหมว่าหัวหน้า หรือ คนที่มีตำแหน่งสูงในบริษัทบางคน ก็แค่น่าเกรงขาม แต่บางคนถึงแม้ว่าจะมีตำแหน่งไม่สูงมาก แต่ก็มีแต่คนเคารพ คนในที่ทำงานมักให้ความเกรงใจ เพราะจริงๆแล้วตำแหน่งสูงๆไม่ได้ความเคารพเสมอไป แล้วบุคลิกภาพแบบไหนที่เด็ก Gen Z ยอมรับ

"ความเคารพ หรือ ความเกรงใจ" ไม่ใช่สิ่งที่ได้รับมาแบบง่ายๆ มันคือสิ่งที่ออกมาจากใจ ไม่ใช่ว่าบังคับกันแล้วคนอื่นๆจะเคารพกันได้ ดังนั้นในการทำงาน การที่มีเพื่อนร่วมงานเคารพในตัวคุณ หรือแม้แต่คุณที่จะต้องเคารพเพื่อนร่วมงานเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพื่อให้มีความเกรงใจต่อกันในระหว่างการทำงาน ไม่ว่าจะอยู่ในตำแหน่งไหน คนเราต่างก็ต้องการให้คนอื่นเคารพกันทั้งนั้น

ยิ่งอยู่ในตำแหน่งที่สูงๆ การที่ผู้อื่นเคารพยิ่งเป็นสิ่งสำคัญ พวกเขาอาจจะเคารพคุณในเรื่องนิสัยการทำงาน ความฉลาด การเป็นผู้นำ แต่จริงๆแล้วการเป็นหัวหน้าที่ดี หรือ เพื่อนร่วมงานที่ดี ยังมีมากกว่านั้น ถ้าคุณได้รับความเคารพในฐานะบุคคลคนหนึ่ง ที่ไม่ใช่แค่เรื่องของการทำงาน ‘you win’ การทำงานกับเพื่อนร่วมงานของคุณประสบความสำเร็จแล้ว

"หัวหน้าที่ดี-เพื่อนร่วมงานที่ดี" บุคลิกภาพแบบไหนเด็ก Gen Z ยอมรับและเคารพ

บทความอื่นที่เกี่ยวข้อง

หัวหน้าที่ดี-บุคลิกภาพที่จะทำให้คนรอบข้างเคารพคุณมากขึ้น

1. Be polite

สุภาพกับทุกคนที่คุณพบในระหว่างวันเสมอ ตั้งแต่สมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน ไปจนถึงคนจ่ายเงินที่ร้านขายของชำ ให้ความเคารพผู้อื่นแบบเดียวกับที่คุณต้องการให้ตัวเองได้รับ ลองคิดดูว่าการกระทำแบบไหนที่คุณสามารถทำได้เพื่อแสดงความสุภาพ เปิดประตูร้านกาแฟให้คนที่อยู่ข้างหลังคุณ หรือปล่อยให้คนที่มีของอยู่ข้างหน้าคุณในร้านขายของชำ พูดขอโทษและขอบคุณทุกครั้งที่มีโอกาส สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆที่จะทำให้คนรอบข้าง เพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่หัวหน้าจะมองว่าคุณเป็นคนสุภาพ น่ารัก

2. Act respectfully

ไม่ควรทำพฤติกรรมที่ไม่เคารพ เช่น กลอกตา ขัดจังหวะ หรือพูดในแง่ลบเกี่ยวกับใครบางคน การกระทำเหล่านี้ไม่ใช่แค่ไม่เคารพบุคคลที่คุณกำลังพูดคุยด้วยเท่านั้น แต่ยังทำให้คนอื่นๆมองคุณในทางไม่ดี การเก็บอาการถึงแม้ว่าจะไม่ถูกใจ แต่เป็นเรื่องที่ควรทำ เพื่อไม่ให้คนอื่นๆรู้สึกแย่ ถ้าการกระทำของคนอื่นหรือความคิดเห็นของคนอื่นมันแย่เกินไป เราก็อาจเตือนด้วยคำพูดที่ไม่ร้ายจนเกินไป แม้ว่าคุณจะไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของใครก็ตาม เน้นการฟังเขาพูดให้จบก่อน ลองคิดดูว่าถ้าเป็นคุณ อยากจะได้รับการปฏิบัติอย่างไรหากคุณมีอะไรจะพูด

"หัวหน้าที่ดี-เพื่อนร่วมงานที่ดี" บุคลิกภาพแบบไหนเด็ก Gen Z ยอมรับและเคารพ

3. Listen well

คล้ายๆกับข้อที่แล้ว แตกต่างกันตรงที่ว่า ถ้าครั้งนี้เรื่องที่เราฟังจากคนอื่นเป็นเรื่องที่เราเห็นด้วยและมีความสนใจ บางคนอาจจะพูดแทรกเพื่อแสดงความคิดเห็นหรือแสดงออกว่าเราเห็นด้วย แต่การฟังที่ดีที่จะทำให้คนเล่ารู้สึกดี เราควรจะฟังผู้พูดให้จบก่อน เมื่อเขาเล่าจบ แทนที่เราจะเล่าต่อในเรื่องของตัวเอง ลองเปลี่ยนเป็นการถามคำถามอะไรสักอย่าเพื่อกระตุ้นให้ผู้เล่ารู้สึกว่าเราสนใจในเรื่องที่เขาเล่าจริงๆ มันจะทำให้คนเล่ารู้สึกดีมากกว่ามาฟังเรื่องของคุณ ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่เกทับเขาแบบไม่รู้ตัวก็ได้

4. Be helpful

คนที่จะได้รับความเคารพ ความเกรงใจ จะเป็นคนที่คอยสังเกตคนอื่นๆ และยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือทุกครั้งที่มีโอกาส การช่วยเหลือในที่นี้ไม่ได้หมายถึงช่วยเรื่องใหญ่จนเกินตัว แต่เป็นการช่วยเล็กๆน้อยๆด้วย เช่นเมื่อเห็นคนถือของเยอะก็ช่วยถือหรือช่วยเปิดประตูให้ หรืออาจจะให้หยิบยืมสิ่งของพวกปากกาหรืออุปกรณ์ต่างๆที่พอจะให้ยืมได้ การทำแบบนี้จะทำให้คนรอบข้างที่เห็นและคนที่ได้รับความช่วยเหลือรู้สึกดีกับตัวคุณมากขึ้น

"หัวหน้าที่ดี-เพื่อนร่วมงานที่ดี" บุคลิกภาพแบบไหนเด็ก Gen Z ยอมรับและเคารพ 5. Don't make excuses

การกระทำของคุณ เป็นสิ่งที่คุณทำมันเอง เมื่อเกิดข้อผิดพลาด ไม่ควรแก้ตัวบ่อยๆ "การแก้ตัวจะทำให้คนที่ได้รับฟังรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่ว่าจะเป็นเวลามาทำงานสายเพราะรถติด หรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจนทำให้งานเสียหาย" หรืออะไรก็ตาม ให้ยอมรับข้อผิดพลาด ขอโทษอย่างจริงใจ แล้วค่อยๆอธิบายสถานการณ์ให้คนอื่นๆเข้าใจ ยอมรับในสิ่งที่เราทำผิด และอย่าไปจมกับมัน แทนที่จะรู้สึกแย่การความผิดพลาดนั้น ครั้งต่อไปให้ทำมันให้ดีกว่าเดิม ให้คนรอบๆตัวรู้สึกว่าเรายอมรับข้อผิดพลาดและไม่ได้ทำข้อผิดพลาดเดิมซ้ำ

"หัวหน้าที่ดี-เพื่อนร่วมงานที่ดี" บุคลิกภาพแบบไหนเด็ก Gen Z ยอมรับและเคารพ

6. Let go of anger

ถ้าเราโกรธใครสักคนแล้วเราเก็บความโกรธไว้ในใจจนกลายเป็นอคติ เอาจริงๆมันส่งผลเสียแค่กับตัวเรา แต่ถ้าเราเผลอทำอะไรไม่ดีเพราะมีความอคตินั้นฝังอยู่ในใจ อาจจะทำให้คนรอบข้างมองว่าเราเองที่แยกแยะอารมณ์ไม่เป็น เมื่อเรารู้สึกโกรธใครสักคนหรืออะไรสักอย่างก็ปล่อยให้ตัวเองโกรธไปก่อนสักแปปนึง เมื่อเราใจเย็นลงก็ค่อยปล่อยวาง เดินหน้าต่อไปและแก้ไขสิ่งต่างๆด้วยความใจเย็น

7. Be willing to change

การเป็นคนดื้อดึงหัวรั้น ไม่ได้หมายถึงคุณมั่นใจในตัวเองนะ การที่เราทำบางสิ่งบางอย่างแล้วมีหลายๆคนมาตักเตือนก็ต้องเริ่มคิดได้แล้วว่าสิ่งที่ทำอยู่มันดีจริงๆไหม ลองเปิดใจรับฟังคนอื่นแล้วเปลี่ยนแปลงไปในสิ่งที่ดีกว่า เพื่อให้ทั้งตัวเราเองมีพัฒนาการและทำให้คนรอบข้างเห็นว่าเราว่านอนสอนง่าย อย่าพยายามดื้อรั้นแม้ว่าเราจะมั่นใจในสิ่งที่ตัวเองทำมากๆ แต่ถ้ามีหลายๆคนมาเตือนก็ต้องสะกิดใจแล้วว่ามันคงไม่ดีเท่าที่ควร

"หัวหน้าที่ดี-เพื่อนร่วมงานที่ดี" บุคลิกภาพแบบไหนเด็ก Gen Z ยอมรับและเคารพ

การเป็นคนที่มีผู้คนมากมายมานับหน้าถือตาให้ความเคารพนับถือ พูดอะไรทีก็มีผลต่อความคิดของคนหมู่มาก ถ้าเทียบกันง่ายๆ ก็อาจเปรียบได้กับหัวหน้าทีม ที่ลูกน้องในทีมเคารพการตัดสินใจ และทำตามอย่างเคร่งครัด เป็นเหมือนตัวช่วยที่สามารถทำให้เราประสบความสำเร็จในการทำงานได้ง่ายมากขึ้น

ความเคารพความเกรงใจนั้นก็เป็นเหมือนของขวัญ ที่จะได้รับก็ต่อเมื่อผู้ให้อยากจะมอบให้ ไม่ใช่แค่ตำแหน่งสูงๆเท่านั้นที่จะมีคนเคารพ แต่เราเองก็ต้องมีคุณสมบัติที่ดีพอ ควรค่าที่จะได้รับความเคารพจากคนอื่นๆ

อ้างอิงบทความ

related