svasdssvasds

Fast-paced environment ชีวิตคือการแข่งขัน เมื่อต้องทำงานให้รวดเร็ว และไว

Fast-paced environment ชีวิตคือการแข่งขัน เมื่อต้องทำงานให้รวดเร็ว และไว

หลายคนอาจกำลังเจอกับบรรยากาศการทำงานที่ดูเร่งรีบ รวดเร็ว และแข่งขันตลอดเวลา และทำให้เหนื่อยล้าลงไปเรื่อย ๆ วันนี้จะแนะนำวิธีการปรับตัวให้ประสบความสำเร็จ กับการทำงานแบบ fast-paced environment

การทำงานแบบ fast-paced environment เมื่อชีวิตคือการแข่งขัน

ทุกๆที่ในโลกของการทำงานย่อมมีการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นแต่ละประเทศที่แข่งกันมีเศรษฐกิจที่เติบโตกว่า เล็กลงมาถึงระดับองค์กรแข่งกันว่าใครยิ่งใหญ่กว่า จนไปถึงขั้นที่ว่าแข่งกันเองในองค์กรกันเลยทีเดียวว่างานใครเจ๋งกว่ากัน การทำงานเร็ว ยิ่งงานเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี ดูเหมือนจะเป็นข้อดีในการทำงานอย่างนึง ซึ่งไม่ว่าใครเห็นต่างกันอยากเป็นคนทำงานเร็วบ้าง และเมื่อเป็นแบบนั้น การทำงานเร็วก็อาจเป็นความท้าทายของหลายๆคนในที่ทำงาน เพราะรู้สึกว่าเร็วกว่า เท่ากับดีกว่า แต่การแข่งขันทำความเร็วแบบนี้อาจทำให้บรรยากาศภายในออฟฟิศดูไม่ค่อยจะร่มรื่นซักเท่าไหร่นัก นั่นแหละ ที่เรียกว่า Fast-paced environment

และถ้าคุณกำลังอยู่ในออฟฟิศที่มี Fast-paced environment แล้ว มันอาจยากที่จะปรับตัวตามให้ทันหากคุณไม่ใช่คนที่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา วันนี้เราจะมาแนะนำทริคเล็กๆในการอยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเร่งรีบตลอดเวลา  และแนะแนววิธีสำรวจตัวเองว่าคุณเหมาะที่จะอยู่ในออฟฟิศแบบนี้รึเปล่า

fast-paced environment เมื่อชีวิตคือการแข่งขัน ต้องทำงานให้เร็ว

มาทำความรู้จักกับ Fast-paced environment กันก่อน

ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่ Fast-paced environment นั้น การทำงานก็จะมี movement ตลอดเวลา ซึ่งบังคับให้เราต้องทำการปรับตัวแบบเร็วมากๆต่อสถานการณ์ใหม่ ๆ หรือจัดการกับงานและกำหนดการต่าง ๆ ให้เสร็จหลาย ๆ อย่างได้ในแต่ละวัน

ในสภาพแวดล้อมการทำงานแบบนี้ เราจะไม่มีเวลาว่างเลย มือเราจะต้องมีงานตลอดเวลา และทุกครั้งที่มีงานเข้ามาก็เหมือนเราจะต้องกระโดดเข้าใส่งานทันที ต่อให้ในมือเราจะมีงานที่ค้างอยู่หรือไม่มีก็ตาม

แล้วตกลงว่าการทำงานแบบนี้มันดีไหม? คำตอบก็จะขึ้นอยู่กับความสามารถของพนักงาน ถ้าพนักงานสามารถที่จะจัดการกับงานต่างๆได้อย่างรวดเร็ว และทำงานแต่ละชิ้นออกมาได้ดี ก็จะเป็นผลดี แต่ถ้าพนักงานไม่สามารถกับงานที่ล้นมือแถมยังต้องแข่งกับเวลาอีก รับรองเลยว่าปัญหาจะพันกันจนยุ่งเหยิงแน่ๆ

แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่างานแบบ Fast-paced environment เหมาะกับเรารึเปล่า

เริ่มต้นที่คำว่า "Anxiety" กันก่อน หลายคนน่าจะคุ้นหูกับคำๆนี้บ้าง มันคือ "โรควิตกกังวล" เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีแรงกดดันมากๆ จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบคนไทยมากกว่าหนึ่งแสนคนป่วยด้วยโรควิตกกังวล ซึ่งโรควิตกกังวลนี้จะเป็นความกังวลที่มากกว่าปกติ ไม่ใช่เพียงแค่การคิดมากเกินไปจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิต

ภาวะวิตกกังวล Anxiety เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่มีแรงกดดันมากๆ 

อาการของโรควิตกกังวล Anxiety

  1. ความรู้สึกวิตกกังวล

เมื่ออยู่ในภาวะตึงเครียด อึดอัด หวาดหวั่น หงุดหงิด กระวนกระวาย อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สิ้นหวัง รู้สึกว่าตนเองไร้คุณค่า ตำหนิตนเองและผู้อื่น คิดกลับไปกลับมา และมีการคาดการณ์ล่วงหน้าว่าจะมีเคราะห์ร้ายเกิดขึ้นกับตนเอง อีกทั้งรู้สึกไม่สามารถควบคุมความวิตกกังวลของตนเองได้ มีความหมกมุ่น ฟุ้งซ่าน ไม่มีสมาธิ ลืมง่าย สับสน ความสามารถในการตัดสินใจลดลง ระดับการรับรู้ลดลง บางครั้งมีรายงานว่าอยู่ ๆ บุคคลก็รู้สึกว่าหัวตื้อ รู้สึกโหวง ๆ

  1. อาการด้านร่างกาย

นอนหลับยาก พักผ่อนไม่เพียงพอ รู้สึกไม่พึงพอใจการนอนหลับของตนเอง อาจมีปัญหาการตื่นขึ้นกลางดึกและไม่สามารถนอนหลับได้อีก ทำให้รู้สึกเหนื่อยล้า หัวใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก เท้าเย็น เหงื่อออก กล้ามเนื้อตึง ปวดเมื่อยตามร่างกาย เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ท้องอืด รู้สึกชาบริเวณปลายมือและเท้า ประจำเดือนมาผิดปกติ

ภาวะวิตกกังวล Anxiety กับการปรับตัวในโลกของการทำงาน  รวดเร็ว และแข่งขันสูง

ดังนั้นคนประเภท Anxiety จะทำงานในบรรยากาศที่เป็น Fast-paced environment ได้ยาก เพราะมันมีทั้งความกดดัน ความเร็ว การแข่งขันที่สูง และไม่เหมาะทำงานในบริษัทหรือองค์กร ที่มีเป้าหมายด้านนี้  เพราะมันอาจจะทำให้ยิ่งวิตกกังวลและขาดความแม่นยำในการทำงาน แถมส่งผลเสียต่อจิตใจอีก ทางทีดี มองหางานออฟฟิศที่รูปแบบการทำงานเหมาะกับเราดีที่สุด

Tips เอาตัวรอดจากการทำงานแบบ Fast-paced environment

จะบอกว่าเอาตัวรอดอย่างเดียวก็ไม่เชิง เพราะการทำงานเราต้องเน้นให้ประสบความสำเร็จด้วย เอาเป็นว่า Tips พวกนี้จะสามารถช่วยให้เราอยู่รอดในการทำงานภายใต้แรงกดดัน การแข่งขันสูง และยังสามารถประสบความสำเร็จได้อีกด้วย

  1. Know how to prioritize your time: เรียงลำดับความสำคัญให้ดี

งานแต่ละงานมีความสำคัญไม่เท่ากัน เรียงลำดับความสำคัญจากน้อยไปมากให้ดี จะได้ทำให้เราไม่พลาดงานใหญ่ ๆ และจะได้รู้ชัดเจนว่าควรทำงานไหนก่อน-หลัง เวลาทำงานจะได้ไม่วุ่นวาย สะเปะสะปะ

  1. Learn how to manage your stress: รู้ว่าจะจัดการกับความเครียดยังไง

อาการเครียดของแต่ละคนแสดงออกมาไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะปวดหัว บางคนอาจจะท้องเสีย หรือปวดท้อง แนะนำให้ฟังเสียงร่างกายตัวเอง และหาวิธีจัดการกับความเครียดในแบบของตัวเอง เมื่อร่างกายเตือนว่าเริ่มเครียดเกินไปแล้วนะ เพราะนี่จะเป็น "ทักษะที่สำคัญที่สุดเมื่อต้องทำงานภายใต้แรงกดดัน"

  1. Lean on team members for support: ขอความช่วยเหลือให้เป็น

ให้คิดไว้เสมอว่าเรากับเพื่อนร่วมงานคือทีมเดียวกัน มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือเพื่อให้บริษัทประสบความสำเร็จ การแข่งกันเองในทีมอาจเป็นความท้าทายเล็กน้อยเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด แต่สุดท้ายแล้วผลประโยชน์ของเราก็จะขึ้นอยู่กับว่าทีมของเราทำงานได้ดีมากน้อยแค่ไหน ดังนั้นการขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆในทีมบ้างก็เป็นเรื่องธรรมดา

  1. Limit distractions around you: กำจัดสิ่งรบกวนรอบตัวให้หมด

มีหลายสิ่งหลายอย่างที่พยายามขโมยความสนใจของเราไปจากงานตรงหน้า และเมื่อมีงานที่กำหนดเวลาที่จำกัดและงานที่ต้องทำให้เสร็จ เราจะต้องมีสมาธิ เมื่อเข้าสู่โหมดการทำงาน อย่าลืมปิดการแจ้งเตือนที่ไม่จำเป็น เช่น จากข้อความหรือโซเชียลมีเดีย หรืออาจจะบอกเพื่อนร่วมงานรอบข้าง ว่าอาจจะต้องขอเวลาสงบซักชั่วโมงสองชั่วโมงเพื่อให้โฟกัสกับงานให้ได้มากที่สุด

  1. Don't be afraid to use your voice: ใช้เสียงของเราให้เป็นประโยชน์

เสียงของเรามีประโยชน์มากกว่าที่คิด การถามคำถามเพื่อให้เราได้เข้าใจงานมากขึ้นและจะรู้ว่าต้องทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ และคล้ายๆกับข้อสี่ การที่เราพูดขอในสิ่งที่ตัวเองต้องการจะทำให้งานราบรื่นมากขึ้นด้วย

การทำงานแบบ Fast-paced environment เมื่อชีวิตคือการแข่งขัน

ข้อดีของการทำงานแบบ Fast paced environment ถ้าคุณปรับตัวได้มันจะเป็นผลดีกับชีวิตการทำงานคุณ

1. Strong communication and interpersonal skills (ทักษะการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง มีประสิทธิภาพ)

การสื่อสารถือเป็นสิ่งสำคัญในสถานที่ทำงานที่มี Fast paced environment คุณจะต้องเป็นคนที่คุยง่ายและชัดเจน คนฟังต้องเข้าใจตรงกับคุณ หลังจากนี้การประสานงานกับเพื่อนร่วมงานก็จะง่ายมากขึ้นด้วย สกิลนี้รวมไปถึงการคุยธุรกิจกับคู่ค้าด้วยนะ ยิ่งคุยกันชัดเจนเข้าใจง่ายไม่เวิ่นเว้อมากเท่าไหร่ ก็อาจปิดดีลได้เร็วมากเท่านั้น

2. Manage your time effectively (จัดการเวลาของคุณอย่างมีประสิทธิภาพ) 

แบ่งเวลาให้ได้ ควรรู้ว่าอันไหนมาก่อนมาหลัง เมื่อเราจัดการเวลาได้ งานก็จะราบรื่น

3. Multitasking skills (ทักษะการทำงานหลายอย่างพร้อมกัน) 

หมายความว่าคุณจะต้องแยกสมองเพื่อทำงานหลาย ๆ งานได้ และงานทั้งหมดนั้นจะต้องออกมาดีด้วย เช่น ถ้าคุณทำงานเป็นเลขาฯ ในบางวันคุณอาจจะต้องสรุปการประชุมไปพร้อมกับการจัดการตารางเวลาของเจ้านายไปพร้อม ๆ กัน

ภาวะวิตกกังวล Anxiety กับการปรับตัวในโลกของการทำงาน  รวดเร็ว และแข่งขันสูง

อย่างที่กล่าวไปทั้งหมด ไม่ใช่ว่า Fast-paced environment จะเหมาะกับทุกคน สำรวจตัวเองว่าเป็นคนแบบไหน ถ้าเปรียบกับนิทานกระต่ายกับเต่า หากเราเป็นคนประเภทที่ทำงานช้าๆและรอบคอบแบบเต่า ก็ไม่สามารถอยู่ในสนามแข่งกับกระต่ายที่รวดเร็วและว่องไวได้ ส่วนกระต่ายที่ว่องไวอยู่แล้ว ต้องทำอย่างไรถึงจะเป็นผู้ชนะในสนามแข่งเมื่ออยู่ในสนามกับกระต่ายตัวอื่น

อย่าลืมว่า "มาตรวัดความสำเร็จ" ไม่ใช่แค่งานเร็วที่สุด แต่ต้องเป็นงานที่เร็วและดีด้วย ส่วนเต่าเองก็ควรหาออฟฟิศที่มีบรรยากาศการทำงานแบบที่เหมาะกับตัวเอง ไม่ต้องน้อยใจไปว่าทำงานช้า เพราะอย่างที่บอก คนที่ประสบความสำเร็จไม่ใช่คนที่ทำงานเร็ว แต่เป็นคนที่ทำงานมีประสิทธิภาพต่างหาก (แต่ก็ไม่ควรช้าจนเลยกำหนดเวลานะ)

บทความอื่นที่น่าสนใจ

ข้อมูลอ้างอิง

related