svasdssvasds

ต้องมีมาตรฐาน! "สมาคมฟุตบอลฯ" จับ "เชิ้ตดำ" ติวเข้มเทคนิคการใช้ "VAR"

ต้องมีมาตรฐาน! "สมาคมฟุตบอลฯ" จับ "เชิ้ตดำ" ติวเข้มเทคนิคการใช้ "VAR"

ฝ่ายพัฒนาผู้ตัดสิน สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดอบรมเทคนิคการใช้​ Video Assistant Referee หรือ VAR​ ให้แก่ผู้ตัดสิน​ และผู้ช่วยผู้ตัดสิน​ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนใช้จริงในการแข่งขันฟุตบอลโตโยต้าไทยลีก​ 2019​

วันที่ 27​ มกราคม 2562 ณ ศูนย์ปฏิบัติการโรงแรม ภายในมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ฝ่ายพัฒนาผู้ตัดสิน สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้จัดอบรมเทคนิคการใช้​ Video Assistant Referee หรือ VAR​ ให้แก่ผู้ตัดสิน​ และผู้ช่วยผู้ตัดสิน​ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในช่วงโค้งสุดท้ายก่อนใช้จริงในการแข่งขันฟุตบอลโตโยต้าไทยลีก​ 2019​ ที่จะเปิดฤดูกาล​นัดแรกในวันที่​ 22-24​ กุมภาพันธ์​ 2562

ต้องมีมาตรฐาน! \"สมาคมฟุตบอลฯ\" จับ \"เชิ้ตดำ\" ติวเข้มเทคนิคการใช้ \"VAR\"

กิจกรรมครั้งนี้นำโดย​ คุณ พัณณิภา คำนึง หัวหน้าฝ่ายพัฒนาผู้ตัดสิน มี ลูก้า มาเลนดาซ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจจากบริษัท Vokkero ทำหน้าที่เป็นวิทยากร​ และ​ "เปาโค้ช" ​ ศิวกร​ ภูอุดม​ เป็นผู้ช่วยวิทยากร ในการแนะนำเทคนิคการใช้อุปกรณ์ต่างๆ ให้กับ ผู้ตัดสินระดับ Top Referee ของไทยลีก แบ่งเป็น ผู้ตัดสิน จำนวน 24 คน และผู้ช่วยผู้ตัดสิน 36 คน ซึ่งผู้ตัดสินกลุ่มนี้จะหมุนเวียนกันมาทำหน้าที่ในการแข่งขันฟุตบอลโตโยต้าไทยลีกแต่ละสัปดาห์

ต้องมีมาตรฐาน! \"สมาคมฟุตบอลฯ\" จับ \"เชิ้ตดำ\" ติวเข้มเทคนิคการใช้ \"VAR\"

"เรามีการทดสอบการใช้งานจริงในการแข่งขันฟุตบอลรายการ "J League Asia Challenge 2019" สองคู่ และจะใช้อีกครั้งในเกมออมสิน แชมเปี้ยนส์ คัพ ระหว่าง บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด กับ สิงห์ เชียงราย ยูไนเต็ด ที่สนาม กองทัพบก ในวันที่ 2 กุมภาพันธุ์นี้ เป้าหมายของเราคือการพัฒนาและยกระดับการทำหน้าที่ของผู้ตัดสิน วันนี้เรามี VAR มาช่วย ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาบุคลกรควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดความพร้อมมากที่สุดในการทำหน้าที่ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ทุกสโมสร" หัวหน้าฝ่ายพัฒนาผู้ตัดสิน กล่าว

ต้องมีมาตรฐาน! \"สมาคมฟุตบอลฯ\" จับ \"เชิ้ตดำ\" ติวเข้มเทคนิคการใช้ \"VAR\"

สำหรับ ระบบ VAR หรือ Video Assistant Referee ที่จะใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโตโยต้าไทยลีก 2019 จะเป็นระบบเดียวกันที่ใช้ในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 รอบสุดท้าย ที่ประเทศรัสเซีย และฟุตบอลเอเชียน คัพ 2019 ที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยระบบ VAR ใช้เครื่องมือยี่ห้อ EVS และระบบสื่อสารผู้ตัดสิน ใช้ยี่ห้อ VOKKERO ส่วนระบบการทำงานจะส่งสัญญาณผ่านระบบ Network โดยภาพและเสียงจะถูกถ่ายจากกล้องภายในสนามไปยังห้องควบคุมส่วนกลาง ซึ่งจะทำให้ผู้ตัดสินในสนามไม่ถูกเจ้าที่ทีม หรือ นักเตะ เข้ามากดดัน ขณะดู VAR

ทั้งนี้ เทคโนโลยี VAR จะใช้ตัดสินสถานการณ์จำนวน 4 สถานการณ์ อันประกอบไปด้วย

1. เป็นประตู/ไม่เป็นประตู (ข้ามเส้นไม่ช้ามเส้น, มีการฟาวล์ก่อน, ล้ำหน้า, ลูกบอลออกสนามก่อนเข้าประตู)

2. จุดโทษ/ไม่จุดโทษ (ตำแหน่งของการฟาวล์, ฝ่ายรุกทำฟาวล์ก่อน, ลูกบอลออกนอกสนามก่อนการฟาวล์, การที่ผู้รักษาประตูหรือผู้ยิงประตู ทำผิดกติกาขณะเตะจุดโทษ)

3. ใบแดงโดยตรง (เจตนาป้องกันประตูผิดกติกาอย่างตั้งใจ, การทำผิดกติกาอย่างร้ายแรง เช่น ถ่มน้ำลาย, ดูหมื่น และ ใช้วาจาไม่สุภาพ)

4. ระบุตัวผู้เล่นผิดพลาด (เมื่อผู้ตัดสินคาดโทษหรือไล่ออกผู้เล่นผิดคน)

related