svasdssvasds

นาซ่า ได้ทีเอาใหญ่ ตำหนิจีน กรณีจรวดตกกระจายทั่วมหาสมุทรอินเดีย

นาซ่า ได้ทีเอาใหญ่ ตำหนิจีน กรณีจรวดตกกระจายทั่วมหาสมุทรอินเดีย

นาซา ตำหนิจีน จากกรณีความล้มเหลวในการ "ปฏิบัติงานบนความรับผิดชอบให้ได้มาตรฐาน" หลังจรวดลองมาร์ชไฟว์บีของจีน หลุดการควบคุม และได้ตกลงสู่มหาสมุทรอินเดียในคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา

นาซา ตำหนิจีน จากความล้มเหลวในการ "ปฏิบัติตามความรับผิดชอบให้ได้มาตรฐาน" หลังเศษซากจรวดจีน หลุดการควบคุม และได้ตกลงสู่มหาสมุทรอินเดียในคืนวันเสาร์ที่ผ่านมา

Chinese Rocket re-entry

"กลุ่มประเทศสเปซฟาริ่ง (Spacefaring Nations: กลุ่มผู้นำประเทศทางด้านอวกาศ) ต้องลดความเสี่ยงต่อผู้คนและทรัพย์สินบนโลก ในการที่วัตถุอวกาศกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก และต้องเพิ่มความโปร่งใสให้การดำเนินการ โครงการต่างๆ อย่างสูงสุด" บิล เนลซัน ผู้ดูแลระบบนาซ่า กล่าวในแถลงการณ์ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของหน่วยงานอวกาศ

"จีนล้มเหลวในการปฏิบัติตามมาตรฐานที่ควรรับผิดชอบเกี่ยวกับขยะอวกาศของพวกเขา" เนลซัน กล่าวเสริม

ทางด้านสำนักงานวิศวกรรมอวกาศแห่งประเทศจีน ได้โพสต์บนวีแชทว่า ชิ้นส่วนโดยส่วนมากของจรวดลองมาร์ชไฟว์บี (Long March 5B) ที่มีขนาดใหญ่ล้วนถูกเผาไหม้ขณะกำลังเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก ก่อนที่บางส่วนจะตกลงมาทางด้านตะวันตกของมัลดีฟส์ ซึ่งยังไม่ระบุชัดเจนว่า มีเศษซากใดๆ ได้ตกลงบนเกาะปะการังหรือไม่

หน่วยบัญชาการอวกาศของสหรัฐฯ กล่าวว่า จรวดลองมาร์ชไฟว์บี ได้ตกลงบนโลกเหนือคาบสมุทรอาหรับ จรวดซึ่งมีความสูงประมาณ 33 เมตร และหนักเกือบ 18 ตัน ได้ถูกนำไปใช้เพื่อส่งสถานีอวกาศแห่งใหม่ของจีนเข้าสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 29 เมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากที่สถานีอวกาศพ้นผ่านชั้นบรรยากาศโลก และจรวดได้ใช้เชื้อเพลิงจนหมด จรวดลองมาร์ชไฟว์บีก็ถูกปล่อยออกมา โดยไร้ทิศทาง ทำให้แรงดึงดูดของโลก ดึงจรวดกลับเข้ามาอีกครั้ง

Jonathan McDowell, an astrophysicist at the Astrophysics Center at Harvard University.

"โดยทั่วไปชุมชนอวกาศระหว่างประเทศพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าว จรวดส่วนใหญ่ที่ใช้ในการยกดาวเทียมและวัตถุอื่นๆ ขึ้นสู่อวกาศจะทำการรีเทนเนอร์ที่มีการควบคุมมากกว่าซึ่งมีเป้าหมายในมหาสมุทรหรือถูกทิ้งไว้ในวงโคจรที่เรียกว่า "สุสาน" ซึ่งทำให้พวกมันอยู่ในอวกาศเป็นเวลาหลายทศวรรษหรือหลายศตวรรษ แต่จรวดลองมาร์ชไฟว์บีของจีน ได้รับการออกแบบในลักษณะที่ "ถูกทิ้งในวงโคจรต่ำ" ทำให้ในกรณีนี้ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าตัวจรวดจะลงจอดเมื่อใด หรือที่ใด" โจนาธาน แมคโดเวล นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์จากศูนย์ฟิสิกส์ดาราศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด กล่าว 

องค์การอวกาศยุโรป ได้คาดการณ์ "เขตเสี่ยง" ซึ่งครอบคลุม "พื้นผิวโลกระหว่างละติจูดประมาณ 41.5 เหนือ ถึง 41.5 ใต้" ซึ่งรวมเกือบทั้งหมดของทวีปอเมริกาทางตอนใต้ของนิวยอร์ก แอฟริกา และออสเตรเลีย ทุกส่วนของเอเชีย ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น และยุโรป สเปน โปรตุเกส อิตาลี และกรีซ หากตกใส่พื้นที่ที่มีประชากรอาศัยอยู่คงเป็นภัยพิบัติอยู่พอควร แต่โชคดีที่จรวดส่วนใหญ่ตกลงสู่มหาสมุทร

related