svasdssvasds

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ "ดวงจันทร์" และ "จันทรุปราคา"

10 เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับ "ดวงจันทร์" และ "จันทรุปราคา"

จันทรุปราคา ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นโดยเฉลี่ยปีละ 2 ครั้ง ซึ่งในครั้งล่าสุดที่กำลังจะเกิดขึ้น คือวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 เวลา 18.38 – 19.52 น. ส่วนครั้งต่อไปคือวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564

วันที่ 26 พฤษภาคม ปีนี้ (2564) นอกจากจะตรงกับวันวิสาขบูชา ยังเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน อีกด้วย ตั้งแต่เวลา 18.38 – 19.52 น. โดย SPRiNG ได้รวบรวมเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวดวงจันทร์ และปรากฏการณ์จันทรุปราคา มานำเสนอดังต่อไปนี้

เรื่องเกี่ยวกับจันทรุปราคา

1. ปรากฏการณ์จันทรุปราคา

ปรากฏการณ์จันทรุปราคา เกิดจากดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีโลกอยู่กลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ซึ่งเป็นจังหวะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงาของโลก ทำให้ผู้สังเกตบนโลกฝั่งกลางคืน ในพื้นที่กว่าครึ่งโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งหายไปในเงามืด แล้วโผล่กลับออกมาอีกครั้ง

2. โดยเฉลี่ย จันทรุปราคา เกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง

ปรากฏการณ์จันทรุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในคืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ หรือคืนวันพระจันทร์เต็มดวงเท่านั้น เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ประมาณปี 2 ครั้ง แต่บางปีอาจมีได้มากถึง 5 ครั้งเลยเชียว

ดวงจันทร์

3. การเกิดจันทรุปราคา ครั้งต่อไป

ส่วนปรากฏการณ์จันทรุปราคาครั้งต่อไป จะเกิดขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564  

4. ชนิดของจันทรุปราคา

จันทรุปราคาสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด

- จันทรุปราคาเงามัว จะเกิดขึ้นในส่วนเงามัว เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามัวของโลก แต่จันทรุปราคาลักษณะนี้จะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ยาก

- จันทรุปราคาบางส่วน จะเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามืด เราจะสามารถเห็นจันทรุปราคาได้บางส่วนเนื่องจากถูกเงามืดของโลกบดบังไป ดังนั้น พระจันทร์ที่เราเห็นจึงมีลักษณะเว้าแหว่ง

- จันทรุปราคาเต็มดวง จะเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามืดของโลก โดยดวงจันทร์ทั้งดวงจะซ้อนทับกับเงามืดพอดี

5. ความเชื่อของไทย เกี่ยวกับจันทรุปราคา

ปรากฏการณ์จันทรุปราคา ก็มีตำนานเล่าขานกันในหลายประเทศ ส่วนความเชื่อของไทย เล่าถึงที่มาของปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า เมื่อครั้งกวนน้ำอมฤต เทวดาพยายามกีดกันไม่ให้พวกอสูรได้ดื่มน้ำอมฤต แต่พระราหูปลอมตัวเข้ามา และดื่มน้ำอมฤตได้สำเร็จ

พระอาทิตย์กับพระจันทร์ เห็นเข้า จึงทูลฟ้องพระนารายณ์ ด้วยความโกรธพระองค์จึงขว้างจักรถูกพระราหูจนร่างขาดสองท่อน แต่จากการดื่มน้ำอมฤต ทำให้พระราหูเป็นอมตะ

นับจากนั้น พระราหูจึงคอยดักกับพระอาทิตย์ กับพระจันทร์ อมไว้ในปาก เพื่อดับแรงแค้น

ซึ่งถ้าอมพระอาทิตย์เราเรียกว่าสุริยุปราคา แต่ถ้าอมพระจันทร์เราเรียกว่าจันทรุปราคา

ดวงจันทร์

เรื่องเกี่ยวกับพระจันทร์

6. กำเนิดดวงจันทร์

มีมากมายหลายทฤษฎีเกี่ยวกับกำเนิดของดวงจันทร์ แต่ทฤษฎีที่ยอมรับกันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ทฤษฎีการชนครั้งใหญ่ ด้วยสมมติฐานที่ว่า มีวัตถุขนาดดาวอังคารโคจรมาชนโลก ในช่วงที่โลกกำลังก่อตัวขึ้นใหม่ๆ ทำให้เนื้อโลกบางส่วนที่ยังร้อนอยู่กระเด็นออกไป และรวมตัวกันเป็นดวงจันทร์

7. ดวงจันทร์ กับตำนานความเชื่อในแต่ละประเทศ

ความเชื่อของของชาวตะวันตก ได้รับอิทธิพลมาจากกรีกโบราณ ที่เชื่อว่า มีอาร์ทิมิส (Artemis) และ เซลีนี เป็นเทพีแห่งดวงจันทร์ ส่วนชาวโรมัน เชื่อว่า ไดแอนา เป็นเทพีแห่งดวงจันทร์

ส่วนทางฝั่งเอเชียนั้น จีน เชื่อว่า มีเทพธิดาฉางเอ๋อ เป็นเทพธิดาแห่งดวงจันทร์ ในความเชื่อของไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียโบราณ เชื่อว่า พระจันทร์ เป็นเทวดาประจำวันจันทร์ เป็นต้น

8. ดวงจันทร์ กับน้ำขึ้น น้ำลง

น้ำขึ้นน้ำลง คือปรากฏการณ์ที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น และลดลงเป็นช่วงๆ ในแต่ละวัน โดยเกิดจากแรงดึงดูดระหว่างมวลของดวงจันทร์และโลก จึงทำให้เกิดน้ำขึ้น น้ำลงวันละ 2 ครั้ง

9. ดวงจันทร์ ห่างออกจากโลกไปเรื่อยๆ

ดวงจันทร์กำลังเคลื่อนห่างออกจากโลกไปเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากดวงจันทร์จะได้พลังงานในรูปของการหมุนจากโลกและใช้ขับเคลื่อนตัวเองให้ห่างออกไป 4 เซนติเมตร ในทุกๆ ปี

โดยเมื่อ 4.6 พันล้านปีก่อน ที่ดวงจันทร์ก่อตัวขึ้น มีระยะห่างจากโลก 22,530 กิโลเมตร แต่ตอนนี้อยู่ห่างออกไปแล้ว 450,000 กิโลเมตร

10. อุณหภูมิของดวงจันทร์

อุณหภูมิที่เส้นศูนย์สูตรของดวงจันทร์ต่ำถึง -173 องศาเซลเซียส ในตอนกลางคืน และสูงถึง 127 องศาเซลเซียสในตอนกลางวัน ส่วนในหลุมลึกใกล้ๆ ขั้วดวงจันทร์ มีอุณหภูมิเกือบถึง -240 องศาเซลเซียส

ที่มา 

เรื่องเกี่ยวกับจันทรุปราคา

เรื่องเกี่ยวกับดวงจันทร์

 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

related