svasdssvasds

จับตา ! ยืดมาตรการคุมโควิด-19 13 จังหวัดสีแดงเข้ม ซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย

จับตา ! ยืดมาตรการคุมโควิด-19 13 จังหวัดสีแดงเข้ม ซ้ำเติมเศรษฐกิจไทย

ต้องยอมรับว่ามาตรการคุมเข้มโควิด-19 พื้นที่สีแดง 13 จังหวัด ที่ผ่านมา ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เพราะยอดผู้ติดเชื้อยังสูงต่อเนื่อง จนทำให้นายกรัฐมนตรี มีโอกาสที่จะชง ศบค. ให้ยืดเวลาออกไปอีก แต่ในแง่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมีแน่นอน

เศรษฐกิจไทยมีหนาว เล็งยืดเวลาล็อกดาวน์ 13 จังหวัด

แม้ว่าจะออกมาตการเข้มคุมโควิด-19 ใน 13 จังหวัด ในพื้นที่สีแดงมาสักระยะหนึ่งแล้วก็ตาม แต่... จำนวนผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตยังไม่มีทีท่าที่จะลดลงเลย จึงทำให้นายกรัฐมนตรี เล็งชง ศบค. ให้ยืดล็อกดาวน์ 13 จังหวัด ออกไปอีก พร้อมเฝ้าระวังสูงสุดช่วง 14 วันอันตราย ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแน่นอนยอมกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ ปากท้องผู้คน รวมถึงเศรษฐกิจไทยที่จะเจอกับศึกหนักโควิด-19 อีกครั้ง ซึ่งแผลเดิมก็ยังไม่หาย

ทั้งนี้มีแนวโน้มว่ารัฐบาลจำเป็นต้องยืดระยะเวลามาตรการล็อกดาวน์จากเดิมที่จะสิ้นสุดวันที่ 2 ส.ค. 2564 ออกไป 14 วัน หรือ 2 สัปดาห์ นับจากวันที่ 2 ส.ค.2564 อาจจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการเข้มข้น เพื่อพยายามกดยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ให้ลดลงให้มากที่สุด ซึ่งแผนดังกล่าวจะต้องรอการประกาศอย่างชัดเจนอีกทีในเร็ว ๆ นี้

ยอดผู้ติดเชื้อโควิดที่สูงขึ้น ยังเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจ ยอดผู้ติดเชื้อโควิดที่สูงขึ้น ยังเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

• จับตา! จ่อยืด “ล็อกดาวน์” จังหวัดแดงเข้มไม่มีกำหนด หลังติดเชื้อพุ่งไม่หยุด

• สธ. คาด หากไม่ล็อกดาวน์ ยอดติดเชื้อโควิด 19 อาจพุ่ง 4 หมื่นรายต่อวัน

• "หมอธีระ" แนะล็อกดาวน์ทั้งประเทศ 1 เดือน ปูพรมตรวจอย่างครอบคลุม-ต่อเนื่อง

‘น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์’ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า เดือนมิ.ย.2564 ที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากโควิด-19 โดยดูได้จากดัชนีชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนยังอ่อนแอ การท่องเที่ยวยังไม่ฟื้นตัว ส่วนในช่วงเดือน ก.ค. 2564 เชื่อว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจมีแนวโน้มลดลง จากปัจจัยลบสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศยังไม่ดีขึ้น

ห่วงคนตกงานพุ่งไม่หยุด

อย่างไรก็ตามยังมีความเป็นห่วงในเรื่องของ คนตกงาน ที่มีโอกาสพุ่งสูงขึ้น โดย พบว่า ช่วงตลาดแรงงานไทยมีความเปราะบางมากขึ้น จากสำรวจยังพบอีกว่ามีผู้ที่มาขอรับสิทธิสวัสดิการคนว่างงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งรัฐบาลจะต้องมีความเข้าใจเรื่องปัญหาการทำงานไม่ได้ และรายได้ที่ลดลง โดยออกมาตรการเพื่อเยียวยาในเรื่องรายได้ และหากสถานการณ์ยืดเยื้อก็ต้องออกมาตรการเพื่อดูแลลูกหนี้ต่อเนื่อง และติดตามผลของมาตรการเป็นระยะ ๆ โดยพร้อมที่จะออกมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยเหลือเพิ่มเติมเป็นระยะ ๆ

related