svasdssvasds

เกษตรอินทรีย์ เพื่อเศรษฐกิจยั่งยืน และชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกร

เกษตรอินทรีย์ เพื่อเศรษฐกิจยั่งยืน และชีวิตที่ดีขึ้นของเกษตรกร

เศรษฐกิจภาคการเกษตร มีความเข้มแข็งเพราะมีผลผลิตและพื้นที่การเกษตรที่มีจำนวนมาก แต่สิ่งที่ซ่อนอยู่คือสุขภาพและความแข็งแรงของตัว“เกษตรกร” การใช้สารเคมี เป็นสาเหตุให้เกษตรกรต้องผ่อนส่งด้วยสุขภาพ ดังนั้นการเติบโตที่ยั่งยืน คือเศรษฐกิจโตได้เกษตรกรก็เข้มแข็งด้วย

จากนโยบายของกรมส่งเสริมสหกรณ์ที่ได้ผลักดันแนวคิดด้านการทำเกษตรปลอดภัย เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่สมาชิกสหกรณ์ โดยการปลูกพืชผักอินทรีย์ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เกษตรกรปลอดภัยจากการใช้สารเคมีแล้ว คนในชุมชนยังได้รับประทานอาหารที่สดสะอาด มีคุณภาพ เป็นการสร้างอาชีพเสริม ช่วยเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิต ขายได้ในราคาที่สูงขึ้น

โดยที่นิคมสหกรณ์พนา จังหวัดอำนาจเจริญ ได้นำนโยบายการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์มาเป็นแนวทางในการส่งเสริมอาชีพให้สมาชิกสหกรณ์ เน้นการปลูกพืชผักที่หลากหลาย อาทิ คะน้า, ต้นหอม, ผักชี, ผักบุ้ง, กวางตุ้ง และผัดกาดจ้อน ซึ่งเป็นผักที่คนในชุมชนนิยมรับประทานในชีวิตประจำวัน โดยมีการจัดอบรม ให้ความรู้เทคโนโลยีการผลิต ตลอดจนสนับสนุนโรงเรือนให้แก่สมาชิกฯ รวมถึงการจัดหาตลาดเพื่อรองรับผลผลิต

สุดใจ ดาทา สมาชิกสหกรณ์นิคมนาหว้าใหญ่ จำกัด  จังหวัดอำนาจเจริญ เล่าว่า อาชีพหลักคือการทำนาเพื่อเป็นรายได้เลี้ยงตัวเองและครอบครัวขณะเดียวกันก็มีการทำอาชีพเสริมด้วยการปลูกผัก ซึ่งนิคมสหกรณ์พนา แนะนำว่าถ้าจะปลูกผักก็ควรเป็นผักอินทรีย์ เพราะรูปแบบการทำเกษตรวิถีนี้ มีความปลอดภัยซึ่งดีต่อตัวเกษตรกรเองและผลผลิตที่ได้ก็เป็นของดีซึ่งตลาดตอบรับดีและพร้อมให้ราคาที่ดีตามมาด้วย 

“ทำนาปลูกข้าวอยู่แล้วมาทำอาชีพเสริมปลูกผัก ซึ่งนิคมสหกรณ์พนา แนะนำให้ทำเกษตรอินทรีย์บอกว่าทำแล้วจะดีไม่เป็นโรคภัยและดีต่อสุขภาพ ซึ่งพื้นที่ปลูกมีอยู่ประมาณ 2 ไร่ ผลผลิตที่ดีก็ราคาดี ทำให้มีรายได้ทุกวัน”

แสงเดือน วงศาสตร์ สมาชิกสหกรณ์นิคมนาหว้าใหญ่ จำกัด กล่าวว่า สหกรณ์พนาสนับสนุนด้านโรงเรือนอย่างที่เลือกปลุกผักอินทรีย์ในโรงเรือนขนาดประมาณ 6 x30 เมตร  วิธีการปลูกผักแบบนี้ทำให้ตัวเกษตรกรมีผักปลอดภัยไว้บริโภคทำให้มีสุขภาพแข็งแรง  ด้านลูกค้าที่มาซื้อผักก็ได้สินค้าที่ดีพร้อมกันไปด้วย 

การแสวงหาสิ่งใหม่อย่างวิถีการเกษตรอินทรีย์ม่ีความท้าทายที่ว่าเกษตรกรจะยอมรับหรือไม่ หรือแม้จะยอมรับแล้วก็ยังมีความเสี่ยงว่าจะทำได้สำเร็จตามที่ตั้งใจหรือไม่

สมาชิกสหกรณ์นิคมนาหว้าใหญ่ จำกัด

สายสิน พรมอินทร์ รองประธานสหกรณ์นิคมนาหว้าใหญ่ จำกัด กล่าวว่า  ก่อนที่จะเริ่มโครงการปลูกผักอินทรีย์จึงต้องสอบถามเกษตรกรว่าสนใจหรือไม่ ซึ่งผลที่ได้คือมีเกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อทำการเกษตรอินทรีย์โยสหกรณ์สนับสนุนในรูปแบบงบประมาณเพื่อการศึกษาดูงานให้เกิดความเข้าใจและเข้าถึงวิถีการเกษตรอินทรีย์นี้อย่างแท้จริง  

เมื่อเกษตรกรมีองค์ความรู้แล้วขั้นตอนต่อไปคือการสนับสนุนด้านเงินทุนซึ่งส่งเสริมสหกรณ์จังหวัดได้จัดหาเงินทุนให้เกษตกรรกู้ยืม 

“สินค้าเกษตรอินทรีย์” มีอนาคตเพราะตรงกับความต้องการของผู้บริโภคซึ่งสินค้าที่มีคุณสมบัติต่างจากสินค้าอื่นที่วางอยู่ทั่วไปจะได้รับราคาที่ดี เป็นรายได้ตอบกลับมาที่เกษตกรที่ดีด้วย นำไปสู่แผนการตลาดที่น่าสนใจโดย ทวีภัทร เหล่าบรรเทา สหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ เล่าว่า ตลาดขณะนี้ยังเป็นตลาดในระดับท้องถิ่น  และได้เปิดตลาดเฉพาะคือส่งผักที่ปลูกได้ให้โรงพยาบาลนำไปประกอบอาหารให้ผู้ป่วย ซึ่งเป็นรูปแบบที่สามารถนำไปต่อยอดด้านการตลาด

โดยแผนในระดับค้าปลีกคือการติดต่อกับเอกชนเพื่อนำสินค้าไปวางจำหน่าย  ถ้าในระดับค้าส่งวางแผนจะนำสินค้าไปเข้าถึงตลาดสี่มุมเมืองและตลาดไทยต่อไป

related