svasdssvasds

เปิดคำแถลงไทยในยูเอ็น ร่วมประณามการรุกรานยูเครน เรียกร้องเจรจาลดสูญเสีย

เปิดคำแถลงไทยในยูเอ็น ร่วมประณามการรุกรานยูเครน เรียกร้องเจรจาลดสูญเสีย

เปิดคำแถลงไทยในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น (UN) ร่วมประณามรัสเซียรุกรานยูเครน โดยไทยเรียกร้องเรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อหาทางยุติปัญหาอย่างสันติและการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนผ่านสหประชาชาติ กลไกระดับภูมิภาคและรูปแบบอื่นๆ ที่ยอมรับร่วมกันได้

ภายหลังจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น (UN) ได้หารือถึงประเด็นสถานการณ์ยูเครน จากการรุกรานของรัสเซีย โดยที่ประชุมทั้งหมด 193 ประเทศ มีมติด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 141 ประเทศ แสดงพลังต่อต้านสงคราม โดยเห็นว่ารัสเซียต้องทำการหยุดยิงและถอนกองกำลังทั้งหมดออกจากยูเครนทันที ซึ่งประเทศไทย เป็น 1 ใน 141 ประเทศที่ยกมือโหวตครั้งนี้ด้วย 

ด้านนายณัฐภาณุ นพคุณ รองอธิบดีกรมสารนิเทศ และรองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้เผยแพร่ถ้อยแถลงผ่านทางทวิตเตอร์ส่วนตัว @NatapanuN ของนายสุริยา จินดาวงษ์ เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

ท่านประธาน, ท่านเลขาธิการ

1.  ประเทศไทยกังวลอย่างมาก ต่อการสู้รบและความรุนแรงที่เลวร้ายลง อันเป็นผลจากการใช้กำลังทหารในยูเครน ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียชีวิตรวมทั้งพลเรือนผู้บริสุทธิ์ และการทำลายทรัพย์สินและโครงสร้างพื้นฐานของพลเรือน

2. ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนได้ออกถ้อยแถลงเกี่ยวกับสถานการณ์ในยูเครนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2022 ตั้งแต่นั้นมา การสู้รบยังดำเนินต่อไปและผู้เสียชีวิตรวมถึงพลเรือนยังคงเพิ่มขึ้น

3.สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมของผู้ลี้ภัยและผู้หนีการสู้รบเป็นสิ่งที่ต้องกังวลเป็นพิเศษ ไทยยกย่องประเทศเพื่อนบ้านยูเครนและรัฐอื่น ๆ ที่ดำเนินการอย่างรวดเร็วในการระดมความช่วยเหลือแก่ผู้ที่อยู่ในภาวะที่ต้องการด้านมนุษยธรรมเร่งด่วน ในส่วนของเรา ประเทศไทยจะพยายามอย่างเต็มที่ในการตอบสนองความต้องการเร่งด่วนด้านมนุษยธรรมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงและร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศที่มีความเห็นร่วมกัน

ถ้อยแถลงไทยต่อยูเอ็น ร่วมประณามรัสเซียรุกรานยูเครน

อ่านที่เกี่ยวข้อง

4. ถ้อยแถลงไทยในยูเอ็น ไทยยึดถือหลักการที่กำหนดในกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับอธิปไตย อาณาเขต ความสมบูรณ์และความเป็นอิสระทางการเมืองของรัฐ และการละเว้นจากการใช้กำลังบังคับหรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังกับอีกรัฐหนึ่ง เราจึงเรียกร้องให้ยุติความรุนแรงและการสู้รบทางอาวุธ สถานการณ์ในยูเครน ทันที ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นของสถานการณ์จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อโลกในวงกว้าง ซ้ำเติมสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมและคุกคามความเป็นอยู่ที่ดีของเศรษฐกิจโลก ขัดขวางการฟื้นตัวที่เปราะบางจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ประเทศไทยจึงขอเรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อหาทางยุติปัญหาอย่างสันติและการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนผ่านสหประชาชาติ กลไกระดับภูมิภาคและรูปแบบอื่นๆ ที่ยอมรับร่วมกันได้ ในการนี้ เรายินดีกับความพยายามล่าสุดในการเจรจาทวิภาคีระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และตั้งหน้ารอผลสำเร็จของการเจรจาดังกล่าว

6.ในฐานะประเทศรักสงบ ประเทศไทยมีศรัทธามั่นคงในไมตรีจิตระหว่างชนชาติต่างๆ และความเมตตาของมนุษยชาติ ดังนั้นเราจะดำเนินการต่อเพื่อหวังว่าหนทางแห่งสันติ ความสมานฉันท์ และความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีจะสัมฤทธิ์ผลในท้ายที่สุด

7. ขอขอบคุณ. ถ้อยแถลงไทยต่อยูเอ็น ร่วมประณามรัสเซียรุกรานยูเครน

นอกจากนี้ที่ประชุมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น (UN) ยังพบว่ามีประเทศที่ออกเสียงไม่เห็นด้วยต่อการประณามสงครามรัสเซีย-ยูเครน  5 ประเทศ ประกอบไปด้วยรัสเซีย เบลารุส คิวบา เกาหลีเหนือ และซีเรีย โดยมี 35 ประเทศที่งดออกเสียง

ผลลงมติสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็น (UN) ร่วมประณามรัสเซียรุกรานยูเครน

ทั้งนี้ถ้อยแถลงไทยในยูเอ็น ของนายสุริยา จินดาวงษ์ เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ภาษาอังกฤษมีรายละเอียดดังนี้

Mr. President,

Mr. Secretary-General,

1.

Thailand is gravely concerned with the worsening hostilities and violence

as a result of the use of military force in Ukraine, which has led to loss of life,

including of innocent civilians and destruction of property and civilian

infrastructure.

2.

The ASEAN Foreign Ministers issued a statement on the situation in

Ukraine on 26 February 2022. Since then, armed hostilities continue and

casualties including those of civilians, continue to rise.

3.

The humanitarian situation of refugees and those fleeing fighting is

particularly worrying. Thailand commends Ukraine's neighbouring countries

and other States for their prompt actions in mobilizing assistance to those in

pressing humanitarian needs. On our part, Thailand shall do our utmost in

addressing the urgent humanitarian needs of the affected citizens, directly and

in partnership with like minded international organizations.

4. Thailand adheres to the principles enshrined in the United Nations Charter

and international law, in particular respect for the sovereignty, territorial

integrity and political independence of States, and refraining from the use of

force or threat of use of force against another State. We thus call for the

immediate cessation of violence and armed hostilities. The escalation of the

situation will cause wider impacts for the world, aggravate humanitarian

conditions and threaten the wellbeing of the global economy, hampering the

fragile recovery from the COVID-19 pandemic.

Thailand thus renews our call for dialogue and negotiations in order to

find a peaceful settlement and sustainable solution through the United Nations,

regional mechanisms and other mutually acceptable modalities. In this regard,

we welcome the recent efforts at bilateral talks between the parties concerned

and look forward to them bearing fruitful results.

6.

As a peace-loving country, Thailand has an abiding faith in the goodwill

among nations and the compassion of humanity. We will therefore continue to

hope that the path of peace, reconciliation and good-neighbourliness will

ultimately prevail.

7.

Thank you.

related